จากนี้ไป ไดร์ฟ SSD แบบ TLC จะกลายมาเป็นเจ้าตลาดใหม่ในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป Plextor เปิดตัวไดร์ฟ SSD แบบ TLC สมรรถนะสูง พร้อมราคาสมเหตุสมผล

          ในขณะที่ราคาไดร์ฟ SSD กำลังลดลงเรื่อยๆ ไดร์ฟ SSD ในรูปแบบ TLC ที่มีราคาถูกและความจุสูงกำลังจะเข้ามาแทนที่ไดร์ฟแบบ MLC SSD และกำลังได้รับความนิยมในตลาดคอนซูเมอร์มากขึ้น ด้วยชิป NAND Flash แบบ TLC ที่เป็นที่นิยมอยู่ในอุตสาหกรรมสื่อบันทึกข้อมูลมานาน แต่อยู่ในรูปแบบอื่น เช่นแฟลชไดร์ฟ USB เมมโมรีการ์ด หรืออื่น ๆ เมื่อเทคโนโลยีคอนโทรลเลอร์และเฟิร์มแวร์ต่าง ๆ ได้พัฒนามามากขึ้น เราก็กำลังจะได้พบกับชิป NAND Flash แบบ TLC ในไดร์ฟ SSD มากขึ้นเช่นกัน
          TLC คืออะไร?
          สิ่งที่สาวกไอโฟนอาจจะไม่คุ้นเคยนั้นคือ TLC เมื่อครั้งที่ iPhone 6 เปิดตัวมาพร้อมกับชิป TLC ทำให้เกิดคลื่นลูกใหญ่ใหม่ในตลาดอย่างกว้างขวาง ด้วยความแพร่หลายของเฟิร์มแวร์ และล่าสุดที่ iPhone 6s มาพร้อมกับหน่วยความจำในส่วน buffer ที่มากขึ้น ความกังวลของผู้ใช้ต่างก็คลายหายไป
          ทุกวันนี้ชิป NAND Flash นั้นมีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยี 4 แบบด้วยกันคือ SLC, MLC, TLC และ QLC ความแตกต่างคือจำนวนบิท (bits) ที่สามารถเก็บได้ในเซลหน่วยความจำนั้น ๆ
จากนี้ไป ไดร์ฟ SSD แบบ TLC จะกลายมาเป็นเจ้าตลาดใหม่ในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป Plextor เปิดตัวไดร์ฟ SSD แบบ TLC สมรรถนะสูง พร้อมราคาสมเหตุสมผล
          ในโลกปัจจุบัน SSD หลายรุ่นต่างก็ใช้ชิป NAND Flash แบบ SLC ที่มีข้อจำกัดที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เพียง 1 บิท ต่อ 1 เซลทำให้ไดร์ฟลักษณะดังกล่าว ไม่มีข้อได้เปรียบด้านความจุต่อเซลหน่วยความจำ ทำให้มีค่าใช้จ่ายต้นทุนสูง การนำเอาไดร์ฟ SSD แบบ SLC ไปใช้งานนั้นถูกจำกัดอยู่เพียงแค่แวดวงอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ความมั่นคง และอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปเท่านั้น เนื่องจากต้นทุนที่สูงของไดร์ฟลักษณะนี้ ทำให้ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเซิฟเวอร์ในหลายองค์กร ก็ยังคงเลือกใช้ไดร์ฟแบบ MLC
          สำหรับไดร์ฟแบบ MLC นับได้ว่าเป็นไดร์ฟสำหรับคอมพิวเตอร์ ระดับคอนซูเมอร์เกรดทั่วไปที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในช่วงปี 2008 จนถึง 2015 นับเป็นเวลาถึงแปดปีมาแล้วนับตั้งแต่การเกิดพัฒนาการของชิป NAND Flash ซึ่ง TLC ที่มีคุณสมบัติสามารถเก็บข้อมูลถึง 3 บิท ต่อเซลความจำ 1 เซล หมายถึงทำให้สามารถทำความจุได้มากขึ้นในต้นทุนที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับแบบ MLC โดย เมื่อเทียบจากความจุระดับเท่ากัน ไดร์ฟที่ใช้เทคโนโลยี MLC จะมีการใช้ชิป NAND Flash มากกว่าไดร์ฟแบบ TLC ทำให้ TLC ได้เปรียบด้านต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า
          ความทนทานของไดร์ฟแบบ TLC
          ก่อนที่จะกล่าวถึงความทนทานของไดร์ฟแบบ TLC เราควรเริ่มจากคำอธิบายว่า ทำไม SSD ถึงมีปัญหาเรื่องอายุการใช้งาน ชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดของ SSD คือชิป NAND Flash และชิปตัวนี้จะเป็นตัวชี้วัดถึงอายุการใช้งานของไดร์ฟ SSD โดยมีพื้นฐานมาจากโครงสร้างพื้นฐานของตัวชิป ข้อมูลที่อยู่ในชิป ถูกจัดเก็บในรูปแบบของประจุไฟฟ้า เก็บอยู่ระหว่างชั้นของฉนวน การประจุไฟเข้าชิป (Charging) หรือการเขียนข้อมูล หรือการคายประจุไฟ (discharging) หรือการลบข้อมูล จะต้องทำผ่านชั้นฉนวนดังกล่าว และส่งผ่านประจุไฟฟ้าที่มีศักย์มากพอที่จะทะลวงผ่านชั้นฉนวนลงไปได้ เมื่อประจุไฟฟ้าดังกล่าวสามารถผ่านชั้นฉนวนลงไปได้หมายถึงชั้นฉนวนดังกล่าวก็จะมีการสึกหรอไปตามสภาพการใช้งาน เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงมีค่า P/E cycle ระบุในสเป็คของไดร์ฟชนิดนี้ การคำนวณอายุการใช้งานหรือ "Service Life" คิดจากจำนวนครั้งที่ข้อมูลสามารถเขียนและลบได้
          สำหรับคนที่มีคำถามเกี่ยวกับความทนทานของไดร์ฟ TLC คำถามเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นคำถามจาก อายุการใช้งาน (P/E Cycle) ของ TLC ที่สั้นกว่าแบบ MLC เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก TLC มีต้องใช้ศักย์ไฟฟ้าในการเขียนข้อมูลลงเซลความจำสูงกว่า MLC เนื่องจาก TLC สามารถจุข้อมูลลงเซลความจำลงไปได้ถึง 3 บิทต่อเซล 3 บิทต่อเซลความจำ จะต้องใช้การจำแนกระดับศักย์ไฟฟ้าในเซลดังกล่าวมากถึง 8 ระดับศักย์ไฟฟ้า ซึ่งเมื่อเทียบกับแบบ MLC ที่จุได้เพียง 2 บิทต่อเซล จึงใช้ระดับศักย์ไฟฟ้าเพียง 4 ระดับในการจำแนกรูปแบบข้อมูล แน่นอนว่าการใช้ไฟฟ้า 8 ระดับศักย์ไฟฟ้าจะต้องมีค่าแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่มากกว่า 4 ระดับ ทำให้ชั้นฉนวนนั้นเสื่อมสภาพเร็วกว่าการใช้แรงดันไฟฟ้าที่ต่ำกว่า
          การใช้งานที่เหมาะสมสำหรับไดร์ฟ SSD
          จากข้อมูลเบื้องต้น เราได้เห็นว่าทั้งไดร์ฟแบบ SLC MLC และ TLC ล้วนมีข้อจำกัดด้านอายุการใช้งานทั้งสิ้นในขณะที่ชิป NAND Flash ถูกใช้งานทั้งการอ่านและการเขียนข้อมูล สักวันหนึ่งตัวชิปก็จะถึงจุดที่ไม่สามารถใช้งานได้และเสื่อมสภาพลง เหมือนกับแผ่นกระดาษที่สามารถถูกลบด้วยยางลบได้ แต่หากลบมาก ๆ ครั้งเข้า กระดาษก็อาจจะบางลงจนขาดได้ในที่สุด
          หลาย ๆ คนอาจเกิดคำถามขึ้นว่าเพราะเหตุใดเราถึงไม่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กหมุนทั่วไป ฮาร์ดดิสก์นั้นไม่มีข้อจำกัดด้านอายุการใช้งานเช่นเดียวกับไดร์ฟแบบ SSD แต่ยังคงมีความสึกหรอที่เกิดจากโครงสร้างกลไกที่มีส่วนเคลื่อนไหวภายใน และยังไม่รวมถึงความจริงที่ว่า HDD ทั่วไปมีความเร็วในการอ่านและเขียน เพียงแค่ 1 ใน 5 เท่าของไดร์ฟ SSD ส่วนใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้ SSD ยังเบากว่า เสียงรบกวนน้อยกว่า ต้านทานการสั่นสะเทือนได้ดีกว่า และได้เข้ามาเป็นที่นิยมในตลาดคอนซูเมอร์ เช่นเดียวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งๆ ที่โทรศัพท์แบบฟีเจอร์โฟนที่มีคุณสมบัติทนทาน ตอบสนองการใช้งานสมบุกสมบันได้ดี แต่ตลาดก็ยังคงต้องการสมาร์ทโฟนที่เปราะบางกว่า แต่มีประสิทธิภาพ และฟีเจอร์ที่ดีกว่า
          ไม่ว่าคุณกำลังจะใช้ไดร์ฟแบบ SSD หรือ HDD สิ่งที่ควรทำเป็นประจำคือ การสำรองข้อมูลเป็นประจำ หากต้องการยืดอายุการใช้งานของ SSD พยายามหลีกเลี่ยงการใช้งานที่ต้องมีการอ่านและเขียนอย่างต่อเนื่อง เช่นการดาวโหลดไฟล์จากระบบ Bittorrent หรือการทำ defragment นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งซอฟท์แวร์ที่ช่วยลดจำนวนการอ่านและเขียนลงได้อย่างเช่น PlexTurbo ที่ช่วยยืดอายุการใช้งาน
          ความก้าวหน้าในเทคโนโลยี TLC ช่วยเพิ่มความทนทาน
          TLC กำลังจะมาแทนที่ MLC ในตลาดคอนซูเมอร์ และเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายว่า ผู้ใช้ทั่วไปอาจจะกำลังกังวลถึงอายุการใช้งานของไดร์ฟแบบ TLC ในขณะที่ไดร์ฟแบบ MLC ที่ได้รับความนิยมอยู่แล้วก็เคยมีข้อกังขาเกี่ยวกับอายุการใช้งานเมื่อเทียบกับแบบ SLC อย่างไรก็ดี ปริมาณผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ความกังวลดังกล่าวก็ค่อยๆเลือนรางหายไปตามกาลเวลา ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชิปแบบ TLC ทำให้ไดร์ฟ TLC ในปีนี้ คาดการกันว่าจะเข้ามาเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดไดร์ฟ SSD ระดับคอนซูเมอร์ในตลาดภายในปีนี้อย่างแน่นอน
          ในช่วงปีที่ผ่านมา Plextor ได้มุ่งที่จะพัฒนาอายุการใช้งานของไดร์ฟแบบ TLC ด้วยการนำชิป TLC NAND Flash คุณภาพดี เลือกคอนโทรลเลอร์ที่เหมาะสมที่สุด คอนโทรลเลอร์เปรียบเสมือนเป็นมันสมองของไดร์ฟ ผนวกกับเฟิร์มแวร์ที่ช่วยยืดอายุการใช้งานด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงสุด
          ขณะนี้เป็นข่าวว่า Plextor อาจเตรียมตัวเปิดตัวไดร์ฟ SSD แบบ TLC ที่มีอายุการใช้งาน P/E Cycles 2,000 ซึ่งเป็นค่าที่สูงกว่าค่ามาตรฐานในตลาด (TLC ส่วนใหญ่มี P/E Cycles ที่ 500 ถึง 1,000 ) 
          นอกจากนี้ไดร์ฟ TLC รุ่นใหม่ของ Plextor จะสามารถใช้งานร่วมกับซอฟท์แวร์ PlexTurbo ซึ่งจะไม่ช่วยเพียงแค่เพิ่มความเร็วในการอ่านและเขียนของตัวไดร์ฟเท่านั้น แต่ยังช่วยลดจำนวนครั้งในการเขียนข้อมูลลงบนเซลความจำ ที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้อีกด้วย
จากนี้ไป ไดร์ฟ SSD แบบ TLC จะกลายมาเป็นเจ้าตลาดใหม่ในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป Plextor เปิดตัวไดร์ฟ SSD แบบ TLC สมรรถนะสูง พร้อมราคาสมเหตุสมผล
 
จากนี้ไป ไดร์ฟ SSD แบบ TLC จะกลายมาเป็นเจ้าตลาดใหม่ในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป Plextor เปิดตัวไดร์ฟ SSD แบบ TLC สมรรถนะสูง พร้อมราคาสมเหตุสมผล
จากนี้ไป ไดร์ฟ SSD แบบ TLC จะกลายมาเป็นเจ้าตลาดใหม่ในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป Plextor เปิดตัวไดร์ฟ SSD แบบ TLC สมรรถนะสูง พร้อมราคาสมเหตุสมผล
 
 

ข่าวคอนโทรลเลอร์+เฟิร์มแวร์วันนี้

ไมโครชิพ เปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์และเฟิร์มแวร์ใหม่ ช่วยป้องกันมัลแวร์ประเภท Rootkit และ Bootkit ในระบบปฏิบัติการที่บูตระบบจากหน่วยความจำแฟลชแบบ External SPI

- ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบเข้ารหัสและเฟิร์มแวร์แบบกำหนดเองรุ่นใหม่ ตลอดจนบริการด้านการผลิตจากไมโครชิพ ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ระบบต่าง ๆ สามารถตรวจจับและหยุดยั้งมัลแวร์ก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของ 5G ไม่ว่าจะป็นโครงสร้างพื้นฐานเซลลูลาร์ใหม่ เครือข่ายและดาต้าเซ็นเตอร์ที่รองรับการประมวลผลคลาวด์ที่กำลังขยายตัว เหล่านักพัฒนาจึงต่างมองหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบปฏิบัติการยังคงความปลอดภัยสูงสุดในทุกสถานการณ์ บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (Nasdaq: MCHP)

ไมโครชิพ เปิดตัวซอฟต์แวร์ MPLAB(R) Harmony เวอร์ชั่นใหม่ อัพเกรดประสิทธิภาพโค้ดและเครื่องมือพัฒนากราฟิกให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น

- MPLAB Harmony 2.0 พร้อมให้ดาวน์โหลดฟรีแล้ววันนี้ บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด ประกาศเปิดให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลด MPLAB(R) Harmony 2.0 ได้ฟรี ซอฟต์แวร์นี้เป็นเฟรม...

ไมโครชิปเปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาด 32-bit ตระกูลใหม่ ควบคู่กับเฟิร์มแวร์การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวใหม่สุดในอุตสาหกรรม

ผลิตภัณฑ์ตระกูล PIC32MZ ทั้งหมด 24 รุ่น มีความเร็ว 330 DMIPS, 3.28 CoreMarks(TM)/MHz และมีความหนาแน่นของโค้ดเพิ่มขึ้นถึง 30% MPLAB(R) Harmony ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนา MCU ขนาด...

OCZ เปิดตัว SSD ไดรฟ์รุ่นใหม่ซีรีส์ Vector 150 ผู้นำทางด้านไดรฟ์ประสิทธิภาพสูง และความทนทาน

ไดรฟ์ SATA-III รุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 19nm NAND Flash ประสิทธิภาพสูงด้วยชิปคอนโทรลเลอร์ Barefoot 3 เหมาะสำหรับการใช้งานหนักและงานประมวลผลระดับเวิร์กสเตชั่น บริษัท OCZ Technology Group, Inc. (Nasdaq:OCZ)...

อัลฟาเวฟ เซมิเปิดสำนักงานใหม่ในกรุงออตตาวา ขยายความเป็นผู้นำด้านเทคนิคและการดำเนินงานในแคนาดา

สำนักงานแห่งใหม่ประกอบด้วยพื้นที่ห้องปฏิบัติการที่กว้างขวางเพื่อเร่งความเป็นผู้นำทางเทคนิคของบริษัทในด้านการเชื่อมต่อความเร็วสูง อัลฟาเวฟ เซมิ ( Alphawave Semi) (LSE: AWE) ผู้นำระดับโลกด้านการเชื่อมต่อความ...

สถาบันพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์และช... กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดฝึกอบรม หลักสูตร การใช้โปรแกรม MITSUBISHI PLC & Gx Work 3 — สถาบันพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ เปิดฝึกอ...