จุฬาฯ เร่งให้ความรู้ “รับมือไข้เลือดออก”

          รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ อาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประชาชนเริ่มมีความวิตกกังวลและตื่นตระหนกกลัวกับโรคไข้เลือดออกที่แพร่ระบาดมากขึ้น แต่ในความจริงแล้ว แพทย์โดยเฉพาะกุมารแพทย์คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกและการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างดี ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูง จนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ อัตราตายของผู้ป่วยได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันมีอัตราตายลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ ชิษณุ พันธุ์เจริญ.5 ซึ่งหมายถึง ถ้ามีผู้ป่วยไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก,ชิษณุ พันธุ์เจริญชิษณุ พันธุ์เจริญชิษณุ พันธุ์เจริญ ราย จะมีผู้ป่วยเสียชีวิตไม่เกิน 5 ราย
          โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า ไข้เลือดออกเดงกี แต่มักเรียกทั่วไปว่า "ไข้เลือดออก"เชื้อไวรัสเดงกีมี 4 ชนิดคือ เดงกี-โรคไข้เลือดออก, เดงกี-คณะแพทยศาสตร์, เดงกี-3 และเดงกี-4ทำให้คนเรามีโอกาสที่จะป่วยจากโรคไข้เลือดออกได้หลายครั้งไวรัสเดงกีเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออก แต่ตัวการที่แท้จริงหรือพาหะนำโรคที่สำคัญคือ "ยุงลาย"เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกีกัดคน จะถ่ายทอดเชื้อให้คน ทำให้เกิดการติดเชื้อตามมายุงลายมักออกหากินและกินเลือดคนในเวลากลางวัน และวางไข่ในน้ำสะอาดที่ขังนิ่ง
          ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีจำนวนไม่น้อยจะไม่แสดงอาการใดๆ ในขณะที่ผู้ติดเชื้อบางคนมีเพียงอาการไข้ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อเท่านั้นซึ่งเรียกว่า "ไข้เดงกี"กรณีที่มีการรั่วของพลาสม่าหรือน้ำเหลืองออกจากเส้นเลือดของผู้ป่วย ซึ่งทำให้ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น มีน้ำในช่องปอดและช่องท้อง จะเรียกว่า "ไข้เลือดออก"ผู้ป่วยบางรายที่มีการรั่วของพลาสม่าจำนวนมากอาจมีภาวะช็อกร่วมด้วย
          รศ.นพ.ชิษณุ เปิดเผยอีกว่าปัจจุบันการระบาดของโรคเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยการระบาดใหญ่ในบางปีอาจมีผู้ป่วยหลายแสนคน ปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องได้แก่ การคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว อุณหภูมิของโลกที่เปลี่ยนไป และความเป็นอยู่ที่แออัดของผู้คน ผู้ป่วยไข้เลือดออกพบได้ตลอดปี แต่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน และมักมีการระบาดใหญ่ทุก 3-5 ปี ปัจจุบันยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ป่วยไข้เลือดออกในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากเดิมที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก เปลี่ยนเป็นเด็กโต วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อย ซึ่งส่งผลให้อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกเปลี่ยนแปลงไปด้วย ระยะเวลาของไข้ยาวนานขึ้น พบอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอาการปวดศีรษะมากขึ้น ขณะที่อาการตับโตและภาวะช็อกที่พบบ่อยในเด็กเล็กพบน้อยลง
          สำหรับอาการของผู้ป่วยไข้บางคนมีเพียงอาการไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว แล้วก็หายจากโรคโดยไม่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ในขณะที่ผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งเกิดภาวะเลือดออกและมีภาวะช็อกร่วมด้วยจากการศึกษาวิจัย พบว่า ปัจจุบันผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีความรุนแรงมักเกิดจากการติดเชื้อครั้งที่สอง ผู้ป่วยที่มีปริมาณของไวรัสมากจะมีอาการของโรครุนแรง และเชื่อว่าไวรัสเดงกี-คณะแพทยศาสตร์ ทำให้เกิดการรั่วของพลาสม่าได้มากกว่าไวรัสชนิดอื่น ส่วนไวรัสเดงกี-3 มักทำให้เกิดอาการทางสมองและ
          รศ.นพ.ชิษณุ บอกอีกว่า อาการของโรคไข้เลือดออกจำแนกเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะไข้ ระยะวิกฤติ และระยะพักฟื้น การมีความรู้เกี่ยวกับระยะของโรคจะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนในการวินิจฉัยโรค การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น รวมทั้งช่วยให้สามารถพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ในช่วงเวลาที่เหมาะสมอาการที่สำคัญในระยะแรกของโรคไข้เลือดออกคือ อาการไข้สูงลอย หน้าแดง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และอาจมีภาวะเลือดออกร่วมด้วย อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะไม่ปรากฏพร้อมๆ กัน จึงต้องเฝ้าติดตามเป็นระยะๆ ส่วนใหญ่จะชัดเจนและง่ายต่อการวินิจฉัยโรคมากขึ้นเมื่ออาการไข้ดำเนินมาถึงวันที่ 3ลักษณะที่สำคัญในผู้ป่วยไข้เลือดออกคือ อาการ "ไข้สูงลอย""ไข้สูง" หมายถึง ไข้ที่สูงตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป "ไข้ลอย" หมายถึง ไข้ที่เป็นอยู่นานและไม่ลดลงจนเป็นปกติตลอดระยะไข้ของโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้สูง 39-4ชิษณุ พันธุ์เจริญ.5 องศาเซลเซียส หากได้รับยาลดไข้อาจทำให้ไข้ลดลงเพียงเล็กน้อยในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นดังนั้นผู้ป่วยที่มีประวัติไข้เป็นๆ หายๆ หรือผู้ป่วยที่มีไข้เฉพาะในเวลากลางคืนจึงมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกน้อย การติดตามไข้เป็นระยะๆ โดยใช้ปรอทวัดไข้สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้เป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่สงสัยว่าอาจเป็นไข้เลือดออกตำแหน่งที่พบเลือดออกได้บ่อยคือ ผิวหนัง เยื่อบุจมูก ช่องปาก และกระเพาะอาหาร ภาวะเลือดออกในอวัยวะอื่นๆ รวมถึงเลือดออกในสมองพบได้น้อยมาก หากผู้ป่วยเป็นเพศหญิง อาจจะมีประจำเดือนมากหรือนานกว่าปกติ
          ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ การดื่มน้ำผลไม้ น้ำเกลือแร่ หรือน้ำธรรมดาให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แนะนำให้จิบบ่อยๆ ทีละน้อย ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่มีสีแดงหรือสีดำ เนื่องจากเมื่อผู้ป่วยอาเจียนอาจทำให้เข้าใจผิดว่าอาเจียนเป็นเลือดได้

จุฬาฯ เร่งให้ความรู้ “รับมือไข้เลือดออก”

ข่าวชิษณุ พันธุ์เจริญ+โรคไข้เลือดออกวันนี้

จุฬาฯ เร่งให้ความรู้ “รับมือไข้เลือดออก”

รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ อาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประชาชนเริ่มมีความวิตกกังวลและตื่นตระหนกกลัวกับโรคไข้เลือดออกที่แพร่ระบาดมากขึ้น แต่ในความจริงแล้ว แพทย์โดยเฉพาะกุมารแพทย์คนไทยมีความรู้ความเข้าใจในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกและการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างดี ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูง จนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ อัตราตายของผู้ป่วยได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันมีอัตราตายลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 0.5 ซึ่งหมายถึง ถ้ามีผู้ป่วยไข้

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เข้มเฝ้าระวังเตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก-ฝีดาษวานร-ไวรัสตับอักเสบ — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.) กทม. กล่า...

"วิว" กุลวุฒิ ชวนฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือด... "วิว" กุลวุฒิ ชวนฉีดวัคซีน ป้องกันตนเองและครอบครัว ให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก — "วิว" กุลวุฒิ ชวนฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก หลังคว้าแชมป์แบดมินตัน ชายเด...

โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โ... ภาพข่าว: โครงการจุฬาคิดส์คลับ จัดงาน World Pneumonia Day เนื่องในวันโรคปอดบวมโลก — โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นำโดย รศ.นพ...

ไฟเซอร์ จัดงานแถลงข่าว "วันปอดบวมโลก 2017"

บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมีการจัดงานแถลงข่าว "วันปอดบวมโลก 2017" ใน วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ลานอีเด็น ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีคุณเบนซ์ พรชิตา และคุณเสาวนีย์ ณ สงขลา มาร่วมพูดคุยถึง "โรคปอดบวม" กับ นพ...

ภาพข่าว: จุฬาคิดส์คลับ แนะป้องกัน 2 เชื้อร้าย 3 โรคอันตรายในเด็กเล็ก

โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดงานเสวนา “ต้อนรับลูกน้อยสู่โลกใบใหม่” ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส และเชื้อเอ็นทีเอชไอ ซึ่งเป็น 2 เชื้อร้าย ที่ก่อให้เกิด 3 โรคอันตรายในเด็กเล็ก ได้...

งานเสวนา “ต้อนรับลูกน้อยสู่โลกใบใหม่”

โครงการจุฬาคิดส์คลับ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ ภปร.8 ฝากครรภ์ ขอเชิญผู้ที่กำลังจะเป็นคุณแม่ ครอบครัวที่มีลูกเล็กที่อายุไม่เกิน 2 ปี และผู้สนใจทั่วไป ร่วมงานเสวนา “ต้อนรับลูกน้อยสู่โลกใบใหม่” พบกับวิธีการป้องกัน 2 เชื้อร้าย 3 โรคอันตรายในเด็ก...

ผ่านพ้นไปแล้วกับโครงการ “สื่อสารอย่างสร้างสรรค์...สร้างลูกน้อยเก่งสมวัย”

เมื่อวันเสาร์ที่ 4 กันยายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมมงคลนาวิน ตึก สก. ชั้น10 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ งานนี้ได้ทั้งรองศาสตราจารย์ นาวาอากาศโทนายแพทย์ชิษณุ พันธุ์เจริญ และนายแพทย์พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ มาถ่ายทอด “กลวิธีสื่อสารกับลูก” ...

นิตยสาร Modern Mom จัดกิจกรรมออร์ทัวร์หาดใหญ่

กิจกรรมที่สอดแทรกวิธีการดูแลลูกให้เติบโตอย่างมีคุณภาพในแบบ Be Easy Be Modern Mom ภายใต้คอนเซ็ปต์ ...เลื้ยงลูกไม่ใช่เรื่องยาก Modern Mom On Tour จ.สงขลา จัดสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อ "ลูกฉลาดล้ำ และสร้างภูมิคุมกันตั้งแต่ขวบปีแรก" รู้จักเคล็ดลับสร้างความฉลาด...