ผ่าตัดแผลเล็ก 4 ซม. ลดความเสี่ยง ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

          หัวใจ อวัยวะหลักของร่างกาย มีส่วนประกอบมากมายหลายอย่าง รวมไปถึงระบบของการทำงานที่เชื่อมโยงเข้ากับส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นเรียกได้ว่า เป็นส่วนสำคัญหลักที่ไม่สามารถขาดได้ หากร่างกายขาดหัวใจอวัยวะส่วนต่างๆ ก็หยุดทำงานตามไปด้วย ซึ่งในบรรดาเหล่าโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับหัวใจนั้น อาจมีมากมายหลายอย่าง โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เตรียมความพร้อมรักษาอย่างทันท่วงที ในทุกปัญหาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
          นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก รพ.หัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า(Aorta) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ออกมาจากขั้วหัวใจทอดยาวจากช่องอกสู่ช่องท้องและให้แขนงเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดแดงไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆในร่างกายหลายแห่ง โรคหรือภาวะบางอย่างอาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้ามีความอ่อนแอ เกิดการโป่งพองขยายขนาดจนใหญ่กว่าปกติขึ้น (Aneurysm) ซึ่งเมื่อมีการโป่งขยายจนถึงระดับหนึ่งก็จะแตกทำให้เสียเลือดจำนวนมากกระทันหันจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ภาวะดังกล่าวสามารถพบได้ในทุกระดับของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าไม่ว่าจะเป็นส่วนที่อยู่ในช่องอกหรือช่องท้อง แต่สามารถพบบ่อยที่สุดในหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าในช่องท้องส่วนที่อยู่ใต้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต (Infrarenal abdominal aortic aneurysm) ส่วนสาเหตุในการเกิดโรคนั้น โดยปกติแล้วผนังของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าจะมีความสามารถในการยืดหยุ่นสูง สามารถขยาย ยืดและหดตามระดับความดันโลหิต แต่ในผู้ป่วยที่มีปัญหาบางอย่างเช่น มีความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน และมีการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด(atherosclerosis) จะทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ จนมีการโป่งพองของผนังหลอดเลือดได้ ภาวะดังกล่าวพบบ่อยในผู้ป่วยชายสูงอายุ โดยจะพบประมาณโรคหลอดเลือด-5%ในผู้ชายที่อายุมากกว่า5โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ อาจพบโรคนี้ได้มากถึง5-อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ% ในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า65ปี จากการตรวจกรองด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (ultrasound) และอาจพบได้มากขึ้นในกลุ่มที่มีโรคโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (coronary artery disease) หรือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่แขนและขาอุดตัน (peripheral vessels disease)ร่วมด้วย นอกจากนี้ประวัติการมีโรคหลอดเลือดโป่งพองในครอบครัวและการสูบบุหรี่นับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมในเป็นโรคได้เช่นกัน กล่าวโดยสรุปคือโรคนี้จะพบในผู้ป่วยชายสูงอายุ โดยเฉพาะระหว่าง 65-75 ปี ที่มีประวัติสูบบุหรี่ มีความดันโลหิตสูง และมีประวัติโรคหลอดเลือดโป่งพองในครอบครัว ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ บ่อยครั้งที่ตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการทำเอ็กซ์เรย์ แต่ในผู้ป่วยบางส่วนก็อาจมีอาการได้เช่นกัน เช่น อาการปวดบริเวณหลอดเลือดที่มีการโป่งพอง เจ็บหน้าอก หรือปวดหลัง โดยอาการปวดอาจเป็นๆหายๆหรือ เป็นตลอดเวลาก็ได้ หรือในบางกรณีที่มีหลอดเลือดปริแตก ผู้ป่วยก็จะมาด้วยอาการปวดร่วมกับอาการเสียเลือดจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่จะทำให้เสียชีวิตได้ในไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง และนอกจากนี้การโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าอาจทำให้มีก้อนเลือดมาจับตัวที่ผนังของหลอดเลือดเนื่องจากมีการอักเสบหรือมีการไหลวนของเลือดในบริเวณที่มีการโป่งพอง ถ้าก้อนเลือดที่ผนังหลอดเลือดมีการหลุดไป ก็อาจไปอุดกั้นแขนงของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าได้ หรือการโป่งพองก็อาจจะทำให้มีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง
          ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าโป่งพองส่วนใหญ่มักไม่มีอาการจึงมักจะเป็นการตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจร่างกายประจำปี หรือจากการตรวจหาโรคอื่นๆ ปัจจุบันสมาคมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา* แนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าในช่องท้องโป่งพองด้วยการทำอัลตราซาวด์ในช่องท้องในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง อายุระหว่าง 65-75 ปี ที่มีประวัติสูบบุหรี่ หรือ อายุมากกว่า 6โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ปี และมีญาติสนิทเช่น บิดา หรือ พี่น้อง ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าโป่งพอง และแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในผู้ที่มีญาติสนิทป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าในช่องอกโป่งพอง ซึ่งการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง CT โรคหลอดเลือด56 Slice จะช่วยให้ผู้ป่วย สัมผัสรังสีน้อย เนื่องจากใช้เวลาประมาณ 5 วินาที และได้รับผลการตรวจที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น
          สำหรับการรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าโป่งพองขึ้นกับความเสี่ยงในการแตกของหลอดเลือดยิ่งมีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงในการแตกสูงกว่า ดังนั้นจึงแนะนำให้ผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดเอออร์ต้าใหญ่หรือมีอัตราการโป่งขยายเร็ว ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการที่บ่งชี้ว่าหลอดเลือดมีความเสี่ยงในการแตกสูง เช่น ปวดท้อง หรือเจ็บหน้าอก หรือมีอาการจากการที่หลอดเลือดเอออร์ต้ากดเบียดอวัยวะข้างเคียง ก็นับเป็นข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเช่นเดียวกัน ถ้าหลอดเลือดเอออร์ต้ายังมีขนาดไม่ใหญ่ถึงขั้นที่จะต้องผ่าตัดก็แนะนำให้ตรวจติดตามต่อร่วมกับให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อลดแรงดันเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการมีโรคหลอดเลือดหัวใจก็แนะนำให้ ออกกำลังกาย หยุดสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และในกรณีที่ตรวจพบระดับไขมันในเลือดสูงก็อาจต้องให้ยาลดไขมันด้วย ในปัจจุบันการผ่าตัดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าโป่งพองมีสองรูปแบบ คือการผ่าตัดเปิด และการผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดมีขดลวดถ่างขยายผ่านสายสวน (Endovascular aneurysmal repair) ซึ่งเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าโป่งพองเนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่า และอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลต่ำกว่า โดยที่ให้ผลในการรักษาระยะยาวเทียบเท่ากับการผ่าตัดเปิด
          สิ่งสำคัญที่โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ มุ่งเน้นในการรักษา คือ การเพิ่มความปลอดภัยในการผ่าตัด รักษา ดูแลด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด เพราะ "สถิติการรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในสภาวะฉุกเฉิน (แตก ปริ แตกเซาะ) มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้ถึง 5โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ% เมื่อเทียบกับการรักษาก่อนที่จะมีอาการซึ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงถึงมากกว่า 95%" ที่มีทีมแพทย์รักษาโรคหัวใจตลอด โรคหลอดเลือด4 ชม. เพราะเราเชื่อว่า หัวใจ ไม่ควรช้าแม้แต่เสี้ยววินาที

ผ่าตัดแผลเล็ก 4 ซม. ลดความเสี่ยง ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
ผ่าตัดแผลเล็ก 4 ซม. ลดความเสี่ยง ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
ผ่าตัดแผลเล็ก 4 ซม. ลดความเสี่ยง ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
 

ข่าวโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ+อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถวันนี้

รับมือเมื่อ COVID-19 ลงปอด

ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงเป็นเรื่องที่น่าห่วง โดยเฉพาะหากเชื้อไวรัสลงปอดแล้วปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันเพื่อเตรียมรับมือให้ถูกวิธีหากต้องเผชิญกับปัญหานี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย ผศ.นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอกและผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า เชื้อไวรัส COVID-19 เป็นเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงสูง การทำงานของเชื้อตัวนี้จะเริ่มจากการที่เชื้อเข้าไปในร่างกายแล้วไปเกาะ

เมื่อวันแห่งความรักเวียนมาอีกครั้ง ไม่เพี... เคล็ด(ไม่)ลับ 10 กลยุทธ์เด็ด ปกป้องหัวใจรับวาเลนไทน์ — เมื่อวันแห่งความรักเวียนมาอีกครั้ง ไม่เพียงแค่การดูแลหัวใจตัวเองเท่านั้นที่สำคัญ แต่การดูแลหัวใจคนข...

หัวใจ อวัยวะหลักของร่างกาย มีส่วนประกอบมา... ผ่าตัดแผลเล็ก 4 ซม. ลดความเสี่ยง ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง — หัวใจ อวัยวะหลักของร่างกาย มีส่วนประกอบมากมายหลายอย่าง รวมไปถึงระบบของ...

อาการหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นแบบเฉ... 5 ขั้นตอนชวนรอดเมื่อหัวใจหยุดเต้น — อาการหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันและไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้า หรืออาจมีอาการเจ็บหน้าอกเฉพาะที่ หากคน...

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ร่วมกับ สำนักอนามัย... Heart Challenge Fun Run 2022 เดิน วิ่ง ให้หัวใจคนกรุงแข็งแรง — โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ร่วมกับ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรม Heart Challenge Fun Run ...

"โดยปกติผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว จะมีค... หญิงวัยหมดประจำเดือน เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ — "โดยปกติผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจตีบมากกว่าผู้หญิงในวัยอื่น และเพ...

โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เชิญผู้สนใจเข้าร่วม... "HEART CHALLENGE FUN RUN 2022" เดิน วิ่ง ให้หัวใจคนกรุงแข็งแรง วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2565 — โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน Heart Challenge Fu...

ระยะเวลาการนอนที่ดีและเหมาะสมที่สุดคือต้อ... นอนน้อย นอนไม่หลับ เสี่ยงหัวใจโต — ระยะเวลาการนอนที่ดีและเหมาะสมที่สุดคือต้องนอนให้ได้วันละ 8 ชั่วโมง และเป็นการนอนที่เพียงพอ ควรรู้สึ...

หากร่างกายของเราได้รับกัญชาหรือคาเฟอีนในป... กัญชา คาเฟอีน ทำเสี่ยงหัวใจเต้นผิดจังหวะ — หากร่างกายของเราได้รับกัญชาหรือคาเฟอีนในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ได้รับมากเกินไปหรือไม่ถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิด...