ศูนย์ภูมิแพ้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เปิดตัว "Asthma Care" แอพพลิเคชั่นฟรีบนมือถือเพื่อผู้ป่วยโรคหืด แห่งแรกในวงการแพทย์ไทย

          ศูนย์ภูมิแพ้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เปิดตัว "Asthma Care" แอพพลิเคชั่นฟรีบนมือถือเพื่อผู้ป่วยโรคหืด แห่งแรกในวงการแพทย์ไทย โหลดฟรีได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS / Android
          ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หรือ TU-CAAP ร่วมกับชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คิดค้นแอพพลิเคชั่นช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหืด เริ่มให้ประชาชนทั่วไปดาวน์โหลดฟรีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้ที่ใช้ไอโฟน (iOS) และระบบแอนดรอย์ (Andriod)
          รศ.นพ.จิตตินัดด์ หะวานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล แจ้งว่า ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หรือ TU-CAAP ร่วมกับชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดตัวแอพพลิเคชั่นฟรีบนมือถือเพื่อผู้ป่วยโรคหืด "Asthma Care" ทำหน้าที่เสมือนมีพยาบาลส่วนตัวช่วยให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติในการดูแลรักษาโรคหืด โดยเปิดตัวครั้งแรกในระบบ iOS สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ไอโฟน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมปีที่แล้ว และขณะนี้สามารถเปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรีในระบบแอนดรอยด์ ซึ่งในระยะเวลา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ปีที่ผ่านมาระหว่างรอพัฒนาระบบแอนดรอยด์ก็มีผู้เข้าไปดาวน์โหลดใช้งานจำนวนหนึ่ง และได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งาน
          ด้าน รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หรือ TU-CAAP และประธานชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานว่า 
          "Asthma Care" เป็นแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการดาวน์โหลดฟรีบนอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหืด โดยแอพพลิเคชั่นดังกล่าวจะทำหน้าที่เสมือนเป็นพยาบาลส่วนตัวช่วยให้คำแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพ การใช้ยา การพ่นยา และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการหอบ ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นแห่งแรกและแห่งเดียวในวงการแพทย์ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดให้สามารถปฏิบัติตนและดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธี ทั้งในเวลาปกติและเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ โรคหืดเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้ โดยทั่วไปจะมีอาการไอในตอนเช้าและตอนกลางคืน คัดจมูก น้ำมูกไหล ปัจจุบันพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จากจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย มีประชากรที่เป็นโรคหืด ประมาณ 3 ล้านคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตปีละเกือบ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ,โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คน ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมดมักจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ และโดยส่วนใหญ่แล้วโรคหืดมักจะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยจะเริ่มเป็นได้ตั้งแต่ 2-5 ขวบแรก และในผู้ใหญ่จะเริ่มประมาณ 3โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ปีขึ้นไป ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหืด สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตคือ เมื่อมีอาการแล้วดูแลตัวเองไม่ได้ พ่นยาไม่ทัน จึงทำให้เสียชีวิต เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดจะได้รับการสอนแผนปฏิบัติการณ์เมื่อมีอาการหืดกำเริบหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าอาการหอบ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหอบแล้วต้องทำอย่างไร มีอาการขนาดไหนถึงต้องมาโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อทีมงานแพทย์และบุคลากรทางการพยาบาลสอนผู้ป่วยในเรื่องนี้ ก็จำเป็นจะต้องสอนบ่อยๆ สอนซ้ำๆ เพราะผู้ป่วยจำไม่ได้ด้วยเหตุผลที่ว่าในบางคนในหนึ่งปีหอบแค่ครั้งเดียว เมื่อเกิดอาการขึ้นมาไม่สามารถจำกระบวนการแก้ปัญหาช่วยเหลือตัวเองได้ ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาแพทย์จะให้แผ่นพับแก่ผู้ป่วยและญาติไปอ่าน แต่ผู้ป่วยมักจะทำแผ่นพับนั้นหายและลืม 
          ต่อมาสังเกตว่าในทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์มือถือเยอะ จึงคิดหาวิธีว่าทำอย่างไรให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้เมื่อเกิดหืดกำเริบ จึงนึกถึงแอพพลิเคชั่นโปรแกรมที่จะช่วยชีวิตสำหรับผู้ป่วยที่เป็นหืด ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่คิดขึ้นมานี้มีชื่อว่า "Asthma Care" (แอสท์ม่า แคร์)

          รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล กล่าวต่อไปว่า ในแอพพลิเคชั่นดังกล่าวมีจุดเด่นคือ เมื่อมีอาการหอบเกิดขึ้นให้กดรูปรถพยาบาล ก็จะมีวิธีการดูแลเมื่อเกิดอาการหอบว่าจะต้องดูแลตนเองอย่างไร รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน และขั้นตอนปฏิบัติที่เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง ซึ่งสีเขียวหมายถึงไม่หอบ สีเหลืองหมายถึงเริ่มหอบ การดูแลเบื้องต้น และสีแดงหมายถึงเป็นหอบมาก จำเป็นต้องมาโรงพยาบาลทันที ในส่วนอื่นๆ จะสอนเรื่องวิธีการพ่นยา การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น รวมถึงการประเมินตนเอง เพราะผู้ป่วยจะได้ทราบว่าในเดือนที่ผ่านมาหรือในปีที่ผ่านมาตนเองหอบไปกี่ครั้ง เพื่อจะได้ให้ข้อมูลกับแพทย์ได้ถูกต้องและมีผลต่อการวินิจฉัยของแพทย์ได้ นอกจากนี้แพทย์ยังต้องการให้ผู้ป่วยพ่นยาทุกวันและมาพบแพทย์ตามนัด เพราะโรคหืดจำเป็นจะต้องใช้ยาทุกวันตลอดชีวิต โดยมีการตั้งค่าเตือนว่าเมื่อใดต้องพ่นยา ตั้งเตือนการพบแพทย์ สามารถดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินและสามารถดูแลตนเองในระยะยาวได้ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ในอนาคตทีมงานมีแผนที่จะทำเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้ป่วยโรคหืดได้ใช้ทั่วโลก
          สำหรับผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดย "Asthma Care" เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่าย ผู้ใช้สามารถหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องได้ประมาณ 2โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คำ เช่น Asthma Care หืด หอบ ฉุกเฉิน ปอด การพ่นยา เป็นต้น จากนั้นก็จะปรากฏโปรแกรม Asthma Care ขึ้นมาให้เราสามารถดาวน์โหลดได้ ซึ่งในขณะนี้ทีมงานพัฒนาจนสามารถใช้ในสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบ iOS และระบบ Android ได้แล้วทั้ง 2 ระบบ เพื่อให้ครอบคลุมกับผู้ป่วยที่ใช้สมาร์ทโฟนในทุกๆ รุ่น ซึ่งแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นผู้ช่วยที่ช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหืดในอนาคตได้ และจะทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดที่มีสาเหตุจากการที่ผู้ป่วยพ่นยาไม่ทันและพ่นยาผิดวิธีได้มาก 
          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณพัชรา บุญญอนุชิต โทร. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2926 9973-4
ศูนย์ภูมิแพ้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เปิดตัว "Asthma Care" แอพพลิเคชั่นฟรีบนมือถือเพื่อผู้ป่วยโรคหืด แห่งแรกในวงการแพทย์ไทย
 


ข่าวโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ+ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติวันนี้

เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต ในโครงการเลือดไม่แบ่งสี งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75

ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่จัดงาน "เลือดไม่แบ่งสี" กิจกรรมบริจาคโลหิต เพื่อมอบให้แก่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ครั้งที่ 75 โดย นางสาวสหัพย์ภัค โชควิจิตรกุล (ที่ 8 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดงาน โดยมี ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ (ที่ 6 จากซ้าย) อุปนายกสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ (ที่ 7

ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล ผู้อำนวยการศูนย์... ไทยประกันชีวิตสนับสนุนโครงการ Thai Kit Spacer เพื่อผู้ป่วยโรคหืด — ศ.ดร.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบ...

"โรคหัวใจ" เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหน... Unblock Your Heart for Every Heart ดูแลหัวใจ…ห่างไกลโรค — "โรคหัวใจ" เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรโลก ในทุก ๆ ปี มีคนกว่า 18 ล้านคนทั่วโลกเส...

นายพิชัย ชุณหวชิร ประธานกรรมการบริษัท บาง... บางจากฯ สนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ แก่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ — นายพิชัย ชุณหวชิร ประธานกรรมการบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธ...

บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) ... เอ็นอีซี ประเทศไทย และศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ เตรียมทดลองใช้แพลตฟอร์มสุขภาพดิจิทัล — บริษัท เอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือเอ็นอีซี ประเทศไ...

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้าน... Dow ผนึกสถาบันพลาสติก บริจาคอุปกรณ์ช่วยพ่นยา ต่อลมหายใจผู้ป่วยโรคหืดทั่วประเทศ — กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้นำด้านวัสดุศาสตร์ชั้นนำของโลก และสถาบ...