นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า "โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2560 หรือ Young Thai Science Ambassador 2017 ได้ดำเนินโครงการมาถึงปีที่ 13 แล้ว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และสร้างเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษา เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อคือ "Mega - Crisis มหาวิกฤติภัยดาวโลก" แบ่งได้ 5 สาขา คือ ประชากรล้นโลก (Population Burst) ,อาหารขาดแคลน (Food Crisis),น้ำไม่เพียงพอ (Water Crisis),การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ,พลังงาน (Energy Crisis) โดยมีผลงานจากเยาวชนระดับอุดมศึกษาส่งเข้ามาจากทั่วประเทศ และคณะกรรมการได้ทำการคัดเลือกผลงานและมีเยาวชนผ่านการคัดเลือกกว่า 23 ทีม เพื่อมาเข้าร่วมกิจกรรมค่ายฯ ที่ อพวช. เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2560" และได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของโลก รวมถึงนักวิจัยที่มีผลงานอันโดดเด่น และผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารจากหน่วยงานต่าง ๆ มาให้ความรู้เพื่อนำมาพัฒนาผลงานของตัวเอง ในการนำเสนองานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หลังจากนั้นทางคณะกรรมการได้คัดเลือกผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยจำนวน 11 ทีม มานำเสนอผลงานในรอบสุดท้ายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 ณ อิมแพค เมืองทองธานี
โดยผลปรากฏว่ารางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม ตกเป็นของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ นายปรเมศวร์ ใครบุตร และนางสาวนูรนาเดีย หะยีมะเก๊ะ และทีมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ นายนวพล เชื่อมวราศาสตร์ และนางสาวธนิตาภรณ์ เผื่อนพงษ์ ซึ่งทั้ง 2 ทีม จะได้เดินทางไปศึกษาดูงานการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนี ในเดือนพฤษภาคม 2561
ส่วนรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ นางสาวกัลยานุช อุฤทธิ์ ,ทีมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แก่นางสาวจอมใจ บุญกาญจน์ และนางสาวพจน์ลดา คำพิพจน์ และทีมสุดท้ายจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้แก่ นายณัฐภัทร ยอดดี และนายวรวุฒิ จันทร์หอม โดยเยาวชนทั้ง 3 ทีมจะได้รับทุนการศึกษา ทีมละ 5,000 บาท
และรางวัลชมเชย 2 ทีม ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ นางสาวปานชีวา ยงทวี และนางสาวกมลวรรณ ศรีราช และทีมมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ได้แก่ นายสุริยะ สามิบัติ นายรัฐธรรมนูญ เนียมอ่อน ได้รับทุนการศึกษา ทีมละ 3,000 บาท
นางกรรณิการ์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า "ขอแสดงความยินดีและขอชื่นชมเยาวชนทุกท่านที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ สำหรับโครงการนี้ หวังว่าจะช่วยสร้างเครือข่ายสำหรับเยาวชนไทยในการพัฒนาเป็นนักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของประเทศได้อย่างมีคุณภาพต่อไปในอนาคต"
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit