สมศ. จับมือกลุ่มประเทศยุโรป เตรียมนำร่องประเมินคุณภาพ หน่วยประเมิน 6 ชาติอาเซียน ปี 60

          สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เตรียมจับมือ DAAD แห่งเยอรมนี และ ENQA สมาคมประกันคุณภาพจากสหภาพยุโรป นำร่องประเมินหน่วยประกันคุณภาพภายนอกของอาเซียน 6 ประเทศ ใน ปี พ.ศ. กลุ่มประเทศ56สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร และไทย วัตถุประสงค์ของความร่วมมือดังกล่าวเพื่อการพัฒนาด้านการประกันคุณภาพภายนอกระดับการอุดมศึกษาของอาเซียนให้สามารถเทียบเคียงมาตรฐานนานาชาติ ตลอดจนเป็นการสร้างแนวทางยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยสู่ระดับสากล รวมทั้งผลักดันกรอบประกันคุณภาพอาเซียน หรือ AQAF เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิก AQAN ใช้กรอบ AQAF เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายนอกของทุกประเทศในอาเซียนให้มีมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้ เพื่อสร้างระบบการประกันคุณภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันในการอำนวยความสะดวกการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา การถ่ายโอนหน่วยกิต การยอมรับปริญญาและคุณวุฒิการอุดมศึกษา ให้เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายบุคลากรรองรับการเปิดเสรีอาเซียน ในการนำร่องการประเมินหน่วยประกันคุณภาพภายนอกของประเทศอาเซียนดังกล่าว หน่วยงานจากสหภาพยุโรปจะร่วมมือกับ AQAN จะจัดการประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินหน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก 6 ประเทศ โดยการฝึกอบรมและชี้แจงขั้นตอนการประเมินที่จะจัด ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในเดือนพฤศจิกายน กลุ่มประเทศ559 
          สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th
          พลเรือตรีวัชระ การุณยวนิช รองผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่า เครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษาอาเซียน หรือ ASEAN Quality Assurance Network (AQAN) ได้ร่วมมือกับ กับ DAAD (German Academic Exchange Service) และ ENQA (European Association for Quality Assurance in Higher Education) ร่วมมือกันวางแผนดำเนินการประเมินคุณภาพการดำเนินงานของหน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกระดับอุดมศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งประกอบได้ด้วยประเทศ คุณภาพการศึกษาไทยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ชาติสมาชิก โดยในปี กลุ่มประเทศ56สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ที่จะถึงนี้ จะได้นำร่องการประเมินดังกล่าวกับ 6 ประเทศในอาเซียนที่มีความพร้อม ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร และไทย ซึ่งการประเมินจากสหภาพยุโรปดังกล่าวจะมุ่งเป้าหมายในการประเมินว่าหน่วยงานประกันคุณภาพภายนอกของอาเซียนมีความเป็นสากลเพียงไร และจะให้คำแนะนำการพัฒนาให้เทียบเคียงได้กับระบบของประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน 
          พลเรือตรีวัชระ กล่าวต่อว่า ประเด็นและเนื้อหาที่หน่วยงานประเมินจากยุโรปพิจารณาจะประกอบไปด้วย 4 หลักการ ได้แก่ คุณภาพการศึกษาไทย. หลักการของหน่วยงานประเมินคุณภาพภายนอก คือ หน่วยงานการประกันคุณภาพภายนอกของทั้ง คุณภาพการศึกษาไทยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ชาติอาเซียน กำหนดให้มีมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้ กลุ่มประเทศ. หลักการการประเมินคุณภาพภายนอก คือ ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้เรียนและสังคมเป็นสำคัญ เป็นการกำหนดมาตรฐานของผู้ประเมิน มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้ประเมินภายนอกอย่างสม่ำเสมอ 3. หลักการประกันคุณภาพภายใน โดยมีการประเมินภายในของแต่ละสถาบันอุดมศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพภายใน และ 4. หลักการกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ คือ กรอบมาตรฐานที่ใช้เป็นเครื่องมือที่แสดงระบบคุณวุฒิและมาตรฐานการวัดการศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการเลื่อนคุณวุฒิระดับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น และเทียบผลการเรียนรู้จากการเรียนรู้ระดับต่างๆ และช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการเคลื่อนย้ายบุคลากรอาชีพต่างๆ ด้วยกระบวนการยอมรับปริญญาและคุณวุฒิการศึกษารวมทั้งการศึกษาตลอดชีพ ซึ่งหลักการดังกล่าวกำหนดไว้ใน ASEAN Quality Assurance Framework หรือ AQAF ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของภูมิภาคอาเซียนที่เกิดจากความร่วมมือของ AQAN 
          นอกจากความร่วมมือดังกล่าวในการประเมินหน่วยงานประกันคุณภาพภายนอกของสมาชิก AQAN จำนวน 6 ประเทศดังกล่าว รวมทั้ง สมศ. แล้ว สหภาพยุโรปก็จะให้ความร่วมมือทางวิชาการด้านอุดมศึกษาให้แก่ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพให้ทัดเทียมกับ 6 ประเทศดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่ได้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพที่เป็นระบบที่เทียบเคียงกันได้จนส่งเสริมให้การอุดมศึกษาของสหภาพยุโรปเป็นผู้นำด้านการศึกษาและมีมาตรฐานที่สูง จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกพบว่า มหาวิทยาลัย คุณภาพการศึกษาไทยคุณภาพการศึกษาไทย แห่งใน คุณภาพการศึกษาไทยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา อันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกนั้นตั้งอยู่ในสหภาพยุโรป ซึ่งนับเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่เป็นที่สองรองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งการที่ไทยและกลุ่มประเทศสมาชิกที่มีความร่วมมือในการพัฒนาการประกันคุณภาพกับสหภาพยุโรป จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่ให้ความสอดคล้องและขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน แต่ยังเป็นกำลังขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ และภาพรวมของประเทศอีกด้วย พลเรือตรีวัชระ กล่าวสรุป
          สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ www.onesqa.or.th
สมศ. จับมือกลุ่มประเทศยุโรป เตรียมนำร่องประเมินคุณภาพ  หน่วยประเมิน 6 ชาติอาเซียน ปี 60
 

ข่าวสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา+คุณภาพการศึกษาไทยวันนี้

สมศ. เปิดโมเดลการประเมิน 4 ประเทศ ยกระดับการประเมินคุณภาพการศึกษาไทยสู่สากล

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เปิดโมเดลการประเมินของ 4 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ โดยพบว่ากรอบการดำเนินงานในการประเมินคุณภาพการศึกษาของทั้ง 4 ประเทศ ล้วนมีความแตกต่างตามบริบทของประเทศ ทั้งนี้ สมศ. ยังเผยวาระเร่งด่วนในการทำงานของ สมศ. โดยกำลังดำเนินงานวางแผนรูปแบบวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทประเทศไทยและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล โดยคาดว่ารูปแบบวิธีการประเมินของ สมศ. จะสามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้เร็ว ๆ

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศ... สมศ. จับมือกลุ่มประเทศยุโรป เตรียมนำร่องประเมินคุณภาพ หน่วยประเมิน 6 ชาติอาเซียน ปี 60 — สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ...

สมศ. เผย 10 จังหวัดการศึกษาดีเยี่ยม ได้คุณภาพการศึกษาไทย แนะกลยุทธ์ประเมินการศึกษารองรับอาเซียน

ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เปิดเผย 10 รายชื่อจังหวัดที่มีสถิติคุณภาพการศึกษาไทยอยู่ในระดับดีมาก พร้อม...

สมศ. ประเดิมเปิดรายชื่อ 10 จังหวัดคุณภาพ และสถิติคุณภาพการศึกษาไทย

· สมศ. เผยผลการประเมินคุณภาพเชิงพื้นที่ สู่การยกระดับการศึกษาบูรณาการแผนพัฒนาการศึกษารายจังหวัดรองรับการเปิดเสรีอาเซียน · สมศ. ชี้ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลต้องตั้งต้นจากผลประเมินฯ สมศ. พร้อมเตรียมสรุปผลประเมินการศึกษาทั่วประเทศ รอบ 3...

สมศ. เผยใช้เวลาประเมินเฉลี่ย 5 ชั่วโมงต่อปี ไม่กระทบเวลาสอนครู ย้ำประเมินงานปกติที่ครูทำ

สมศ.ชี้ประเทศไทยขาดหน่วยงานวิจัยเพื่อการพัฒนาการศึกษาอย่างมีคุณภาพพร้อมเสนอตัวอย่างงานวิจัยที่พัฒนา คุณภาพการศึกษาไทย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เผยในปี 2558 ประเทศ...

ภาพข่าว: สมศ. จัดประชุมทางวิชาการระดับชาติประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ปรับทิศทาง “ประเมินเพื่อพัฒนา”

ดร. นลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน การประชุมทางวิชาการระดับชาติประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ “การประกันคุณภาพการศึกษาไทยใต้ร่มพระบารมี” ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 12 ปี...

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและป... ศาสตราจารย์ ดร.องอาจ นัยพัฒน์ รับตำแหน่งผู้อำนวยการ สมศ. — เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. ร่วมแสดงความยินดีกับ "ศ...

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศ... เปิดมุมมองการประเมินคุณภาพภายนอกปี 2567 - 2571 ในรูปแบบ "การประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา" — สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. เป...

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศ... สมศ. ชวนสถานศึกษา เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการนำผลประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพ — สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ขอเชิญชวนสถา...