- รายงานล่าสุดเน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับปรุงการจัดการประชากรทูน่าให้ดีขึ้น
The Pew Charitable Trusts เผยแพร่รายงานล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่า เรือประมงจับปลาทูน่าในจำนวนที่สามารถสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจโลกมากกว่า 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี
รายงานชื่อ Netting Billions: A Global Valuation of Tuna ได้ประมาณการมูลค่าของอุตสาหกรรมการประมงพาณิชย์พื้นฐานทั่วโลก โดยเน้นไปที่ปลาทูน่า 7 สายพันธุ์ที่มีความสำคัญที่สุดในเชิงพาณิชย์ ระหว่างปี 2555-2557 จากการวิเคราะห์พบว่า ชาวประมงมีรายได้ตั้งแต่ 1.0 - 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี ขณะที่มูลค่าทั้งหมด ซึ่งรวมถึงจำนวนเงินที่จ่ายโดยผู้บริโภคในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารต่างๆทั่วโลก อยู่ที่อย่างน้อย 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ในปี 2557
"เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าการจับปลาทูน่านั้นเป็นธุรกิจใหญ่" อะแมนดา นิคสัน ผู้อำนวยการฝ่ายการอนุรักษ์ทูน่าของ Pew กล่าว "นี่ถือเป็นครั้งแรกที่เราสามารถระบุมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งที่เราได้จากการต่อสู้เพื่อการอนุรักษ์และจัดการปลาสายพันธุ์สำคัญทั้งในเชิงพาณิชย์และระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
"ข้อมูลทั้งหมดบ่งชี้ว่า มูลค่าของปลาทูน่านั้นสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอย่างน้อย 108 ประเทศ" นิคสันกล่าวเสริม "ปลาทูน่าเป็นสินทรัพย์ที่ทุกรัฐบาลควรพยายามทุกทางเพื่อปกป้อง เนื่องจากเป็นปลาที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศแถบชายฝั่ง ซึ่งเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์"
นอกจากนี้ บทวิเคราะห์ยังได้เปิดเผยข้อมูลตามภูมิภาคมหาสมุทร สายพันธุ์ และเครื่องมือที่ใช้สำหรับจับปลาทูน่า ซึ่งข้อมูลระบุว่า การจับปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกมีมูลค่าสูงที่สุด ประมาณ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2557
สำหรับมูลค่าโดยประมาณจากการวิเคราะห์ตามสายพันธุ์ พบว่าทูน่าพันธุ์ท้องแถบ (skipjack tuna) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมนำมาใช้ทำปลาประป๋องมากที่สุด มีมูลค่าสูงกว่าปลาทูน่าครีบน้ำเงิน (bluefin) ทุกสายพันธุ์ แต่นั่นเป็นเพราะปริมาณของทูน่าพันธุ์ท้องแถบที่มีการจับได้ในแต่ละปี หากพิจารณามูลค่าจากพันธุ์ปลาเพียงอย่างเดียว พบว่าพันธุ์ครีบน้ำเงินมีมูลค่าสูงที่สุด โดยทูน่าครีบน้ำเงินทุกสายพันธุ์สร้างรายได้รวมอย่างน้อย 2-2.5 พันล้านดอลลาร์ต่อปีในตลาดทั่วโลก
รายงานของ Pew สรุปว่า มูลค่าของปลาทูน่าในคลังสินค้าทั่วโลกสามารถเพิ่มสูงขึ้นได้ หากผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลการประมงใช้แนวทางที่ครอบคลุมและระมัดระวังเพื่อการจัดการประชากรปลาเหล่านี้ ซึ่งบางสายพันธุ์ถูกจับมากเกินขอบเขต โดยนักวิทยาศาสตร์ได้สรุปว่า ประชากรปลาทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิกลดลง 97.4% จากระดับที่ไม่มีการจับปลาในอดีต ขณะที่จำนวนทูน่าพันธุ์ตาโตในแปซิฟิกกลางและตะวันตกปรับตัวลดลง 84%
"ฝ่ายบริหารมักพิจารณามูลค่าทางเศรษฐกิจระยะสั้นประกอบการตัดสินใจ แต่อันที่จริงแล้ว การจัดการอย่างมีความรับผิดชอบและคำนึงถึงอนาคตสามารถสร้างมูลค่าได้สูงกว่ามาก" นิคสันกล่าว "รัฐบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องขจัดอุปสรรคที่กีดขวางกระบวนการอันจะนำไปสู่การจำกัดขอบเขตการจับปลาตามหลักวิทยาศาสตร์และการใช้เครื่องมือการจัดการที่ทันสมัย
"ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนชายฝั่งจำนวนมากซึ่งเป็นที่อยู่ของประชาชนหลายล้านคนนั้นต้องพึ่งพาปัจจัยดังกล่าว" นิคสันเผย
การประมาณการมูลค่าของอุตสาหกรรมปลาทูน่าในรายงานฉบับนี้ไม่รวมผลประโยชน์ที่สามารถจับต้องได้น้อยกว่า อาทิ มูลค่าของการอนุรักษ์ระบบนิเวศมหาสมุทร หรือรายได้จากกิจกรรมสันทนาการและการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดนี้อาจช่วยเพิ่มมูลค่ารวมของทูน่าสายพันธุ์เหล่านี้ได้เป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ รายงานได้สรุปการวิเคราะห์ที่ Pew ได้รับมอบหมายจาก Poseidon Aquatic Resource Management Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาที่มีสำนักงานอยู่ในสหราชอาณาจักร
The Pew Charitable Trusts ขับเคลื่อนโดยพลังแห่งความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ท้าท้ายมากที่สุดในปัจจุบัน ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pewtrusts.org
Mike Crispino, +1 202-540-6380, [email protected]
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) ของประเทศไทยในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคประมง ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยในพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และชาวประมง ตลอดจนผู้ประกอบการประมง ทั้งห่วงโซ่การผลิต ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบกับที่ผ่านมากรมประมงมีการบริหารจัดการประมงภายใต้ปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่อย่างยั่งยืน โดยการกำหนดวันทำการประมง ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถนำสัตว์น้ำจากเรือที่ไม่ประสง
กรมประมง...คลอด ! “คู่มือชาวประมงพาณิชย์” ที่ชาวประมงควรรู้
—
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้สั่งก...
รองฯ วิชาญ ลงพื้นที่จ.ระยอง เตรียมความพร้อม จนท.ประมงรักษามาตรฐานการตรวจเครื่องมือประมง 22 ชนิด เพื่อออกใบอนุญาตทำประมงพาณิชย์รอบปี 63-64
—
ณ ศูนย์วิจัยแล...
5 – 29 ก.พ. 2563 กรมประมงเปิดขอใบอนุญาตทำประมง เตือนเรือประมงพาณิชย์รักษาสิทธิ ยื่นเรื่องก่อนขึ้นรอบการทำประมงใหม่ (2563 - 2564)
—
กรมประมงแจ้งผู้ประสงค์ท...
CAT ดำเนินการพัฒนาระบบติดตามเรือประมง ควบคู่กับระบบติดต่อสื่อสารกับภายนอก เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมประมงไทย
—
หลังจากศูนย์บัญชาการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ได้...