สมาคมจีเอสเอ็ม เผยรายงานความก้าวหน้าของสังคมดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย

รายงานฉบับใหม่เน้นย้ำบทบาทของเครือข่าย และการใช้กฎระเบียบ ที่ช่วยสร้างสังคมดิจิทัลซึ่งเชื่อมต่อผู้คนในภูมิภาคเอเชีย

          สมาคมจีเอสเอ็ม นำเสนอรายงานฉบับล่าสุดที่เน้นย้ำถึงบทบาทของการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างสังคมดิจิทัลทั่วเอเชีย และเรียกร้องผู้กำหนดนโยบายให้สนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลทั่วภูมิภาค โดยรายงานฉบับใหม่นี้จัดทำขึ้นภายใต้หัวข้อ "การพัฒนาความก้าวหน้าของสังคมดิจิทัลในเอเชีย" (Advancing Digital Societies in Asia) และนำออกเผยแพร่ในการประชุมนโยบายสังคมดิจิทัลประจำปี เครือข่ายสมาคมจีเอสเอ็มสังคมดิจิทัล6 โดยสมาคมจีเอสเอ็มและสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (GSMA-ITU Digital Societies Policy Forum เครือข่ายสมาคมจีเอสเอ็มสังคมดิจิทัล6) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อาทิ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ และพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันผลักดันเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถรองรับการพัฒนาของสังคมดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่อง

นายอลาสแดร์ แกรนท์ ผู้อำนวยการสมาคมจีเอสเอ็ม ประจำภูมิภาคเอเชีย
          นายอลาสแดร์ แกรนท์ ผู้อำนวยการสมาคมจีเอสเอ็ม ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า "นโยบายด้านดิจิทัลในเอเชียมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาของทั้งภูมิภาค เพราะเป็นพื้นฐานในการช่วยกำหนดและสนับสนุนการสร้างสังคมดิจิทัลของแต่ละประเทศในอนาคต อีกทั้งยังช่วยผลักดันเรื่องการสื่อสารข้ามพรมแดนที่สอดรับกันให้เป็นประเด็นระดับภูมิภาค การนำเสนอรายงานล่าสุดนี้จะช่วยให้สมาคมจีเอสเอ็มสามารถทำงานร่วมกับสมาชิกและหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อพัฒนาและดำเนินนโยบายด้านดิจิทัลที่สนับสนุนเป้าหมายในการพัฒนาของแต่ละประเทศ"
          เนื้อหาสำคัญที่มุ่งเน้นในรายงานฉบับใหม่นี้ คือความก้าวหน้าของการพัฒนาสังคมดิจิทัลใน 7 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ ออสเตรเลีย บังกลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ปากีสถาน สิงคโปร์ และไทย โดยแต่ละประเทศจะได้รับการประเมินในด้านต่างๆ เพื่อนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ระดับการเข้าถึงโครงข่ายเชื่อมต่อของประชาชน การพัฒนาพลเมืองให้พร้อมต่อระบบดิจิทัล และการพัฒนาระบบดิจิทัลที่รองรับวิถีชีวิต รวมทั้งความก้าวหน้าของดิจิทัลคอมเมิร์ซ โดยผลการวิเคราะห์ได้สะท้อนถึงความหลากหลายในภูมิภาคนี้ โดยสามารถแบ่งการพัฒนาดิจิทัลของประเทศในเอเชียเป็น การประชุม ประเภท ได้แก่
          สังคมดิจิทัลเกิดใหม่ ประเทศที่เป็นตัวอย่างของสังคมดังกล่าวในรายงานนี้ คือบังกลาเทศและปากีสถาน โดยการพัฒนาดิจิทัลในประเทศเหล่านี้จะมุ่งเน้นให้เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม โดยสิ่งสำคัญที่ประเทศเหล่านี้ดำเนินการเป็นลำดับแรก คือการจัดหาบริการที่จำเป็นต่างๆ ให้กับประชาชน เช่น บริการด้านสุขภาพ การศึกษา และบริการทางการเงิน
          สังคมดิจิทัลช่วงเปลี่ยนผ่าน ประเทศที่เป็นตัวอย่างของสังคมดังกล่าวในรายงานนี้ คือไทยและอินโดนีเซีย การพัฒนาดิจิทัลในประเทศเหล่านี้มุ่งเน้นเรื่องการปรับบริการตามความต้องการเฉพาะบุคคล เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนและสถาบันต่างๆ ประเทศเหล่านี้จะมีการขยายตัวของเมืองใหญ่อย่างรวดเร็ว จนเกิดปัญหาที่ต้องรับมือทั้งปัญหาสังคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และปัญหาสิ่งแวดล้อม
          สังคมดิจิทัลขั้นสูง ประเทศที่เป็นตัวอย่างของสังคมดังกล่าวในรายงานนี้คือออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตทั้งในแง่การเข้าถึงในวงกว้างและขีดความสามารถในการรองรับ ปัจจุบันประเทศเหล่านี้จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบเชื่อมต่อและการทำงานร่วมกันด้านเทคโนโลยีดิจิทัลระหว่างหลายภาคส่วน ประเทศเหล่านี้ยังถูกคำนึงถึงในฐานะผู้นำที่เป็นแบบอย่างของภูมิภาค ในด้านการสร้างมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติของสังคมดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ หรือ IoT

บทบาทของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการขับเคลื่อนสังคมดิจิทัลในเอเชีย
          สิ่งสำคัญอันดับแรกในการสร้างสังคมดิจิทัล คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มั่นคงและปรับขยายได้ในอนาคต โดยในภูมิภาคเอเชีย โทรศัพท์เคลื่อนที่ถือเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ประชากรส่วนใหญ่ใช้เชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงบริการดิจิทัลต่างๆ ดังนั้นจึงมีการสนับสนุนให้ภาครัฐกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตอย่างรวดเร็วของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงการจัดสรรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความเข้าใจในการใช้บริการให้กับประชาชน
          ปัจจุบันมีประชากรมากกว่า การประชุม พันล้านคนทั่วโลกที่เข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งมีส่วนส่งเสริมให้เศรษฐกิจดิจิทัลมีการเติบโตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีประชากรอีกราว 4 พันล้านคนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเครือข่ายและใช้บริการดิจิทัลต่างๆ ได้ โดยอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยรวมในเอเชียแปซิฟิกยังคงตามหลังค่าเฉลี่ยทั่วโลก เนื่องจากภูมิภาคนี้มีประชากรมากแต่กลับมีสัดส่วนการพัฒนาเครือข่ายที่ค่อนข้างต่ำ เห็นได้จากอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ ที่มีประชากรรวมกันกว่าสังคมดิจิทัล.6 พันล้านคน แต่มีสัดส่วนผู้ลงทะเบียนใช้งานจริง (unique subscriber) เพียง การประชุม6% ดังนั้นการทำให้ประชากรทั่วภูมิภาคสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จึงเป็นหนึ่งในความท้าทายหลักที่อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้กำหนดนโยบาย จะต้องแก้ไขและรับมือต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า
          ทั้งนี้ การประชุมนโยบายสังคมดิจิทัล จัดโดยสมาคมจีเอสเอ็ม มีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดอุปสรรคต่างๆ ที่มีต่อการลงทุนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงคลื่นความถี่ และสนับสนุนนโยบายด้านภาษีที่เหมาะสมต่ออุตสาหกรรม รวมทั้งดำเนินโครงการที่สร้างความตระหนักในบริการดิจิทัลต่างๆ ให้ประชาชนสามารถใช้งานได้ง่าย และเข้าถึงได้ผ่านหลากหลายช่องทางและหลายภาษา โดยในภูมิภาคเอเชียมี 6 ประเทศเข้าร่วมเพื่อสร้างสังคมดิจิทัล ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน และไทย
          ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงาน Advancing Digital Societies in Asia ของสมาคมจีเอสเอ็ม ได้ที่https://www.gsmaintelligence.com/research/?file=9f48dการประชุมเครือข่ายffสมาคมจีเอสเอ็ม67สังคมดิจิทัลfb7dbbcb4efb84eabcสมาคมจีเอสเอ็ม&download
สมาคมจีเอสเอ็ม เผยรายงานความก้าวหน้าของสังคมดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย
 

ข่าวสมาคมจีเอสเอ็ม+สังคมดิจิทัลวันนี้

ผลวิจัยของสมาคมจีเอสเอ็มเผยเทคโนโลยีมือถือ 5G กำลังเติบโตในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่รัฐบาลไทยผลักดันแผนพัฒนาสังคมดิจิทัลแห่งชาติเต็มรูปแบบ

มูลค่าการสื่อสารเคลื่อนที่ในเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าสูงถึง 1.3 ล้านล้านเหรียญ คิดเป็นร้อยละ 5.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งภูมิภาค งานวิจัยล่าสุดของ สมาคมจีเอสเอ็ม หรือ GSMA เผยรายงานล่าสุด "The Mobile Economy: Asia Pacific 2017" ชี้ตลาดในเอเชียกำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีมือถือ 5G เพื่อหวังนำมาใช้ในเขตชุมชนเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เนื่องด้วยกลุ่มผู้ให้บริการมือถือทั้งหลายต่างมองหาหนทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ และเสริมการทำงานของสัญญาณเคลื่อนที่บนแถบความถี่กว้าง หรือ บรอดแบนด์ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

รายงานฉบับใหม่เน้นย้ำบทบาทของเครือข่าย แล... สมาคมจีเอสเอ็ม เผยรายงานความก้าวหน้าของสังคมดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย — รายงานฉบับใหม่เน้นย้ำบทบาทของเครือข่าย และการใช้กฎระเบียบ ที่ช่วยสร้างสังคมดิจิทัลซึ่...

รายงาน GSMA เผย อินเทอร์เน็ตมือถือ 5G จ่อโต 10 เท่าในเอเชียแปซิฟิกภายในปี 2573 ก้าวเข้ายุคเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม ภูมิภาค APAC มีความเหลื่อมล้ำด้านการใช้งานมือถือมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เหตุบางประเทศยังเผชิญอุปสรรค สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) เผยแพร่รายงาน Mobile Economy APAC 2023 ในวันนี้...

เข้าร่วมระบบนิเวศดิจิทัลได้ที่งาน MWC SHANGHAI 2023 จัดโดยสมาคมจีเอสเอ็ม

บัตรผ่านเข้างาน MWC Shanghai สำหรับสื่อมวลชน เปิดให้ลงทะเบียนแล้ว สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) จะเป็นเจ้าภาพจัดงาน MWC Shanghai 2023 ระหว่างวันที่ 28 30 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการนานาชาติเซี่ยงไฮ้แห่งใหม่ (SNIEC) เราขอเชิญสื่อมวลชน...

ความก้าวหน้าล่าสุดของย่านความถี่ 6GHz ในอ... ย่านความถี่ 6GHz ที่มาแรงในอุตสาหกรรมการสื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล — ความก้าวหน้าล่าสุดของย่านความถี่ 6GHz ในอุตสาหกรรมการสื่อสารวิทยุและโทรคม...

สะท้อนให้เห็นว่า "5G เหมืองอัจฉริยะ" ที่ส... แซดทีอีและพันธมิตรร่วมคว้ารางวัล "5G เอเนอร์จี ชาลเลนจ์ อวอร์ด" จากสมาคมจีเอสเอ็ม — สะท้อนให้เห็นว่า "5G เหมืองอัจฉริยะ" ที่สร้างขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง...

สมาคมจีเอสเอ็มเปิดตัวรายงานฉบับใหม่ พบการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความเหลื่อมล้ำมากกว่าความครอบคลุมสัญญาณถึง 8 เท่า

ในปัจจุบัน พื้นที่กว่า 95% ของโลกมีเครือข่ายบรอดแบนด์เคลื่อนที่แล้ว อย่างไรก็ตาม กว่า 40% ของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้กลับต้องเผชิญกับอุปสรรคอื่น ๆ ที่ทำให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่...