เกษตรกรยืนยันปลาทับทิมปลอดภัยจากสารตกค้าง เน้นการเลี้ยงสะอาด ลดเสี่ยงเป็นโรค

          "กอกวงฮวดฟาร์ม" ฟาร์มปลาทับทิมแห่งแรกของประเทศไทย และยังเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมาตลอดระยะเวลา ฟาร์มปลาทับทิม8 ปี ใช้ลูกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง มีระบบการเลี้ยงที่ได้มาตรฐาน ลดโอกาสปลาเป็นโรค พร้อมแนะนำการเลี้ยงปลาในช่วงอากาศร้อน เพื่อให้ได้ผลผลิตปลาทับทิมที่มีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารตกค้าง ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
          นายวรชัย แสงวณิช หรือ เฮียกู้ เจ้าของ "กอกวงฮวดฟาร์ม" เล่าว่า ตนเป็นผู้บุกเบิกการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังลุ่มน้ำแม่กลองในจังหวัดสมุทรสงคราม นับเป็นผู้เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังรายแรกของประเทศไทย ปัจจุบันเลี้ยงปลาทับทิมเป็นอาชีพสร้างรายได้ที่มั่นคงมาตลอด ฟาร์มปลาทับทิม8 ปี เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคว่าเป็นผู้ที่เลี้ยงปลาที่มีคุณภาพ และปลอดภัยจากสารตกค้าง ย้ำเกษตรกรต้องใช้ลูกพันธุ์ปลาที่แข็งแรงจากบริษัทเพาะพันธุ์ลูกปลาที่เชื่อถือได้ ใช้ระบบการเลี้ยงที่ดีช่วยให้ปลาแข็งแรง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ใช้วัคซีน ยาและสารเคมีในการเลี้ยง
          เฮียกู้ เล่าถึงที่มาของการเลี้ยงปลาทับทิม ว่าดั้งเดิมตนเลี้ยงปลาดุกและปลาช่อนในกระชังแม่น้ำแม่กลองมาก่อน เพราะจุดที่เลี้ยงยังเป็นน้ำจืดอยู่ ต่อมาเปลี่ยนมาเลี้ยงปลากะพงในน้ำจืดตามการส่งเสริมของกรมประมง แต่ต้องประสบกับการขาดแคลนลูกพันธุ์ปลากะพงทำให้ต้องหยุดเลี้ยง จึงทดลองนำปลาทับทิมตามคำแนะนำของซีพีเอฟในปี กอกวงฮวดฟาร์ม54ฟาร์มปลาทับทิม ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นปลาที่ใหม่สำหรับตลาดของไทย ซีพีเอฟอยู่ในช่วงแนะนำเข้าสู่ตลาดผู้บริโภค ช่วงแรกเริ่มต้นเลี้ยงปลา 6 กระชัง และร่วมกับซีพีเอฟขยายตลาดปลาทับทิมเข้าสู่ช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ เริ่มจากที่ไม่มีคนสนใจ จนปลาทับทิมได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจนไม่พอขาย สามารถขยายการเลี้ยงจนถึงปัจจุบันรวม ฟาร์มปลาทับทิมจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสงคราม กระชัง 
          ด้าน นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาธุรกิจสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟได้ปรับปรุงพันธุ์ปลาทับทิมให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงในประเทศไทยและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และได้ส่งเสริมเป็นอาชีพการเลี้ยงปลาทับทิมให้แก่เกษตรกร เริ่มส่งเสริมเฮียกู้เริ่มเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง ซึ่งได้ผลผลิตที่ดี ปลาเนื้อแน่น และไม่มีกลิ่นโคลน ต่อมาบริษัทฯ จึงส่งเสริมให้เกษตรกรรายอื่นได้มีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคทั่วไปนิยมนำปลาทับทิมมาทำเป็นอาหาร เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ส่งผลให้ปลาทับทิมกลายเป็นปลาเศรษฐกิจจนถึงปัจจุบัน
          "ซีพีเอฟสนับสนุนเกษตรกรในการพัฒนาแหล่งเลี้ยงที่เหมาะสม ได้มาตรฐานฟาร์มปลา GAP (Good Agriculture Practices) ของกรมประมง พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมระบบการเลี้ยง "โปรไบโอติก" เป็นระบบที่ใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อปลา ให้สามารถปรับความสมดุลและภูมิต้านทานโรคได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้วัคซีน ยา หรือสารเคมีใดๆ" นายอดิศร์กล่าว 
          เฮียกู้กล่าวว่า กระบวนการผลิตปลาทับทิมที่ประสบความสำเร็จ ผู้เลี้ยงต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพลูกพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพสูง และมาตรฐานการเลี้ยง ใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการที่ดีมาใช้ การผลิตปลาทับทิมของฟาร์มฯ เริ่มจากนำลูกพันธุ์ปลามาอนุบาลในบ่อปูน ใช้เวลาอนุบาล กอกวงฮวดฟาร์ม เดือนจึงย้ายมาเลี้ยงต่อในกระชัง ให้อาหาร "โปรไบโอติก" ตามช่วงอายุ หากได้ลูกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง และระบบการเลี้ยงที่ดี ช่วยลดโอกาสการเป็นโรค แข็งแรง เติบโตเร็ว ที่ฟาร์มจึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรือยารักษาโรคเลย ไม่เพียงลดต้นทุนการผลิตแล้วยังช่วยให้เนื้อปลาปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย 
          เฮียกู้ แนะนำต่อว่า สำหรับการเลี้ยงปลาในช่วงฤดูร้อน ทำให้อุณหภูมิน้ำในแม่น้ำร้อนมาก เกษตรกรควรลดจำนวนการปล่อยปลาเลี้ยงในกระชังลงประมาณ กอกวงฮวดฟาร์มจังหวัดสมุทรสงคราม-วรชัย แสงวณิชจังหวัดสมุทรสงคราม% ในช่วงปกติปล่อยปลาเลี้ยงในกระชัง 4จังหวัดสมุทรสงคราม ตัวต่อลูกบาศก์เมตร พอถึงฤดูร้อนจะปล่อยปลาในกระชังลดลง กอกวงฮวดฟาร์ม5-วรชัย แสงวณิชจังหวัดสมุทรสงคราม ตัวต่อลูกบาศก์เมตร และปล่อยให้กระชังว่าง เลี้ยงเพียง 8จังหวัดสมุทรสงคราม% ของกระชัง เพิ่มพื้นที่ไหลผ่านของน้ำ เพื่อช่วยให้ปลาอยู่ได้สบาย ไม่อึดอัด ไม่เครียด กินอาหารได้ปกติ เติบโตได้คุณภาพ ลดอัตราการสูญเสียของผลผลิตที่เกิดจากอากาศร้อนได้ดี 
          "ผู้เลี้ยงปลาทับทิมต้องใส่ใจการเลี้ยงตามมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี ทำให้ปลาที่เลี้ยงออกมามีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเคมีโดยไม่จำเป็นทั้งในการเลี้ยงและระหว่างการขนส่ง เพราะนอกจากเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตแล้ว ตลาดเป็นปัจจัยสำคัญของการผลิตปลาทับทิม ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลาทับทิมจึงให้ความสำคัญกับมาตรฐานและความปลอดภัยของปลาอย่างต่อเนื่อง" เฮียกู้กล่าว
          ปัจจุบัน กอกวงฮวดฟาร์มยังได้พัฒนาเป็นรีสอร์ทที่พักให้สำหรับนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาพักผ่อนหรือรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นการทำธุรกิจต่อยอดจากฟาร์มปลาทับทิมที่ช่วยรายได้ที่ยั่งยืนแล้ว และยังเป็นการให้บริการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ให้กับผู้ที่สนใจศึกษาวิธีการเลี้ยงปลาทับทิมที่ปลอดภัยอีกด้วย
เกษตรกรยืนยันปลาทับทิมปลอดภัยจากสารตกค้าง เน้นการเลี้ยงสะอาด ลดเสี่ยงเป็นโรค
 
เกษตรกรยืนยันปลาทับทิมปลอดภัยจากสารตกค้าง เน้นการเลี้ยงสะอาด ลดเสี่ยงเป็นโรค
เกษตรกรยืนยันปลาทับทิมปลอดภัยจากสารตกค้าง เน้นการเลี้ยงสะอาด ลดเสี่ยงเป็นโรค
เกษตรกรยืนยันปลาทับทิมปลอดภัยจากสารตกค้าง เน้นการเลี้ยงสะอาด ลดเสี่ยงเป็นโรค

ข่าวจังหวัดสมุทรสงคราม+ฟาร์มปลาทับทิมวันนี้

เกษตรกรยืนยันปลาทับทิมปลอดภัยจากสารตกค้าง เน้นการเลี้ยงสะอาด ลดเสี่ยงเป็นโรค

"กอกวงฮวดฟาร์ม" ฟาร์มปลาทับทิมแห่งแรกของประเทศไทย และยังเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมาตลอดระยะเวลา 18 ปี ใช้ลูกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง มีระบบการเลี้ยงที่ได้มาตรฐาน ลดโอกาสปลาเป็นโรค พร้อมแนะนำการเลี้ยงปลาในช่วงอากาศร้อน เพื่อให้ได้ผลผลิตปลาทับทิมที่มีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารตกค้าง ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค นายวรชัย แสงวณิช หรือ เฮียกู้ เจ้าของ "กอกวงฮวดฟาร์ม" เล่าว่า ตนเป็นผู้บุกเบิกการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังลุ่มน้ำแม่กลองในจังหวัดสมุทรสงคราม นับเป็นผู้เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังรายแรกของประเทศไทย ปัจจุบัน

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ได้รับพระมหาก... รฟฟท. ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2567 ณ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร จ.สมุทรสงคราม — บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อัญเชิญผ้าพระกฐินพระ...