ปภ.แนะวิธีป้องกันและข้อควรปฏิบัติเมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัด...ลดเสี่ยงอุบัติเหตุ

          กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะวิธีป้องกันและข้อควรปฏิบัติ เมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัด ดังนี้ หมั่นตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำอยู่เสมอ รวมถึงหมั่นเติมน้ำสะอาดและถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุกๆ 4 – 6 เดือน ขณะขับรถหากสังเกตเห็นมาตรวัดระดับความร้อนของเครื่องยนต์อยู่ใกล้ตัว Hแสดงว่าเครื่องยนต์ร้อนจัด ให้ปิดเครื่องปรับอากาศ นำรถจอดริมข้างทางในบริเวณที่ปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
          นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ถือเป็นระบบสำคัญของรถยนต์ที่ต้องดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะวิธีป้องกันและข้อควรปฏิบัติเมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัด ดังนี้ วิธีป้องกัน หมั่นตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ กรณีรถใหม่ควรตรวจสอบสัปดาห์ละ เครื่องปรับอากาศ ครั้ง หากเป็นรถที่ใช้งานเกิน 5 ปี ควรตรวจสอบอย่างน้อย ฉัตรชัย พรหมเลิศ – กระทรวงมหาดไทย ครั้งต่อสัปดาห์ หมั่นเติมน้ำสะอาดและถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุก 4 – 6 เดือน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกหรือตะกอนตกค้าง ทำให้หม้อน้ำอุดตัน หากตรวจพบรอยรั่วหรือสิ่งผิดปกติตามจุดต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ เช่น ท่อยาง หม้อน้ำ ครีบรังผึ้ง วาล์วน้ำ ระบายความร้อน ปั๊มน้ำ เป็นต้น ควรให้ช่างดำเนินการซ่อมแซม วิธีปฏิบัติกรณีเครื่องยนต์ร้อนจัด หากสังเกตเห็นมาตรวัดระดับความร้อนของเครื่องยนต์อยู่ใกล้ตัว H แสดงว่า เครื่องยนต์ร้อนจัด ให้ปิดเครื่องปรับอากาศ นำรถจอดริมข้างทางในบริเวณที่ปลอดภัย รอจนรอบเครื่องยนต์คงที่ค่อยดับเครื่องยนต์ เพื่อป้องกันเครื่องยนต์ได้รับความเสียหาย จากนั้นให้เปิด ฝากระโปรงหน้ารถ เพื่อระบายความร้อน ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะไอน้ำอาจพุ่งออกมา ทำให้ได้รับบาดเจ็บ ควรรอจนเครื่องยนต์เริ่มเย็น จึงเปิดฝาหม้อน้ำ เติมน้ำเปล่าหรือน้ำยาหล่อเย็นอย่างช้าๆ จากนั้นให้นำรถไปให้ช่างที่ชำนาญการตรวจสอบ ทั้งนี้ การเรียนรู้วิธีป้องกัน และข้อควรปฏิบัติในการแก้ไขกรณีรถเครื่องยนต์ร้อนจัดอย่างถูกวิธี จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง
 
 

ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+เครื่องปรับอากาศวันนี้

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ ชวนคนไทยตรวจสอบระบบไฟฟ้า 7 จุดควรระวัง ทั้งในบ้านและอาคารด้วยตัวเองเบื้องต้น รับมือฉลองเทศกาลสงกรานต์ พร้อมแนะบริการตรวจสอบการจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงในอาคาร Busduct / Busway หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อเพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยให้กับลูกค้ามากขึ้น จากสถิติกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ปัจจุบันสาธารณภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดคืออัคคีภัย 73% ทั้งในพื้นที่บ้านและอาคารขนาดใหญ่ ทั้งนี้สา

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...