ผู้ประกอบการภาคเหนือ ตอบรับ SMEs Turn Around

29 Mar 2016
"ปลุกพลัง SMEs พลิกวิกฤต สร้างโอกาสสู่ความสำเร็จ" ภายใต้โครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs สสว.ดำเนินการเปิดตัวโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ธนาคารเอสเอ็มอี และภาคีเอกชน เร่งช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) กลุ่ม Turn Around 10,000 กิจการ เดินทางไปทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ ถึงคิวกลุ่มผู้ประกอบการภาคเหนือ เข้าร่วมโครงการ ณ ห้อง 9 ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิวจังหวัดเชียงใหม่
ผู้ประกอบการภาคเหนือ ตอบรับ SMEs Turn Around

รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ตามที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมหาวิทยาลัยนำองค์ความรู้ที่ช่วยพัฒนาและส่งเสริม โดยกลุ่ม SMEs Turn Around กลุ่มที่ได้ดำเนินกิจการอยู่แล้วและประสบปัญหา โดยทำการคัดเลือกจำนวน 10,000 ราย จากทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยให้ความรู้ผู้ประกอบการ ให้คำปรึกษากับสถานประกอบการ จากการเดินทางไปตามภูมิภาค ปัญหาภาพรวมของผู้ประกอบการที่ผ่านการวินิจฉัยเบื้องต้น จากผู้ประกอบการ 490 ราย ปัญหาสินค้าและบริการ27 % การตลาด 27 % การจัดการ 21 % การเงิน 15 % บุคลากร 10 % โดยปัญหาที่พบในประเด็นต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ เช่น ปัญหาแผนธุรกิจ หรือแผนการขาย หรือแผนการจัดการ 322 ราย ปัญหาการพัฒนาช่องทางการขยายหรือให้บริการ 236 ราย ปัญหายอดขาย 210 ราย ปัญหาจำนวนลูกค้าของกิจกการช่วง 1 ปี 184 ราย ปัญหาผลการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน 125 ราย ปัญหาการบริหารจัดการสต๊อกสินค้า (สำหรับธุรกิจขายสินค้า) 106 ราย ปัญหาการได้รับใบอนุญาตในการดำเนินกิจการามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ 102ราย ปัญหาการค้างชำระหนี้ 101 ราย ปัญหาผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือยอดขายจากการลาออกของพนักงาน 65 ราย ปัญหาในช่วง 3 เดือนสัดส่วนจำนวนการคืนสินค้าเทียบเท่าจำนวนขาย 50 ราย ซึ่งเป็นปัญหาที่ผ่านวินิจฉัย หาแนวทางแก้ไข เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ แขนงต่าง ๆ รองรับ ทั้ง 10 คณะ 1 วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังมีโครงการที่จะการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ จากวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นการยกระดับและสถานะความสามารถในการแข่งขัน มหาวิทยาลัยจะมีส่วนเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ หาช่องทางการจัดจำหน่าย ยกระดับสินค้า ให้สามารถจำหน่ายในช่องที่มีกำลังซื้อสูง ในขณะนี้ทางมหาวิทยาลัย ได้เปิดห้องปฏิบัติการ ใช้เป็นศูนย์ทดสอบเทียบมาตรฐาน จัดทำมาตรฐานการรับรองอาชีพ ทำการตลาดออนไลน์ ช่องทางในการจำหน่าย ให้สำหรับผู้ประกอบ องค์ความรู้ทางด้านสารสนเทศ จัดตั้ง Excellent Center ศูนย์บริการ SMEs ไว้ที่คณะบริหารธุรกิจเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นายสมยศ อักษรารัตนานนท์ เจ้าของธุรกิจร้านยศญา จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า ขายเสื้อยืดคอกลม สกรีนด้วยยางพารา ที่ตลาดไนท์บาร์ซ่า ธุรกิจดำเนินมา 8 ปี ลักษณะเด่นของสินค้า เอกลักษณ์ลายไทยที่สกรีนลงไปบนเสื้อยืด แต่ปัจจุบันยอดขายตกลงกว่า 50% ด้วยสาเหตุของนักท่องเที่ยวที่ลดลง บวกกับมีคู่แข่งมากขึ้น เมื่อทราบข่าวจึงสนใจโครงการนี้ เนื่องจากอยากมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี อยากมีเครื่องมือที่ทันสมัยในการผลิตเสื้อ และที่ต้องการมากที่สุด คือ ความรู้ทางด้านสี สีที่นำมาสกรีนเสื้อ แหล่งกระจายสินค้า ระบายสินค้า และความรู้ ในการทำตลาดออนไลน์ ถ้ามีตลาดรองรับจะเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ

นางจารุวรรณ แสงปรีดานนท์ เจ้าของธุรกิจไข่เค็มกะทิป้าต้อย เจ้าแรกในจังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า สำหรับไข่เค็มกะทิแตกต่างจากเจ้าอื่น เนื่องจากไข่ขาวจะนุ่มลักษณะเหมือนไข่ต้ม โดยไข่เค็มกะทิของตนเอง สามารถนำไปประกอบอาหารได้มากมาย ไม่ว่าจะนำไปต้ม ไปทอดดาว หรืออาจจะนำไปทำขนมบัวลอย ปัญหาที่เจอคือยอดขายลดลง ขาดเงินทุนในการหมุนเวียนสินค้า ไข่เค็มเป็นสินค้าขึ้นห้าง สนใจเข้าร่วมโครงการนี้ "อยากต่อยอดธุรกิจ ให้รุ่นลูก ถ้าเราสามารถวางรากฐานที่ดี ลูกจะนำไปยอดได้" รวมไปถึงอยากได้ความรู้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพราะว่าในการเคลื่อนย้ายสินค้าถ้าไม่ระมัดระวังจะเกิดความเสียหาย

นางพิมพ์กณิศ กุลพักตรพงษ์ เจ้าของธุรกิจวัสดุแพทย์ หจก.DD POwer จังหวัด เล่าว่า กว่า 10 ปีในการดำเนินธุรกิจวัสดุการแพทย์ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่คือโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่มีห้องผ่าตัด โดยปัจจุบันธุรกิจเจอปัญหาจุดเปลี่ยน คู่แข่งเยอะ ตนเองคิดว่าควรถึงจุดที่ต้องปรับต้องเปลี่ยน SMEs "ลูกค้าลดลง ยอดขายลดลง" วันนี้ทางที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าให้มากขึ้น มาวันนี้เหมือนได้พบหมอ "ซึ่งธุรกิจของตนเองกำลังป่วย ซึ่งถือว่ามาถูกที่ ถูกเวลา และตรงจุด"

ว่าที่ ร.ต. พชร อินต๊ะปัน เจ้าของธุรกิจร้านแจ่มจันทร์แหนมเนือง อาหารเวียดนาม จังหวัดลำพูน เล่าว่า ตนเองเป็นธุรกิจรุ่นใหม่ ยังไม่มีประการณ์เท่าที่ควร จึงสนใจเข้าร่วมโครงการนี้ ต้องการพัฒนาธุรกิจของตนเองให้เป็นที่รู้จักของตลาด ธุรกิจของตนเองยังเป็นธุรกิจภายในครอบครัว ยังขาดแรงงานและเงินทุน เข้ามาปรึกษาทางด้านแรงงานและเงินทุน กว่า 5 ปี ที่ได้เปิดร้านแหนมเนือง ตอนนี้ได้ทำการค้าขายผ่าน facebook โดยมีคนสั่งทางไปรษณีย์ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ยังไม่ได้มาตรฐาน โดยอยากมีโลโก้สินค้าแหนมเนืองเป็นของตนเอง เพื่อให้แบรน์เป็นที่จดจำ จึงอยากให้ทางโครงการเข้ามาดูแลทางด้านนี้ด้วย "ผมเป็น SMEs รุ่นใหม่ ยังขาดความรู้การสื่อสารทางการตลาดที่ชัดเจน โครงการนี้ตอบโจทย์ให้ผมได้"

นางอัจฉรียา ขันแก้ว และ นางสิริวัฒนา มงคลปัญญากุล เจ้าของร้าน Big Smile ธุรกิจขายเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อทราบข่าวว่ามีโครงการดังกล่าวสนใจเข้าร่วม ซึ่งเป็นโครงการฟรี เพราะว่า อยากได้องค์ความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้ในธุรกิจของตนเอง ในอนาคต โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวจีนกว่า 80% "อยากให้ธุรกิจมีการเคลื่อนไหว ต้องมีการวางแผนธุรกิจ" โดยตนเองยังขาดความรู้ในเรื่องของการวางแผนธุรกิจ การที่มีผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาจะทำให้มีเป้าหมายและแนวทาง เมื่อมาเข้าร่วมโครงการนี้ได้เจอเพื่อนๆ เครือข่าย SMEs ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

โครงการสัมมนา "ปลุกพลัง SMEs พลิกวิกฤต สร้างโอกาสสู่ความสำเร็จ" ภายใต้โครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs เป็นพลังขับเคลื่อนผู้ประกอบการ SMEs Turn Around ที่ยังคงมีพลังในการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาชาติ

ผู้ประกอบการภาคเหนือ ตอบรับ SMEs Turn Around