ผู้หญิงกับการฝ่าผ่านสร้างสันติภาพชายแดนใต้

          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เผยผลวิจัยผู้หญิงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม มหาวิทยาลัยทักษิณ559 พบบทบาทผู้หญิงกับการขับเคลื่อนเชิงสร้างสรรค์ผ่านงานพัฒนาชุมชนจากจุดเล็กๆในชุมชน แต่หนุนเนื่องสู่การสร้างสันติภาพในนิยามใหม่ๆได้อย่างลงตัว           
          รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องผู้หญิงกับการพัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงของชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผย ผลการวิจัยเนื่องในสตรีสากล 8 มีนาคม มหาวิทยาลัยทักษิณ559 ว่าจากการดำเนินการวิจัยผู้หญิงกับการพัฒนาเพื่อสร้างความมั่งคงของชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้หญิงกับการพัฒนา และแนวทางยกระดับบทบาทผู้หญิงในกระบวนการพัฒนาที่เอื้อการพัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงของชุมชนและด้านอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชุมชน เครือข่าย และนโยบายที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมของชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า
          การศึกษาผู้หญิงในจังหวัดชายแดนใต้ ส่วนใหญ่ถูกเขียน/ พูด/ นำเสนอในแง่ภาพลักษณ์ของความน่าเห็นใจ/ น่าสงสาร ในฐานะผู้สูญเสียจากความรุนแรง และถูกทำให้หายไปในกระบวนการพัฒนา แต่เรื่องราวของผู้หญิงใน "เครือข่ายชุมชนศรัทธา" ซึ่งเป็นเครือข่ายองค์กรชุมชนที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด "ใช้หลักศาสนา สร้างศรัทธา พัฒนาจังหวัดชายแดนใต้" เพื่อสร้างชุมชนและการพัฒนาชุมชนที่เรียกว่า "ความเป็นชุมชนศรัทธา" ครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง และจิตวิญญาณ ผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทอย่างสร้างสรรค์อันมีผลเชื่อมโยงถึงการสร้างความมั่นคง การสร้างสันติภาพ และการเปิดพื้นที่ทางสังคมให้ผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างการเปลี่ยนแปลงจากจุดเล็กในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานพัฒนาชุมชนในระดับฐานล่าง เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์และสวัสดิการ เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง กลุ่มอาชีพการจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ กระทั่งสามารถเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมได้มากขึ้น           
          บทบาทการทำงานพัฒนาของผู้หญิงในระยะแรกๆของความรุนแรงรอบใหม่ นับแต่ ปีพ.ศ. มหาวิทยาลัยทักษิณ547 เป็นต้นมา ยังไม่เปิดกว้างมากนัก ดังนั้นการก้าวออกมาจากครอบครัว สู่กิจกรรมการพัฒนาเชิงสาธารณะมักเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ ที่ผู้ชายส่วนใหญ่มองข้าม หรือมองว่าไม่ใช่งานของผู้ชาย โดยใช้กระบวนการพื้นฐานคือการสร้างความสัมพันธ์พื้นฐานผ่านการพูดคุย สนทนาในชีวิตประจำวัน การสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน การริเริ่มกิจกรรมใหม่ ๆ ใกล้ ๆ ตัว จากนั้นจึงยกระดับการประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่สามารถถ่ายเท/ จัดสรรทรัพยากรให้ชุมชนได้ ซึ่งในท้ายที่สุดทำให้ผู้นำชายและชาวชุมชนให้การยอมรับ อันส่งผลต่อการปรับความสัมพันธ์ทางสังคมใหม่ในระดับชุมชนและภายนอก ที่สำคัญคือปัญหาและความรุนแรงในชุมชนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังที่แกนนำผู้หญิงท่านหนึ่งกล่าวอย่างมั่นใจว่า 
          "กิจกรรมใดก็แล้วแต่หากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้หญิงก็ไปไม่รอด กระแสเรียกร้องผู้หญิงมีมากขึ้นในชุมชน ที่สำคัญเป็นการเรียกร้องจากผู้ชายที่ครั้งหนึ่งมองว่าผู้หญิงไม่มีพลังไม่มีศักยภาพ แต่วันนี้สันติภาพอยู่ในกำมือผู้หญิง" 
          อย่างไรก็ดีควรส่งเสริม/ สนับสนุนผู้หญิงให้มากขึ้น โดยเฉพาะทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดระบบชุมชน ระบบการจัดการและการประสานงาน รวมทั้งการสร้างความตระหนักในเรื่องบทบาทผู้หญิง หรือบทบาทหญิงชายให้กับชาวชุมชนและผู้นำกลุ่มต่าง ๆ 
          ในเชิงนโยบายต้องเร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับผู้หญิง สิทธิ การยอมรับ ความเสมอภาคสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมที่ผู้หญิงสามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพัฒนาศักยภาพเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงเข้าถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ความมั่นคงทางอาหาร อาชีพ การศึกษา และสร้างความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินของผู้หญิงในระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และสร้างโอกาสการเรียนรู้และการศึกษาที่สามารถทำให้ผู้หญิงเท่าทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ควรจัดให้มีกองทุนพัฒนาที่เอื้อให้ผู้หญิงกลุ่มต่างๆสามารถเข้าถึง ใช้ประโยชน์ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น ซึ่งรูปแบบที่เป็นไปได้อาจอยู่ในรูป "คณะทำงานอิสระ" มีหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สนับสนุน
ผู้หญิงกับการฝ่าผ่านสร้างสันติภาพชายแดนใต้
 

ข่าวจังหวัดชายแดนภาคใต้+ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์วันนี้

'สานใจไทย สู่ใจใต้' รุ่นที่ 44 … ซีพี - ซีพีเอฟ หนุนโครงการต่อเนื่องมุ่งเสริมสร้างโอกาสการศึกษา พัฒนาความคิดและทักษะอาชีพแก่เยาวชนไทยรุ่นใหม่

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" รุ่นที่ 44 มอบผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพ เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิตแก่เยาวชนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งเน้นการเสริมสร้างทัศนคติที่ดี พัฒนาตนเองและครอบครัว และเป็นพลเมืองดีของสังคม ณ สโมสรทหารบก (ส่วนกลาง) วิภาวดีกรุงเทพมหานคร โครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" รุ่นที่ 44 ได้รับเกียรติจาก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกมูลนิธิ "สานใจไทย สู่ใจใต้" เป็น ประธานในพิธีเปิดโครงการฯ

เนื่องด้วยสถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที... สถาบันปิดทองหลังพระ ปฏิบัติการเชิงรุกฟื้นฟูการเกษตรหลังสถานการณ์น้ำท่วม — เนื่องด้วยสถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ช่วงปลาย เดือนพฤศจิกายน ปี 2567 ...

ส่งท้ายปี2566 คุณดำรงรักษ อภิบาลสวัสดิ์ ร... ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ "หาดทิพย์" ส่งกำลังใจ ให้พี่น้องผู้ประสบภัย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ — ส่งท้ายปี2566 คุณดำรงรักษ อภิบาลสวัสดิ์ รองประธานเจ้าหน้าท...

เบสท์ เอ็กซ์เพรส (BEST Express) ร่วมกับแฟ... BEST Express ร่วมส่งต่อน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ — เบสท์ เอ็กซ์เพรส (BEST Express) ร่วมกับแฟรนไชส์ศูนย์บริการสาขาชายแดนภาคใต้ นำโดย คุณ...

วิสาหกิจฯ HAND-IN-HAND RUSO นับเป็นวิสาหก... วิสาหกิจฯ HAND-IN-HAND RUSO "สร้างเศรษฐกิจ" แก้ปัญหาพื้นที่สีแดง — วิสาหกิจฯ HAND-IN-HAND RUSO นับเป็นวิสาหกิจชุมชน ที่ใช้ "ใจ" ในการขับเคลื่อนโดยแท้ เพรา...