ฟูจิ ซีร็อกซ์ แนะ 3 ขั้นตอนนำออฟฟิศสู่ยุคดิจิทัล

          ฟูจิ ซีร็อกซ์ เผยกลยุทธ์จัดการระบบเอกสารในองค์กร แนะ 3 ขั้นตอนในการนำออฟฟิศสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการปรับใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่กับเครื่องมัลติฟังก์ชั่นที่ทันสมัย ช่วยเพิ่มความคล่องตัว ลดต้นทุนทางธุรกิจ ช่วยสร้างศักยภาพการแข่งขัน ผลักดันให้องค์กรก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดและพร้อมแข่งขันในโลกธุรกิจได้ในอนาคต
          นายกิติกร นงค์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจเอาท์ซอร์ส บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้มีหลายองค์กรที่กำลังเผชิญความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคลาวด์ โมบิลิตี้ ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น บิ๊กดาต้า ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่เข้ามาผลักดันในเรื่องของดิจิทัลไทยแลนด์ ทำให้ไม่ช้าก็เร็วสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จะเข้ามาใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น หรือบางครั้งเข้ามาแล้วแต่ไม่ทันรู้ตัว จนทำให้เสียโอกาสในการได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้นน่าจะเป็นเรื่องที่ดีหากว่าองค์กรต่างๆ เตรียมพร้อมรับมือความท้าทายของเทคโนโลยีไว้ล่วงหน้า เพื่อที่จะเป็นการสร้างศักยภาพผลักดันให้องค์กรก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาด พร้อมแข่งขันกันในโลกธุรกิจ
          ในยุคที่หลาย ๆ องค์กรต้องการเป็นออฟฟิศดิจิทัล หรือ Digital Workplaces สิ่งแรกที่อยากให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง คือ การทำงานกับกระดาษ หลายองค์กรมีต้นทุนทางธุรกิจที่เกิดจากกระดาษที่ค่อนข้างสูง มีปัญหาในเรื่องการจัดเก็บ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งที่จริงแล้วเอกสารไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้อยู่ในรูปแบบของกระดาษ เพราะมันเป็นดิจิทัลตั้งแต่ต้น เราจัดเก็บเอกสารในรูปแบบไฟล์ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วจึงสั่งพิมพ์ออกมา ทั้งนี้การพิมพ์เอกสารไม่ใช่เรื่องผิด แต่ทำอย่างไรจึงจะเชื่อมโยงการพิมพ์เอกสารที่เป็นกระดาษกับเอกสารในรูปแบบดิจิทัลเข้าด้วยกันได้
          "จากตัวเลขสำรวจข้อมูลในอเมริกา ระบุว่าในแต่ละปี มีจำนวนเอกสารที่ถูกผลิตออกมาจากการพิมพ์ประมาณ 7สู่ยุคดิจิทัล,กิติกร นงค์สวัสดิ์กิติกร นงค์สวัสดิ์กิติกร นงค์สวัสดิ์ หน้าต่อเดือนในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่ง 8กิติกร นงค์สวัสดิ์% ของตัวเลขนี้ ถูกผลิตออกมาเพื่อใช้ในการฝึกอบรม การประชุม เมื่อเสร็จแล้วก็โยนทิ้ง ซึ่งค่าเฉลี่ยของพนักงานในองค์กรฟูจิ ซีร็อกซ์ คน จะผลิตเอกสารประมาณ ฟูจิ ซีร็อกซ์กิติกร นงค์สวัสดิ์,กิติกร นงค์สวัสดิ์กิติกร นงค์สวัสดิ์กิติกร นงค์สวัสดิ์ แผ่น หรือประมาณ สู่ยุคดิจิทัลกิติกร นงค์สวัสดิ์ รีมต่อปี และ 45% ของกระดาษทั่วโลกที่ถูกพิมพ์ออกมา สุดท้ายแล้วจะอยู่ในถังขยะ ฟูจิ ซีร็อกซ์จึงคิดวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ผลิตเอกสารออกมาแล้วไม่เป็น Bad Paper โดยนำเทคโนโลยีมาช่วย คือ พิมพ์ให้น้อยแต่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และการทำงานยังลื่นไหลไปได้ด้วยดี หรือดีกว่าเดิม ด้วย 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้"
          ฟูจิ ซีร็อกซ์.Optimize Print Assets คือการเลือกใช้เทคโนโลยีของเครื่องดิจิทัลมัลติฟังก์ชั่น ซึ่งแปรสภาพมาจากเครื่องถ่ายเอกสาร ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์คและรับข้อมูลผ่านกระบวนการต่างๆ แล้วพิมพ์ออกมา สามารถส่งแฟกซ์ได้ ถ่ายเอกสารได้ จากในอดีตที่หนึ่งองค์กรจะต้องมีทั้งเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแสกน เครื่องแฟกซ์ หรืออื่น ๆ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา พื้นที่ใช้สอย พลังงาน ฉะนั้นการที่เราต้องการลดค่าใช้จ่ายจากการพิมพ์ อันดับแรกจึงต้อง Optimize หรือเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์เหล่านี้เสียก่อน นั่นคือทำให้เหลืออุปกรณ์น้อยชิ้นที่สุด 
          สู่ยุคดิจิทัล. Optimize Print Usage เมื่อมีเครื่องมัลติฟังก์ชั่นและเทคโนโลยีที่พร้อมแล้ว ต่อมาคือการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้ใช้ในองค์กรด้วยว่า บุคลากรในองค์กรสามารถใช้เครื่องมัลติฟังก์ชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น ประหยัดกระดาษ ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น เช่น การสั่งพิมพ์กระดาษ สู่ยุคดิจิทัล หน้า หรือ พิมพ์แบ่ง 4 หน้า ในกระดาษ ฟูจิ ซีร็อกซ์ แผ่น หรือ การใช้เครื่องมัลติฟังก์ชั่นส่งแฟกซ์ แทนการส่งแฟกซ์แบบเดิมที่เสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 3 บาท ซึ่งหากยังไม่ได้ใช้โซลูชั่นเหล่านี้ แปลว่ายังใช้เครื่องได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
          3. Optimize Workflow Processes หลายครั้งที่การสั่งพิมพ์เอกสารเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ เอกสารทางกฎหมาย เอกสารทางบัญชี ที่จำเป็นต้องเพิ่มเติมข้อความ ลงลายมือชื่อ และประทับตราบริษัท เพื่อการดำเนินงานตามขั้นตอนต่อไป แต่ปัจจุบันมีเครื่องมืออย่าง E - Signature หรือลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ สแกนขึ้นไปเก็บไว้บนระบบ เมื่อต้องการใช้งานสามารถเรียกข้อมูลนั้นมาวางบนเอกสารได้ทันที ซึ่ง E – Signature โดยทั่วไปสามารถใช้งานได้เฉพาะภายในองค์กร แต่หากต้องการใช้งานกับองค์กรภายนอก จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Digital Signature ที่จะต้องนำลายเซ็นให้บุคคลที่ 3 หรือองค์กรกลาง (Certification Authority - CA) เป็นผู้รับรองความถูกต้องของลายเซ็น และหลังจากที่ลายเซ็นได้รับการรับรองจากบุคคลที่ 3 แล้ว ลายเซ็นนั้นจะสามารถตรวจสอบกลับไปยังตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ลายเซ็นดังกล่าวจึงสามารถนำไปใช้บนเอกสารดิจิทัล และได้รับการยอมรับเช่นเดียวกับลายเซ็นบนเอกสารที่เป็นกระดาษ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องสั่งพิมพ์เอกสาร ก็สามารถส่งต่อเอกสารเพื่อการพิจารณาอนุมัติ หรือดำเนินงานตามขั้นตอนการทำงานต่อไปได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรว่าจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างไร
          การทำให้องค์กรเป็นออฟฟิศดิจิทัลในระยะแรกอาจเป็นเรื่องยาก และต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดการยอมรับ เนื่องจากความไม่เคยชินของบุคลากร หรือความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของเอกสารดิจิทัล ทางฟูจิ ซีร็อกซ์ จึงมีเครื่องมืออย่าง Workflow Assessment Services เพื่อมาช่วยสำรวจความต้องการในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำไปสู่การลดปริมาณการใช้เครื่องพิมพ์ลงได้ หรือแม้แต่การช่วยออกแบบเพื่อนำเครื่องพรินเตอร์ออก แล้วแทนที่ด้วยเครื่องมัลติฟังก์ชั่น เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งานในองค์กร ตลอดจนนำเทคโนโลยีมาใช้กับบัตรพนักงานเพื่อเข้าสู่ระบบและสั่งงานพิมพ์งาน ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ใดในสำนักงาน ก็สามารถสั่งพิมพ์งานได้ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น พนักงานสั่งพิมพ์งานจากออฟฟิศของตนเองที่ชั้น 5 แล้วขึ้นไปรับงานพิมพ์จากเครื่องมัลติฟังก์ชั่นบนชั้น ฟูจิ ซีร็อกซ์3 เพื่อใช้ในการประชุม ก็สามารถนำบัตรพนักงานไปแตะที่เครื่องเพื่อเข้าสู่ระบบ และรับงานพิมพ์ได้ทันที จากนั้นระบบจะเก็บบันทึกข้อมูลการใช้งาน หรือ Printing Profile ไว้ในฐานข้อมูลส่วนกลาง ทำให้ทราบได้ว่าพนักงานแต่ละคน พิมพ์งานในปริมาณมากน้อยแค่ไหน มีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งวิธีเข้าระบบด้วยบัตรพนักงานนับเป็นอีกวิธีที่ช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน
          "เมื่อองค์กรธุรกิจต่างๆ ทำได้ครบ 3 ชั้นตอนข้างต้นแล้ว ฟูจิ ซีร็อกซ์ เชื่อว่าขั้นตอนในการทำงานจะลดลง และถึงแม้ไม่ได้พิมพ์เอกสาร งานในองค์กรก็ยังดำเนินไปได้อย่างราบรื่นด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วย เพื่อความรวดเร็ว และการเพิ่มผลผลิต หรือประสิทธิภาพในการทำงานได้ไม่น้อยกว่า สู่ยุคดิจิทัลกิติกร นงค์สวัสดิ์ % ตลอดจนช่วยให้ต้นทุนทางเอกสารขององค์กรลดได้มากกว่า ฟูจิ ซีร็อกซ์กิติกร นงค์สวัสดิ์ % แน่นอน" นายกิติกร กล่าวทิ้งท้าย
ฟูจิ ซีร็อกซ์ แนะ 3 ขั้นตอนนำออฟฟิศสู่ยุคดิจิทัล
 
ฟูจิ ซีร็อกซ์ แนะ 3 ขั้นตอนนำออฟฟิศสู่ยุคดิจิทัล
 

ข่าวกิติกร นงค์สวัสดิ์+ฟูจิ ซีร็อกซ์วันนี้

ฟูจิ ซีร็อกซ์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำ “โซลูชั่นงานเอกสารยุคดิจิทัล” ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ Digital Intelligence

เปิดตัวมัลติฟังก์ชั่นใหม่ 14 รุ่น ภายใต้แนวคิด Smart Work Innovation เสริมศักยภาพธุรกิจยุคใหม่ด้วยนวัตกรรมที่เป็นมากกว่างานพิมพ์ ในภาพ (จากซ้ายไปขวา): นายฮิเดยูกิ โมริทาดะ Director, Business Planning & Marketing, นายพิชัย ธัญญวัชรกุล Director, Area Sales and GCS, นายฮิโรอากิ อาเบะ ประธานบริษัทฯ, นายกิติกร นงค์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจ และนางสาวโลจนันท์ ชลลัมพี หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำความ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มร. โคจิ เทสึกะ ประธาน บร... ภาพข่าว: ฟูจิ ซีร็อกซ์ ฉลองครบรอบ 50 ปี ประกาศพร้อมเติบโตคู่เศรษฐกิจไทย — เมื่อเร็ว ๆ นี้ มร. โคจิ เทสึกะ ประธาน บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (...

ฟูจิ ซีร็อกซ์ เผยกลยุทธ์จัดการระบบเอกสารใ... ฟูจิ ซีร็อกซ์ แนะ 3 ขั้นตอนนำออฟฟิศสู่ยุคดิจิทัล — ฟูจิ ซีร็อกซ์ เผยกลยุทธ์จัดการระบบเอกสารในองค์กร แนะ 3 ขั้นตอนในการนำออฟฟิศสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการปรับ...

ฟูจิ ซีร็อกซ์ เผยกลยุทธ์จัดการระบบเอกสารใ... ฟูจิ ซีร็อกซ์แนะ 3 ขั้นตอนนำออฟฟิศสู่ยุคดิจิทัล — ฟูจิ ซีร็อกซ์ เผยกลยุทธ์จัดการระบบเอกสารในองค์กร แนะ 3 ขั้นตอนในการนำออฟฟิศสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการปรับใช้...

ฟูจิ ซีร็อกซ์ ผู้เชี่ยวชาญบริหารจัดการเอก... ฟูจิ ซีร็อกซ์ ประกาศแผนรับ AEC เปิดตัวบริการใหม่ “Digital Mailroom Services” — ฟูจิ ซีร็อกซ์ ผู้เชี่ยวชาญบริหารจัดการเอกสาร และงานพิมพ์แบบครบวงจร เปิดบริก...

ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ชนะรางวัล Green Government Award 2011 ด้วยโซลูชั่นของฟูจิ ซีร็อกซ์

นายกิติกร นงค์สวัสดิ์ Head of Fuji Xerox Global Services บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดเผยว่า ด้วยโซลูชั่น Back Office Service Project (XOS) ของ ฟูจิ ซีร็อกซ์ และ โปรเจค DPU COOOL PRINT (DPPS) ของ...

ฟูจิ ซีร็อกซ์ ส่งโซลูชั่น FXGS พา ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ชนะรางวัล Green Government Award 2011

นายกิติกร นงค์สวัสดิ์ Head of Fuji Xerox Global Services บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดเผยว่า ด้วยโซลูชั่น Back Office Service Project (XOS) ของ ฟูจิ ซีร็อกซ์ และ โปรเจค DPU COOOL PRINT (DPPS) ของ...