กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรปฏิบัติเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง โดยไม่ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ใช้ความเร็วในการขับรถให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และลดความเร็วให้ต่ำกว่าปกติเมื่อขับรถผ่านเส้นทางเสี่ยงอุบัติเหตุ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งช่วงก่อนและขณะขับรถ รวมถึงไม่ฝืนขับรถเมื่อมีอาการง่วงนอน พร้อมจอดพักรถเป็นระยะทุกๆ กระทรวงมหาดไทย ชั่วโมง หรือทุกระยะทาง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์5กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - กระทรวงมหาดไทยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กิโลเมตร ตลอดจนใช้อุปกรณ์นิรภัยทุกครั้งขณะขับขี่และโดยสารรถ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. กระทรวงมหาดไทย559 พบว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่มีสาเหตุหลักจากพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ ทั้งการขับรถเร็ว การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การง่วงหลับใน และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในลักษณะรุนแรง เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง ดังนี้ ไม่ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ปฏิบัติตามป้ายจำกัดความเร็วบนเส้นทางอย่างเคร่งครัดใช้ความเร็วในการขับรถให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งสภาพเส้นทาง สภาพอากาศ ปริมาณการจราจร และทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทาง เพื่อให้สามารถหยุดรถได้ทันเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ลดความเร็วให้ต่ำกว่าปกติเมื่อขับรถผ่านเส้นทางเสี่ยงอุบัติเหตุ อาทิ เขตชุมชน บริเวณโรงเรียน ทางโค้ง ทางลาดชัน ถนนที่อยู่ระหว่างการซ่อมแซม รวมถึงใช้ความเร็วให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมรถได้เมื่อขับผ่านเส้นทางที่ทัศนวิสัยไม่ดี โดยใช้ความเร็วให้สัมพันธ์กับระยะในการมองเห็นเส้นทางและระยะทางที่ไฟหน้าส่องถึง ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งช่วงก่อนและขณะขับรถ เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการขับรถลดลง และไม่สามารถแก้ไขเหตุฉุกเฉินได้ทันท่วงที หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามขับรถโดยเด็ดขาด ควรให้เพื่อนที่ไม่ดื่มขับรถแทน ใช้บริการรถแท็กซี่หรือรถโดยสารสาธารณะ กรณีไม่มีเพื่อนร่วมทาง ควรรอจนสร่างเมา จึงค่อยขับรถไปต่อ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน โดยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท ทั้งช่วงก่อนและขณะขับรถ ไม่ขับรถติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหยุดพักรถทุกๆ กระทรวงมหาดไทย ชั่วโมง หรือทุกระยะทาง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์5กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย – กระทรวงมหาดไทยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กิโลเมตร รวมถึงควรมีเพื่อนร่วมทางผลัดเปลี่ยนกันขับรถ จะช่วยป้องกันอาการหลับในขณะขับรถ ไม่ฝืนขับรถเมื่อมีอาการง่วงนอน ควรจอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย เพื่อปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ล้างหน้า ดื่มกาแฟ พักหลับประมาณ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์5 – กระทรวงมหาดไทยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นาที จะช่วยคลายความอ่อนล้าที่เป็นสาเหตุของการหลับในได้ ตลอดจนใช้อุปกรณ์นิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่และโดยสารรถ โดยคาดเข็มขัดนิรภัยแนบชิดลำตัว พาดผ่านสะโพกและหัวไหล่ พร้อมปรับระดับความตึงให้กระชับ สายไม่พลิกและบิดงอ จะช่วยให้เข็มขัดนิรภัยทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และป้องกันการกระตุกอย่างแรงเมื่อประสบอุบัติเหตุ เลือกใช้หมวกนิรภัยแบบเต็มใบที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สวมหมวกนิรภัยในลักษณะตรง ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง คาดสายรัดคาง และปรับความตึง ให้กระชับใต้คาง สายไม่บิดหรือหย่อน รวมถึงกระชับเพียงพอที่หมวกนิรภัยจะไม่หลุดออกจากศีรษะเมื่อประสบอุบัติเหตุ เลือกใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กให้เหมาะสมกับวัย รูปร่าง น้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก โดยใช้เข็มขัดนิรภัยยึดที่นั่งนิรภัยไว้บริเวณกึ่งกลางของเบาะด้านหลังรถอย่างแน่นหนา คาดสายรัดที่นั่งนิรภัยให้กระชับลำตัวเด็ก ทั้งนี้ ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ไม่ขับแซงรถคันอื่นในระยะกระชั้นชิด ไม่เปลี่ยนช่องทางเดินรถกะทันหัน ไม่ขับรถย้อนศร ไม่ขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจร ตลอดจนมีน้ำใจต่อผู้ร่วมใช้เส้นทาง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย-กระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทย43-กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย674 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย-กระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทย43-กระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย www.disaster.go.th
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะผู้ใช้รถใช้ถนนเตรียมสภาพร่างกายและตรวจสอบสภาพรถให้พร้อมเดินทางในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ โดยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท และไม่ควรขับรถติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยหยุดพักรถเป็นระยะทุก 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการง่วงหลับใน หมั่นสังเกตการณ์ทำงานของอุปกรณ์ประจำรถ หากมีอาการผิดปกติ ให้นำรถไปตรวจสอบสภาพและซ่อมแซมก่อนนำไปใช้งาน จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางและลดความ
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
—
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...
'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...
สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์
—
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...
กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
—
นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...
กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด
—
นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...
มท.1 มอบโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน ตามโครงการ "มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน" ในพื้นจังหวัดกาญจนบุรี
—
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ...
ธนชาตประกันภัย ห่วงความปลอดภัยนักดื่ม ด้วยบริการ "U Drink I Drive" สิทธิพิเศษให้ลูกค้า เมาไม่ขับ ส่งคนไปรับ-ขับพากลับบ้าน
—
ธนชาตประกันภัย ตอกย้ำบทบาทภาคี...