เรื่องเล่าจากหมอผิวหนัง ตอนที่ 3 เรื่องใกล้ตัว ไม่ถึงกับต้องกลัว แต่อย่ามัวมองข้าม

           โดย ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ 
          ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย 

          กลับมาอีกครั้ง สำหรับ "เรื่องเล่าจากหมอผิวหนัง" ในครั้งนี้เป็นตอนที่ 3 แล้วนะครับ โรคผิวหนังเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม และในช่วงนี้สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งฝนตก สลับร้อน แดดออก ซึ่งอาจจะทำให้บางท่านเสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังต่าง ๆ ได้ ซึ่งในครั้งนี้เราได้รวบรวมอาการของโรคผิวหนังที่บางท่านอาจเคยพบเห็น หรือเคยมีอาการดังกล่าว เพื่อจะทำให้ทุกท่านได้รู้จักและทราบถึงวิธีการแก้ปัญหาของโรคผิวหนังมากยิ่งขึ้น
          โรคผิวหนังหลายๆโรค จะหวังพึ่งยาอย่างเดียวไม่ได้นะครับ ต้องเปลี่ยน "พฤติกรรม" ด้วย อย่างตุ่มคัน บริเวณขาลักษณะนี้ (prurigo) ต้องจงใจหยุดเกา .... ในเวลาที่ตื่นอยู่ ถ้าเห็นมือเกาอยู่ ให้ "จงใจ" ดึงมือออก ในช่วงนอน ลองหาผ้าก๊อซ หรือ ผ้าอื่นก็ได้
มาปิดทับ จะได้เกาไม่ถึง ช่วยได้มากครับ
          - อยากฝากข้อคิดสักนิดว่า การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เป็นไปตามกาลเวลา ด้วยอายุที่ล่วงเลยไปนะครับ ยิ่งอายุมากขึ้น ก็จงคิดว่าเค้ามากับปัญญา ที่ (ควรจะ) มากขึ้นด้วย .... อย่าไปกังวลว่า เราแก่ลงเรื่อยๆ (แม้จะจริง) และอย่าไปหาทางรักษา ที่หวังว่าทำครั้งเดียว แล้วจะหายสนิท ไม่กลับมาเป็นอีกเลย ตัวอย่างเช่นตุ่มเล็ก ๆ เหล่านี้ คือ ต่อมไขมันที่โตขึ้น (sebaceous gland hyperplasia) .... เพราะเค้าเป็น การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตาม "สังขาร" ครับ
          - สังคมไทย มักมองว่าโรคผิวหนังเกิดจากความสกปรก ...โรคผิวหนังเกิดจากการติดเชื้อ (ทั้งๆ ที่ส่วนหนึ่ง เกิดจากการรักษาความสะอาดเกินไปด้วยซ้ำ) .... หลายๆท่านจึงพยายาม "ฆ่าเชื้อโรค" ด้วยการล้าง ขัด ผื่นด้วย น้ำร้อน ... น้ำร้อนในอุณหภูมิที่เราอาบกันได้นั้น ฆ่าเชื้อโรคไม่ได้หรอกนะครับ ....สิ่งเดียว ที่น้ำร้อนฆ่าได้ คือ ผิวหนังของเรานี่ล่ะครับ
          - มีคำถามจากทางบ้านว่า คันโดยไม่มีผื่น ทายาอะไรดี .... ก่อนจะทายา ควรหาสาเหตุก่อนนะครับ .... อย่างน้อย ๆ ก็ควรเจาะเลือดตรวจดูโลหิตจาง การทำงานของตับ การทำงานของไต ต่อมไธรอยด์ และ เบาหวานก่อนครับ
          - วันหยุดหลายวัน หลายท่านที่เดินทาง ท่องเที่ยวและท่องธรรมตามวัดต่าง ๆ คงต้องโดนแดดกันมากกว่าปรกตินะครับ ปรกติผิวหนังคนเอเชียเรา ทนแดดได้ดีพอควร แต่ถ้าเกิดอาการไหม้แดด ง่ายกว่าคนรอบตัว (ที่โดนแดด พอๆกัน) วิธีสังเกตคือดูผิวหนังบริเวณ นอกร่มผ้า เทียบกับที่ลำตัว หรือแม้แต่สังเกตผิวหนังที่ไม่โดนแดด เช่น ใต้เรือน/สายนาฬิกา ..... ลองนึกดูนิดนึง ว่าทานยา หรือ ทายา บางอย่างอยู่รึเปล่านะครับ ที่พบบ่อยคือ ยาเบาหวาน ยาลดการอักเสบ บางกลุ่ม (NSAIDs) รวมทั้ง antibiotics ครับ
          - ธรรมะ ประจำวันวิสาขบูชา คือการมีสติ ไม่ตกใจเกินเหตุ ไม่ตีโพย ตีพาย หลายๆอย่าง ก็จะผ่านไปด้วยดี นะครับ .... เมื่อมีอาการที่ เกิดปัจจุบันทันด่วน ให้สังเกตอาการให้ดี เมื่อเล่าให้ หมอ พยาบาล ฟัง จะได้เล่าได้ตรงประเด็น อย่าลืมเอายาทุกชนิดที่ทาน และ ทา ไปให้แพทย์ดูด้วย นะครับ .... ในภาพนี้ คือ ผื่นลมพิษ ครับ
          - ธรรมะ ประจำวัน ..... ดูแล คนสูงอายุในบ้าน ดูแลพระในบ้าน คนที่เคยหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน เลี้ยงดูเรามา ให้ดี .... ดีกว่าเอาเงิน เป็นล้านไปทำบุญนะครับ
          - เรื่องของ หูด เกิดจากเชื้อไวรัสผิวหนัง ชนิดหนึ่ง นะครับ ปรกติ ติดทางผิวหนัง ต่อ ผิวหนัง แต่สำหรับหูดที่เท้า บางทีอาจติดมาจากพื้นแฉะๆ เช่น ข้างสระว่ายน้ำ ห้องน้ำ ที่มีเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่ได้ครับ .... ถ้าเป็นหูด ไม่ต้องตกใจ รักษาได้ ความยากและง่ายในการรักษา ขึ้นกับหลายส่วนมากครับ บางครั้งดูง่าย ๆ เม็ดเล็ก ๆ แต่หายยากแทบขาดใจ บางครั้ง หลายเม็ด หายง่าย ๆ ก็พบบ่อยครับ

          โรคผิวหนังยังมีอาการอีกหลายแบบที่ทุกท่านควรทราบ เพื่อป้องกันและทราบวิธีการแก้ปัญหา หากเกิดโรคผิวหนังกับท่านหรือคนใกล้ตัว ถ้าต้องการสอบถามหรือสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ของ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย หรือเฟซบุ๊ก ครบเครื่องเรื่องผิวหนังสำหรับแพทย์ผิวหนังและประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะ หรือโปรดติดตามเรื่องเล่าจากหมอผิวหนังตอนต่อไปนะครับ
เรื่องเล่าจากหมอผิวหนัง ตอนที่ 3 เรื่องใกล้ตัว ไม่ถึงกับต้องกลัว แต่อย่ามัวมองข้าม
 

ข่าวสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย+สมาคมแพทย์ผิวหนังวันนี้

สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ จัดงานประชุมกลางปี 2565 "Back to The Future In Practical Dermatology"

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ทั้งในส่วนราชการและเอกชนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ "การประชุมกลางปี 2565" ในวันที่ 16 กันยายน 2565 ตั้งแต่เวลา 07.00-17.30 น. ณ ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อแพทย์สมาชิก ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ตลอดจนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญ สาขาตจวิทยา ในด้านเวชปฏิบัติ

ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแ... 7 คำถามของโรคสะเก็ดเงินกับโควิด-19 — ปัจจุบันในสถานการณ์ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของโควิด19 ทำให้มีคำถามจากผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหลากหลายประเด็น จึงขอเลือก...

สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จั... รู้จักลมพิษให้ดีขึ้น — สวัสดีครับ หมอเชื่อว่า หลายท่านน่าจะรู้จักหรือเคยได้ยินข้อมูลเกี่ยวกับลมพิษกันมาบ้างแล้วนะครับ สำหรับในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุก ๆ ปี...

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย... สมาคมแพทย์ผิวหนังฯ เชิญแพทย์ เข้าร่วมงานDST Mid-Year Meeting 2021 — สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์ผู้สนใจที่เป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งป...

โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็... โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ — โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (nail psoriasis) เป็นความผิดปกติของเล็บที่พบในโรคสะเก็ดเงิน อาจมีอาการเป็นเฉพาะที่...

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องก... โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1) — แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...

แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องก... โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1) — แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปก...