ภาควิชา
วิศวกรรมไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจกรรม
โครงการแข่งขัน "รถ
วิ่งตามเส้นเจ้าความเร็ว : Engineering Challenge 2016" ซึ่งเป็นกิจกรรมการแข่งขันรถเจ้าความเร็วอัจฉริยะ
สมองกลวิ่งตามเส้นทางที่กำหนด โดยมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันได้ฝึกฝนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีเยาวชนจากหลายสถาบันการศึกษา ให้ความสนใจและตื่นตัว ส่งทีมเข้าร่วมทำการแข่งขันเป็นจำนวนมากถึง 145 โรงเรียนทั่วประเทศ
โดยภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและมอบรางวัลแก่เยาวชนที่ชนะเลิศในการแข่งขันฯ ซึ่งในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป จะทำการแข่งขันใน "รอบชิงชนะเลิศ" ณ ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ ชั้น 5 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า....คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดงานนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนและนักศึกษา ได้ออกแบบสร้างรถแข่งวิ่งตามเส้นในรูปแบบการตรวจจับความแตกต่างและสัญลักษณ์ บนพื้นผิวได้อย่างถูกต้อง เพื่อค้นหาสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางด้านสิ่งประดิษฐ์ สำหรับรถวิ่งตามเส้นความเร็วสูง เพื่อฝึกฝนการออกแบบและพัฒนาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการทำงานของรถวิ่งตามเส้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้าน นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาของประเทศไทย โดยสามารถนำไปใช้งานได้จริงเพื่อเพิ่มศักยภาพองค์ความรู้ และกิจกรรมการศึกษานอกห้องเรียนให้เป็นประโยชน์อย่างสูงสุด
คุณสมบัติผู้สมัคร
- ผู้สมัครกำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ไม่เกินระดับ ม.6
- ผู้สมัครกำลังศึกษาในระดับอาชีวะศึกษา
เงื่อนไขการสมัคร
- ทีมละไม่เกิน 3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา
กฎกติกาและเงื่อนไข
- ใช้รถแข่งวิ่งตามเส้นคันเดียวกันตลอดการแข่งขัน ห้ามมีการสับเปลี่ยนรถแข่งในขณะแข่งขัน
- ไม่จำกัดเทคโนโลยีที่ใช้งาน
- ไม่จำกัดน้ำหนัก
- ขนาดของตัวรถกว้าง× ยาวไม่เกิน 210 × 297 มิลลิเมตร (ขนาดไม่เกินกระดาษ A4)
- การแข่งขันจำนวน 2 รอบ เอารอบเวลาที่ดีที่สุด
- หากหลุดออกจากแข่งขันให้สามารถนำมาวางในจุดที่กำหนดหลังเส้นจับเวลา แต่จะไม่หยุดจับเวลา
ข้อบังคับ
- ห้ามใช้เครื่องยนต์ทุกชนิด หรือใช้วิธีการจุดระเบิด หรือวิธีการใดๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้จัดและผู้เข้าร่วม
- ห้ามมีการบังคับด้วยมือ หรือส่งสัญญาณช่วยในการควบคุมรถแข่ง
- หากมีการร้องเรียน การทำผิดกฎกติกา หรือข้อกำหนด ถือว่าละเมิดข้อบังคับต่างๆ จะถูกตัดสิทธิ์ในการแข่งขัน และตัดสิทธิ์ในรางวัลต่างๆ
รางวัลการแข่งขัน
- รางวัล Winner รางวัลละ 15,000 บาท(พร้อมถ้วยรางวัล)
- รางวัล Best Technique Award รางวัลละ 5,000 บาท
- รางวัล Special Award รางวัลละ 5,000 บาท
- ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจนจบรายการ ได้ใบประกาศนียบัตร และเหรียญรางวัลความสำเร็จ (Engineering Achievement Award)
- ทุกทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินสนับสนุนทีม ทีมละ 1,500 บาท
เกณฑ์การตัดสิน (คำตัดสินของกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด)
- หาความเร็วสูงสุดในการแข่งขัน จากทีมทั้งหมดที่เข้าร่วม
- เทคโนโลยี/ระบบควบคุม
- ความคิดสร้างสรรค์
รูปแถบสีของพื้นสนามที่ใช้ในการแข่งขัน
- วัสดุพื้นไม้ทาสีดำ กว้าง 30 เซนติเมตร
- เส้นสีขาว (ตรงกลาง) ความกว้าง 3 เซนติเมตร
- เส้นสีขาว (ด้านข้างทั้งสองข้าง) ความกว้าง 3 เซนติเมตร
สนามที่ใช้ในการแข่งขัน สนามมีขนาดความกว้าง 300 เซนติเมตร ความยาว 900 เซนติเมตร
สรุปผลการแข่งขัน
- รางวัลชนะเลิศ winner ด้วยเวลาการแข่งขัน 21.6 วินาที
ได้แก่ ด.ช.สรสิช สิรวัฒนากุล มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายมัธยม
รับทุนการศึกษาจำนวน 16,500 บาท พร้อมถ้วยรางวัลเกียรติยศจาก ผศ.ดร.ชลธิศ เอียมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม Best technique
ได้แก่ น.ส.พริมา โตกลม และ น.ส.กัณฐิกา อภิญโญวิเชียร มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จากโรงเรียนราชินีบน
รับทุนการศึกษาจำนวน 6,500 บาท
- รางวัลขวัญใจกรรมการ Special award
ได้แก่ นายณเมธี น้อยแก้ว มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
รับทุนการศึกษาจำนวน 6,500 บาท
ได้แก่ นายณัฐวัฒ แก้ว มะลัง และ นายวุฒินันท์ ก้อนทองดี ปวส. ชั้นปีที่ 1 จากวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
รับทุนการศึกษาจำนวน 3,500 บาท
- โรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบ 30 ทีมสุดท้าย ได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษาโรงเรียนละ 1,500 บาท ได้แก่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายมัธยม, ศูนย์การเรียนรู้ด้านหุ่นยนต์,โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา, โรงเรียนทานตะวันไตรภาษา, โรงเรียนบ้านนา"นายกพิทยากร", โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม, โรงเรียนจิตรลดา(สายวิชาชีพ), วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี, โรงเรียนราชินีบน, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม, วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี, วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี, โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา, โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา, วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี, โรเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๘ จันทบุรี, วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา, วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์, โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม, วิทยาลัยเทคนิคชุมแพ, วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา, โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม, วิทยาลัยการอาชีพอัมพวา, โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง