สร้างรถยนต์ในโลกเสมือนจริง: เรื่องราวของหุ่นยนต์รูบี้และโมเดล 3 มิติ

           เป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และการพิมพ์ 3 มิติ ในการออกแบบและผลิตรถยนต์นั้น กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ได้สร้างห้องทดลองเสมือนจริงให้นักออกแบบได้สร้างสรรค์และมองเห็นภาพการตกแต่งภายในและภายนอกของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ได้ก่อนการผลิตจริง
          แต่ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีชั้นสูงมากเพียงใด กระบวนการผลิตด้วยมือและการตรวจวัดแบบเก่า ยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลิต โดยทีมวิศวกรห้องควบคุมคุณภาพชิ้นส่วน การประกอบ และการตรวจวัด (PCF) ที่นานจิง ประเทศจีน ประสบความสำเร็จในการผลิตชิ้นส่วนจากโปรแกรมCAD ด้วยการประกอบชิ้นส่วนตัวอย่างทีละชิ้น เทียบกับแบบเรนเดอร์เสมือนจริง และตรวจวัดทุกชิ้นส่วนอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าทุกชิ้นประกอบเข้ากันได้พอดีอย่างไร้รอยต่อ
          "การสร้างรถยนต์นั้นเหมือนการต่อตัวต่อ 3 มิติ ที่ทุกชิ้นต่างมีความสำคัญ ความสมบูรณ์แบบทำได้ในโลกเสมือนจริง งานของเราคือการทำให้ของจริงเข้าใกล้กับต้นแบบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้" อีริค ชิลเดอร์ส ผู้ดูแลฝ่าย PCF ฟอร์ด เอเชีย แปซิฟิก กล่าว "การประกอบโครงรถยนต์ด้วยมือใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ถือเป็นการวางพื้นฐานให้กับกระบวนการประกอบชิ้นส่วนทั้งหมด"
          โดยเฉลี่ยแล้ว รถยนต์จะมีส่วนประกอบทั้งสิ้นประมาณ 7ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนีฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ชิ้น ผลิตจากซัพพลายเออร์หลายราย การประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดจึงเป็นกระบวนการที่กินเวลาและใช้แรงงานจำนวนมาก แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการมอบรถยนต์ที่มีคุณภาพสูงให้ลูกค้า ผลการตรวจสอบของทีม PCFจะถูกส่งกลับไปยังซัพพลายเออร์เพื่อแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการประกอบ

          หุ่นยนต์ 'รูบี้'
          ในขณะที่งานส่วนใหญ่ในห้องทดสอบ PCF เป็นงานที่ใช้ฝีมือของคน แต่ทีมได้รับความช่วยเหลือจากหุ่นยนต์ความแม่นยำสูงชื่อ 'รูบี้' ซึ่งตั้งชื่อตามสีของอัญมณีสีแดง (ทับทิม หรือ Ruby) ที่ปลายแขน หุ่นยนต์ตัวนี้ คือเครื่องวัดแบบคอมพิวเตอร์ (Computer Measuring Machine) มูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐ ที่ตรวจวัดโครงรถที่ประกอบมืออย่างเป็นระบบ ด้วยการใช้ปลายแขนแตะที่ชิ้นส่วน และบันทึกความคลาดเคลื่อนจากต้นแบบ CAD ที่สร้างโดยวิศวกรฟอร์ด
          ด้วยความแม่นยำที่ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี.ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี3 มิลลิเมตร รูบี้ตรวจวัดจุดสัมผัสบนโครงรถมากถึง 8ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนีฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี จุด เพื่อเทียบกับต้นแบบเสมือนจริง โดยฟอร์ดเลือกใช้ทับทิม เนื่องจากอัญมณีชนิดนี้ไม่หดหรือขยายตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิ หรือความชื้น ซึ่งจะช่วยให้แน่ใจว่าการตรวจวัดทุกครั้งเที่ยงตรงที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
          "เราสร้าง เราตรวจวัด และทำซ้ำๆ ไปเช่นนี้จ นกว่าเราจะเข้าใกล้ความคลาดเคลื่อนเท่ากับศูนย์" ชิลเดอร์ส ซึ่งเป็นหนึ่งในสามวิศวกรในเอเชีย แปซิฟิก ที่มีคุณสมบัติในการใช้งานหุ่นยนต์รูบี้ กล่าวเพิ่มเติม "ความสามารถของรูบี้ถูกส่งต่อไปยังโรงงาน เพื่อให้แน่ใจว่าชิ้นส่วนต่างๆ มีขนาดถูกต้อง และประกอบเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แบบทุกๆ ครั้ง"

          ความหลงใหลในความเที่ยงตรง
          ห้องทดสอบ PCF ยังมีเครื่องแสกน 3 มิติแบบบลูไลท์ ที่สามารถตรวจสอบชิ้นส่วนแต่ละชิ้นและรถยนต์ทั้งคันได้อย่างละเอียด เพื่อบันทึกจุดคลาดเคลื่อน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับรายละเอียดดีไซน์ต้นแบบ เพื่อบ่งชี้จุดคลาดเคลื่อน และตรวจว่ามีความคลาดเคลื่อนมากน้อยเพียงใด
          ความคลาดเคลื่อนสูงจะส่งผลต่อรูปลักษณ์ที่สวยงามของรถ เสียงรบกวนและแรงสั่นสะเทือนภายในห้องโดยสาร รวมไปถึงประสิทธิภาพของส่วนประกอบต่างๆ เช่น ยางขอบประตู ฟอร์ดมุ่งมั่นสร้างรถยนต์คุณภาพสูงสุดที่เหนือความคาดหวังของลูกค้า ดังนั้นทุกรายละเอียดจึงมีความหมาย
          "เราตรวจสอบชิ้นส่วนแต่ละชิ้นและโดยรวมอย่างเป็นระบบ" ชิลเดอร์ส กล่าว "เราประกอบชิ้นส่วนทีละชิ้นตามลำดับ เหมือนกับการต่อตัวต่อ 3มิติ อย่างประณีต เพื่อให้ลูกค้าของเราได้รับรถยนต์ที่ไม่เพียงแต่คุณภาพสูงเท่านั้น แต่ยังดูดีอีกด้วย"
สร้างรถยนต์ในโลกเสมือนจริง: เรื่องราวของหุ่นยนต์รูบี้และโมเดล 3 มิติ
 
สร้างรถยนต์ในโลกเสมือนจริง: เรื่องราวของหุ่นยนต์รูบี้และโมเดล 3 มิติ
 

ข่าวฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี+โลกเสมือนจริงวันนี้

สร้างรถยนต์ในโลกเสมือนจริง: เรื่องราวของหุ่นยนต์รูบี้และโมเดล 3 มิติ

เป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และการพิมพ์ 3 มิติ ในการออกแบบและผลิตรถยนต์นั้น กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ได้สร้างห้องทดลองเสมือนจริงให้นักออกแบบได้สร้างสรรค์และมองเห็นภาพการตกแต่งภายในและภายนอกของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ได้ก่อนการผลิตจริง แต่ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีชั้นสูงมากเพียงใด กระบวนการผลิตด้วยมือและการตรวจวัดแบบเก่า ยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลิต โดยทีมวิศวกรห้องควบคุมคุณภาพชิ้นส่วน การประกอบ และการตรวจวัด (PCF) ที่นานจิง ประเทศจีน ประสบความสำเร็จ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดอบรม Group... ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัด Group Mentor พี่เลี้ยงการเงิน แก่ CPF PTTGC และฟอร์ด มอเตอร์ — ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดอบรม Group Mentor "พี่เลี้ยงการเงิน" แก่...

ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ฉลองโอกาสครบรอบ 119... ฟอร์ดฉลองวันเกิด 119 ปี เปิดคลังข้อมูลประวัติศาสตร์สู่สาธารณะครั้งแรก — ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ฉลองโอกาสครบรอบ 119 ปีของการก่อตั้งบริษัทในวันนี้ด้วยการประก...

ฟอร์ด ประเทศไทย ให้การต้อนรับ ไดแอน เครก ... ประธานกลุ่มตลาดนานาชาติ ฟอร์ด เยี่ยมชมโรงงานเอฟทีเอ็มและเอเอที — ฟอร์ด ประเทศไทย ให้การต้อนรับ ไดแอน เครก ประธานกลุ่มตลาดนานาชาติ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ใน...

ผู้บริหารและพนักงานบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ... ออโต้อัลลายแอนซ์ใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ยกระดับการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม — ผู้บริหารและพนักงานบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เอเอที บริษ...

ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี รับรางวัลองค์กรรับผ... ฟอร์ดรับรางวัล 'องค์กรรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่น’ 10 ปีซ้อน จากหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย — ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี รับรางวัลองค์กรรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่น ร...