ฟิทช์คงอันดับเครดิตของสถาบันการเงินไทย 4 แห่งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างชาติ

          ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของสถาบันการเงินไทย 4 แห่งที่เป็นบริษัทลูก (subsidiaries) ของสถาบันการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้ 
          - ธนาคารยูโอบี (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBT ได้รับการคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign-Currency Issuer Default Rating) ที่ 'A-' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ที่ 'AAA(tha)' โดยแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT ได้รับการคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CIMBS ได้รับการคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ MBKET ได้รับการคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ 'AA+(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

สำหรับรายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดแสดงไว้ในส่วนท้าย 
          ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
อันดับเครดิตของสถาบันการเงินทั้ง 4 แห่งนี้ พิจารณาจากปัจจัยสนับสนุนจากธนาคารแม่ เนื่องจากฟิทช์มองว่าบริษัทเหล่านี้เป็นธนาคารหรือบริษัทลูกที่มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อธนาคารแม่และกลุ่ม ซึ่งได้แก่ United Overseas Bank Limited (UOB, AA-/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ), CIMB Bank Berhad (CIMB) และ Malayan Banking Berhad (Maybank, A-/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) โดยทั้งสามกลุ่มธนาคารแม่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทลูก มีอำนาจควบคุมการบริหารงาน และยังมีการผสานการดำเนินงาน (integration) ของบริษัทลูกเข้ากับกลุ่มอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ธนาคารแม่ยังให้สิทธิบริษัทลูกใช้ชื่อและสัญลักษณ์ทางการค้าร่วมกันกับธนาคารแม่ และธนาคารแม่ยังให้การสนับสนุนแก่บริษัทลูกทั้งในด้านการดำเนินงานและการเงิน 
          อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของ UOBT และ CIMBT ได้รับการจัดอันดับเครดิตให้อยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศของแต่ละธนาคาร เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของธนาคาร และมีสิทธิเทียบเท่า (pari passu) ภาระไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันอื่นของธนาคาร

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
          อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating) ของ UOBT มีปัจจัยในการพิจารณาหลักมาจากการที่ธนาคารมีเครือข่ายธุรกิจในประเทศที่ค่อนข้างเล็ก อีกทั้งธนาคารยังมีความสามารถในการทำกำไรที่ด้อยกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์อื่นในประเทศที่มีอันดับเครดิตสูงกว่าและความสามารถในการทำกำไรของธนาคารยังอาจได้รับผลกระทบหากสภาวะแวดล้อมในการดำเนินยังคงอ่อนแอต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในช่วงปีที่ผ่านมาธนาคารมีคุณภาพสินทรัพย์ที่อยู่ในระดับดี อีกทั้งยังมีฐานะสภาพคล่องที่ปรับตัวดีขึ้นและฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง และธนาคารยังสามารถรับมือกับสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่ท้าทายในช่วงปีที่ผ่านมาได้ดีกว่าธนาคารพาณิชย์อีกหลายแห่งที่มีขนาดใกล้เคียงกันหรือขนาดเล็กกว่า

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
          อันดับเครดิตของตราสารหนี้ด้อยสิทธิของ CIMBT ซึ่งนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (lower Tier 2) ตามเกณฑ์บาเซล 2 ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ CIMBT 1 อันดับ โดยความแตกต่างของอันดับเครดิตของหุ้นกู้นี้สะท้อนถึงลักษณะด้อยสิทธิในโครงสร้างเงินทุน (capital structure) ของหุ้นกู้ดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตประเภทดังกล่าวของฟิทช์ 
          ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต - อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ UOB ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ UOBT (ยกเว้นในกรณีที่อันดับเครดิตสากลของ UOB ถูกปรับลดอันดับลงมากกว่า 3 อันดับ) เนื่องจากปัจจุบันอันดับเครดิตดังกล่าวของ UOBT ถูกจำกัดโดยเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย (Country Ceiling) ที่ 'A-' ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทยน่าจะส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ UOBT อันดับเครดิตภายในประเทศและอันดับเครดิตสนับสนุนของ UOBT เป็นอันดับเครดิตที่อยู่ในระดับสูงสุด จึงไม่มีปัจจัยใดที่อาจทำให้อันดับเครดิตได้รับการปรับเพิ่มอันดับ 
          การเปลี่ยนแปลงของฐานะทางการเงินของ CIMB น่าจะส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศของ CIMBT และ CIMBS 
          การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตของ Maybank น่าจะส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศของ MBKET
          ฟิทช์อาจปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศของบริษัทลูกในประเทศไทยดังกล่าวนี้ หากฟิทช์เชื่อว่าโอกาสที่บริษัทแม่จะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษที่นอกเหนือจากการสนับสนุนในด้านการดำเนินงานปรกติ (extraordinary support) แก่บริษัทลูกมีการปรับตัวลดลง โดยอาจจะแสดงได้จากการลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทลูกอย่างมาก หรือการลดลงของระดับการสนับสนุนทางการเงิน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามฟิทช์ไม่ได้คาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้น
          อันดับเครดิตของ CIMBS อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยกลุ่ม CIMB กำลังอยู่ช่วงระหว่างการพิจารณาการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับ China Galaxy Securities Company Limited ในส่วนของธุรกิจนายหน้าการซื้อขายหลักทรัพย์และอยู่ระหว่างการเจรจาขายหุ้นบางส่วน ทั้งนี้ผลกระทบของอันดับเครดิตจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างธุรกิจและโครงสร้างผู้ถือหุ้นเมื่อการเจรจาได้ผลสรุป ในกรณีที่กลุ่ม CIMB มีการลดสัดส่วนการถือหุ้นใน CIMBS ลงอย่างมีนัยสำคัญ (แต่ทั้งนี้กรณีดังกล่าวไม่ได้เป็นกรณีสมมุติฐานหลัก (base case) ของฟิทช์) ฟิทช์อาจมีการทบทวนการประเมิน (re-assessment) ระดับของโอกาสที่ CIMB จะให้การสนับสนุนแก่ CIMBS โดยฟิทช์จะต้องพิจารณาว่า CIMB จะยังคงเป็นบริษัทแม่ที่จะให้การสนับสนุนแก่ CIMBS อยู่หรือไม่ หรือต้องมีการเปลี่ยนบริษัทแม่เป็นบริษัทอื่นในกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลบริหารจัดการกลุ่มธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์โดยตรง ทั้งนี้การประเมินปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้อันดับเครดิตภายในประเทศของ CIMBS มีการเปลี่ยนแปลง
          การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ UOBT หรืออันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของ CIMBT จะส่งผลในทิศทางเดียวกันต่ออันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของแต่ละธนาคาร

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
          ฟิทช์อาจปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ UOBT หากธนาคารสามารถรักษาคุณภาพสินทรัพย์ให้อยู่ในระดับดีต่อเนื่องและมีความสามารถในการทำกำไรที่ปรับดีขึ้นโดยที่ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ของธนาคารไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แม้ธนาคารต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่ท้าทาย ในทางกลับกันฟิทช์อาจปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร หากธนาคารมีอัตราส่วนในด้านการสำรองหนี้สงสัยจะสูญ (reserve coverage) และฐานะเงินกองทุนที่ปรับตัวอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญและเป็นเวลาต่อเนื่อง

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
การเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ CIMBT น่าจะส่งผลในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ

รายละเอียดของอันดับเครดิตมีดังต่อไปนี้:
UOBT:
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับที่ 'A-'; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ 'F2'
          - อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินคงอันดับที่ 'bb+'
          - อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ '1'
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ 'AAA(tha)'; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ 'F1+(tha)'
          -อันดับเครดิตในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันคงอันดับที่ 'AAA(tha)'

CIMBT:
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ 'AA(tha)'; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ 'F1+(tha)'
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของหุ้นกู้ระยะสั้น ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ 'F1+(tha)'
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (lower Tier 2) คงอันดับที่ 'AA-(tha)'

CIMBS:
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ 'AA(tha)'; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ 'F1+(tha)'

MBKET:
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ 'AA+(tha)'; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
          - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ 'F1+(tha)'


ข่าวสถาบันการเงินต่าง+ธนาคารซีไอเอ็มบีวันนี้

ฟิทช์ปรับลดอันดับเครดิตของ บล. ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด เป็น 'AA-(tha)’ และให้เครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ และประกาศคงอันดับเครดิตของสถาบันการเงินไทย 3 แห่งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างชาติ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของบริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CIMBS เป็น 'AA-(tha)' จาก 'AA(tha)' และให้เครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ (Rating Watch Negative) พร้อมกันนี้ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของสถาบันการเงินไทยที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างชาติ ดังนี้ - ธนาคารยูโอบี (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBT - ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT - บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ MBKET และฟิทช์ประกาศคงอันดับ

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของสถาบันการเงินไทย 4 แห่งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างชาติ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตของสถาบันการเงินไทย 4 แห่งที่เป็นบริษัทลูก (subsidiaries) ของสถาบันการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้ - ธนาคารยูโอบี (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBT ได้รับการคงอันดับ...

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของธนาคารและสถาบันการเงินไทย 4 แห่งที่เป็นบริษัทลูกของสถาบันการเงินต่างประเทศ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign-Currency Issuer Default Rating) และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Ratings) ของธนาคารและสถาบันการ...

ในยุคที่เครดิตบูโรมีบทบาทสำคัญในการทำธุรก... เครดิตบูโรคืออะไร มีประโยชน์และจำเป็นต่อการขอสินเชื่อยังไง — ในยุคที่เครดิตบูโรมีบทบาทสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อเพื่อซื้อรถยน...

Hattha Bank ประสบความความสำเร็จในการขายหุ้นกู้สกุลเงินบาทอีกครั้ง

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ร่วมกับ Hattha Bank สถาบันการเงินชั้นนำของเครือกรุงศรีในประเทศกัมพูชา ประกาศความสำ...

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน... กรุงศรีฉลองความสำเร็จ ดัน Hattha Bank บุกตลาดหุ้นกู้เมืองไทยเปิดขายบาทบอนด์ครั้งแรก — กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟ...

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะ 'ดอกเบี้ยขาขึ้น... หมดยุคดอกเบี้ยต่ำ คนทำธุรกิจพร้อมแค่ไหนกับ 'ดอกเบี้ยขาขึ้น' — ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะ 'ดอกเบี้ยขาขึ้น' หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศขึ...