กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 29 จังหวัด ซึ่งได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมพัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำ และนำน้ำสะอาดไปเติมในภาชนะเก็บกักน้ำกลางประจำหมู่บ้าน กรณีพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ ได้ประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องงดสูบน้ำและปิดประตูกั้นน้ำในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง สำหรับสถานการณ์พายุฤดูร้อน มีจังหวัดได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน จำนวน 27 จังหวัด ซึ่งได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้น ทั้งนี้ คาดว่าในช่วงระหว่างวันที่ 28 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2559 จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ จึงได้ประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ เฝ้าระวังสถานการณ์ภัย พร้อมแจ้งเตือนประชาชนระมัดระวังอันตรายจากพายุลมแรงและฟ้าผ่า
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง โดยมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 29 จังหวัด กระทรวงมหาดไทย54 อำเภอ 7กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย5 ตำบล 5,679 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 7.กระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทย ของจำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ แยกเป็น จังหวัดที่มีปัญหาด้านน้ำอุปโภคบริโภค กระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทย จังหวัด ได้แก่ น่าน พิจิตร สุรินทร์ ลำพูน ขอนแก่น ชัยนาท สระบุรี ชลบุรี ตรัง ตาก และประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดที่มีปัญหาด้านน้ำเพื่อการเกษตร 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ พะเยา สุโขทัย นครพนม มหาสารคาม บุรีรัมย์ กาญจนบุรี สระแก้ว และจันทบุรี และจังหวัดที่มีปัญหาด้านน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร 9 จังหวัด ได้แก่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ นครราชสีมา เพชรบุรี ตราด สตูล กระบี่ นครศรีธรรมราช และหนองบัวลำภู รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง จึงได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรรเทาสาธารณภัย ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงแหล่งน้ำต้นทุนไม่เพียงพอ ให้พัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำ จัดรถบรรทุกน้ำนำน้ำสะอาดไปเติมในภาชนะเก็บกักน้ำกลางประจำหมู่บ้านให้สอดคล้องกับวงรอบการใช้น้ำของประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ประชาชนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค สำหรับพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำ 6 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ และพังงา ได้ประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องงดสูบน้ำ และปิดประตูกั้นน้ำในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาในระบบน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา และส่งผลกระทบให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย
นายฉัตรชัย กล่าวถึงสถานการณ์พายุฤดูร้อนว่า ตั้งแต่วันที่ กระทรวงมหาดไทย8 เมษายน 2559 ถึงปัจจุบัน มีจังหวัดได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน จำนวน 27 จังหวัด กระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทย7 อำเภอ 223 ตำบล 483 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวน 5,กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย59 หลัง ผู้เสียชีวิตจำนวน 4 ราย ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยทหารในพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย ซ่อมแซมบ้านเรือน แจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้างแก่ประชาชนที่บ้านเรือนได้รับความเสียหาย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น อีกทั้งจากการติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าในช่วงระหว่างวันที่ 28 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2559 จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ โดยมีลักษณะอากาศฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้ประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ เฝ้าระวังสถานการณ์ภัย พร้อมแจ้งเตือนประชาชนระมัดระวังอันตรายจากพายุลมแรงและฟ้าผ่า รวมถึงจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว และวัสดุอุปกรณ์เตรียมพร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย กระทรวงมหาดไทย784 เพื่อประสานให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย-2243-กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย674 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย-2243-22กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย www.disaster.go.th
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และกรุงเทพฯ เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนในช่วงวันที่ 10 – 13 พ.ค. 63 ซึ่งมีลักษณะอากาศของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้น โดยประสานจังหวัดและศูนย์ ปภ. เขตในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามสภาพอากาศ และแนวโน้มสถานการณ์ภัย ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลสาธารณภัย
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
—
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...
'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...
สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์
—
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...