วันนี้ (๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘) ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา แถลงข่าวเรื่อง "การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐" ว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จะจัดการประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง "แนวทางการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐" ระหว่างวันที่ ๓๐ ตุลาคม - ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ที่โรงแรมไมด้า ทวารวดี แกรนด์ จังหวัดนครปฐม เพื่อนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมาใช้เป็น ข้อมูลประกอบการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ต่อไป โดยได้พัฒนาจากแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๙) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ประชากร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
"สกศ. ได้วางเป้าหมายสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่คือ สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษา ที่รับผิดชอบต่อผู้เรียนด้วยคุณภาพและมาตรฐาน โดยทุกภาคส่วนของสังคมที่มีศักยภาพและความพร้อม สามารถเข้ามาจัดการศึกษาภายใต้กติกาที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ สำหรับผู้เรียนที่มีศักยภาพและความสามารถ ในการเรียน สามารถเข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองได้ ส่วนผู้เรียน ที่มีศักยภาพและความสามารถแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รัฐควรให้ความช่วยเหลือผ่านเงินทุนให้เปล่า" ดร.กมล กล่าว
ทั้งนี้ สกศ. จะได้เร่งศึกษา วิเคราะห์ และสังคราะห์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและปัญหาอุปสรรค ด้านการศึกษา รวมทั้งข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาของฝ่ายต่าง ๆ เช่น สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือซูเปอร์บอร์ด ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยจะเร่งนำเสนอร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ ๑๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔) ต่อที่ประชุมสภาการศึกษา และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามลำดับต่อไป
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวด้วยว่า สกศ. ได้ร่วมมือกับองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เพื่อศึกษาแนวทางและจัดทำข้อเสนอนโยบายด้านการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศไทย ได้ข้อสรุปใน ๔ แนวทางสำคัญ ประกอบด้วย ๑) การปรับเปลี่ยนหลักสูตร โดยควรออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนบนพื้นฐานของความเข้าใจ ชัดเจน ตรงกับการเรียนรู้ มีความสอดคล้องต่อเนื่อง และชี้ชัดหลักการ สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับสากลและ มีคำแนะนำที่ชัดเจนกับครูสอน อีกทั้งการจัดทำหลักสูตรควรอยู่บนพื้นฐานของการรับฟังข้อแนะนำจาก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหลากหลาย และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๒) การประเมินผลระดับโรงเรียน เป็นหัวใจสำคัญของการประเมินผลการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งการประเมินผลย่อยเพื่อการพัฒนา และการประเมินผลมาตรฐานระดับชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และควรมีการศึกษาการทดสอบมาตรฐานระดับสากล เช่น PISA หรือ TIMSS เพื่อนำมาพัฒนาการประเมินผลมาตรฐานระดับชาติให้เป็นสากลและสะท้อนผลสัมฤทธิ์ที่แท้จริงของนักเรียน ๓) ควรจัดทำยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมครูก่อนเข้าสู่วิชาชีพ การพัฒนาศักยภาพครู ระบบการสรรหาครู หลักสูตรการผลิตรครู ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู และการประเมินครู โดยควรส่งเสริมให้ครูมีเวลาปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนเพิ่มขึ้น ลดภาระงานด้านอื่น ๆ ด้านธุรการให้น้อยลง และได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียนที่มีภาวะเป็นผู้นำมืออาชีพ
และ ๔) ควรจัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เสถียร และสามารถเชื่อมโยงกับสื่อการจัด การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ครูผู้สอนควรได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัด การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
"คณะผู้เชี่ยวชาญคาดหวังว่าผลการศึกษาครั้งนี้จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาระหว่างรัฐบาลในปัจจุบันและอนาคต ผู้มีส่วนได้เสียในการพัฒนาการศึกษาทั้ง ๔ ด้านดังกล่าว เพื่อสร้างเป็นหลักประกันการเรียนรู้ของเยาวชนให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด" ดร.กมล ระบุ
นอกจากนี้ เลขาธิการสภาการศึกษา ยังเตรียมจัดการประชุม OEC Forum โดย สกศ. จะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ มาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นสำคัญด้านการศึกษา การประชุมนัดแรกได้รับเกียรติจาก นายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตอบรับ คำเชิญมาเป็นวิทยากรอภิปราย เรื่อง "มองไปข้างหน้าอย่างท้าทาย : บทบาทผู้นำการปฏิรูปการศึกษา ของสภาการศึกษา" จะจัดขึ้นวันที่ ๑๗ พฤศจิกายนนี้ ที่ สกศ. และจะได้จัดประชุม OEC Forum นัดต่อไป ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๕๙ และขอเรียนเชิญนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประชาชนทั่วไป ตลอดจนสื่อมวลชน เข้าร่วมงานประชุม OEC Forum ได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถติดตามข่าวความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้ทางเว็บไซต์ www.onec.go.th หรือโทรศัพท์ ๐-๒๖๖๘-๗๑๑๐-๒๔
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศและธรรมาภิบาล ข้อมูลเด็กปฐมวัย พร้อมด้วย นายธฤติ ประสานสอน รองเลขาธิการสภาการศึกษา นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์ ผู้อำนวยการสำนัก ส่งเสริมสุขภาพ นางพัชราพรรณ กฤษฎาจินดารุ่ง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย เข้าร่วม ประชุม ณ ห้องสิปปนนท์ เกตุทัต สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบ ฐานข้อมูลสารสนเทศและธรรมาภิบาลข้อมูล
ไทยพีบีเอส จับมือภาคีฯ จัดยิ่งใหญ่! FutureEd Fest 2024 เทศกาลการศึกษาสร้างอนาคตการเรียนรู้เยาวชนไทย
—
ไทยพีบีเอส จับมือภาคีเครือข่าย จัดงานเทศกาลการศึกษา ...
นักเศรษฐศาสตร์โนเบล ชี้ "เด็กปฐมวัย" คือช่วงเวลา 'สมองทอง' ในการบ่มเพาะทักษะเรียนรู้และวางรากฐานการพัฒนา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้
—
กสศ. เร่งผสานคว...
โลจิสติกส์ฯ ม.ศรีปทุม เปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้น "Cold Chain" หวังผู้เข้าอบรม เรียนรู้การเป็นนักจัดการโลจิสติกส์มืออาชีพ
—
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเขน ม...
สอศ. ศึกษาค่าใช้จ่ายรายหัว รับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
—
ดร.อรรถพล สังขวาสี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกา...
ภาพข่าว: BWG ลงนามบันทึกข้อตกลงพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษา
—
บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ BWG นำโดย คุณจารุวรรณ โพธิ์แจ้ง (กลาง) กรรมการบร...
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านพร้อมยกระดับครูอาชีวศึกษา รับภาคธุรกิจก่อสร้างยุค 4.0-ตอบโจทย์การอยู่อาศัยของคนยุคใหม่
—
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านพร้อมร่วมมือสำนักงา...
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านพร้อมยกระดับครูอาชีวศึกษา รับภาคธุรกิจก่อสร้างยุค 4.0-ตอบโจทย์การอยู่อาศัยของคนยุคใหม่
—
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านพร้อมร่วมมือสำนักงา...
สกศ. เปิดฉากขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ พื้นที่แรก ชลบุรี
—
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ โรงแรมเฮลท์แลนด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัด...