DEWA ในงาน BIG+BIH October 2015 เพื่อชีวิตที่ดีงาม

          เราเคยสงสัยหรือตั้งคำถามไหม ว่าสวนผลไม้มากมายที่เราเห็นในประเทศของเรานั้นชิ้นส่วนอื่นๆ นอกจากตัวผลไม้เองแล้ว ส่วนอื่นๆ ที่เหลือหายไปไหน มีการจัดการอย่างไร
          ในแต่ละปี ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าเกษตรอันดับต้นๆ ของโลก เกิดของเสียและวัสดุเหลือใช้จำนวนมหาศาลจากการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นกะลามะพร้าว ชานอ้อย เปลือกสับปะรด และอื่นๆ อีกมาก นั่นเป็นประเด็นหนึ่งซึ่งจุดประกายให้เกิดโครงการพัฒนาผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดสากล (Design from Waste of Agriculture) ริเริ่มโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มีชื่อโครงการโดยย่อที่สวยงามว่า DEWA
          &#สินค้าเกษตร68;DEWA&#สินค้าเกษตร68; เป็นหนึ่งในโซนนิทรรศการที่น่าจับตามองของงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้านครั้งที่ 4ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ หรืองาน BIG+BIH October 2ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์สินค้าเกษตร5 จัดแสดงในโทนสีขาวสะอาดตา นำเสนอหลากหลายผลิตภัณฑ์จากขี้เลื่อย ยางพารา ใยสับปะรด ชานอ้อย มันสำปะหลัง กากจากต้นหม่อน ฟางข้าว กากชาและกาแฟ เศษแกลบยางจากไม้ยาง อาทิ กระดาษสา บรรจุภัณฑ์อาหาร กรอบรูป และ Stationery
          ในงาน BIG+BIH ที่ไบเทค บางนา ในวันที่ สินค้าเกษตร9-23 ตุลาคมที่จะถึงนี้ เป็นครั้งแรกที่ผู้ร่วมงานจะได้ชมงานออกแบบและผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากเปลือกทุเรียนภายใต้โครงการ DEWA ภายในบูธที่มีทั้งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ พร้อมองค์ความรู้และข้อมูลของกระบวนการต่างๆ กว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แบบที่เห็น
          อานนท์ ไพโรจน์ ดีไซเนอร์ผู้ดูแลโครงการฯ บอกว่า "หน้าที่ของบูธ DEWA คือให้ความรู้ทำให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ที่มีต่อสิ่งรอบตัว เช่นหากมีผู้ประกอบการมาดู หรือคนที่มีสวนเกษตรมาดู
          ผมอยากให้เขากลับไปตั้งคำถามว่า อย่างนี้สวนเกษตรของเราน่าจะทำอะไรได้ แม้กระทั่งธุรกิจประมงก็ตาม การฝังของเสียหรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรลงดินก็เป็นการเสียสตางค์ การเผาทำลายก็เกิดปัญหามลพิษ ทำไมเราไม่มาเปลี่ยนตรงนั้นเป็นกำไร"
          อานนท์บอกว่า อะไรทุกอย่างในโลกนี้ที่มีไฟเบอร์ สามารถนำมาทำเป็นกระดาษได้ กระดาษนั้นๆ จะมีคุณสมบัติต่างกันตามแต่ไฟเบอร์แต่ละสายพันธุ์ การผสมผสานหลายวัสดุอาจช่วยให้กระดาษแข็งแรงขึ้น หรือทำให้พื้นผิวมันเปลี่ยนไปเกิดพื้นผิวที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ กระดาษเหล่านี้นำไปเป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบและตกแต่งได้มากมาย ตั้งแต่พาร์ดิชั่นกั้นห้อง โคมไฟ ไปจนถึงแพกเกจจิ้งผลิตภัณฑ์
แทนที่จะแข่งกันในกลุ่มสินค้าเดิม การนำเสนอในเรื่องของวัสดุใหม่ๆ นั้นเกิดมูลค่ามหาศาล หากสามารถจะผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้เหล่านี้แล้วนำไปใช้ในอุตสาหกรรมใหญ่ได้ ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร นั่นหมายถึงทุกครั้งที่เขาเก็บเกี่ยว ทุกอย่างที่เก็บมาได้คือเงินทั้งสิ้น
          อีกคำถามที่คนไทยต้องเริ่มตั้งด้วยอย่างจริงจังก็คือ แต่ละปีประเทศเรานำเข้าอะไรบ้าง
          ซึ่งโดยที่จริงแล้วเราสามารถผลิตเองได้จากวัสดุที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร "การเกษตรสร้างเปลือกทุเรียนถึงเดือนละสามพันตันต่อหนึ่งโรงงาน หมูก็กินไม่ได้ เนื่องจากมีหนาม ไม่เหมือนกล้วยที่ให้หมูกินได้ ถ้าไม่เผาไฟก็ฝังกลบลงดิน เราส่งออกทุเรียนเยอะมาก เปลือกทุเรียนมีเยอะกว่าเนื้ออีก นั่นคือสิ่งที่ควรพัฒนา ถ้าเราแค่ทำไฟเบอร์อะไรบางอย่างเพื่อมารองรับบรรจุภัณฑ์ทุเรียน ให้จบในจันทบุรี สิ่งที่ลดแน่ๆ คือโลจิสติก พลังงาน การขนส่ง เพราะว่าเขาทำเองได้ ดูแลเองได้ และช่วยสร้างงานให้คนในท้องถิ่น"
อานนท์บอกว่า "กระดาษทุเรียน" ก็น่าจะเป็นแพกเกจจิ้งที่ดีของทุเรียน เนื่องด้วยโครงสร้างทางธรรมชาติในการดูดซับกลิ่นและความชื้น ซึ่งเมื่อผ่านการแปรรูปจนเป็นกระดาษแล้วก็ยังคงคุณสมบัติอยู่ เนื่องจากไม่ได้สกัดโดยกระบวนการทางเคมี แต่เป็นกระบวนการธรรมชาติ
          "สิ่งที่ดีที่สุดคือคุณไม่ต้องซื้อลังกระดาษจากกรุงเทพฯ แต่สามารถเอาสิ่งที่เหลือมาทำแพคเกจจิ้ง ความน่าเศร้าคือบางทีเราต้องนำเข้าพลาสติกรีไซเคิลซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นขนาดนั้น แต่ทำอย่างไรให้น้อยลง การสร้างผลิตภัณฑ์ในประเทศที่ช่วยแก้ปัญหาสังคมได้ ถ้าเราผลิตในประเทศได้ผมคิดว่าราคาจะถูกลง ถ้ามีคนที่เห็นโอกาสและลงทุนตรงนี้ มันเป็นอนาคตของประเทศได้ ธุรกิจกระดาษเป็นธุรกิจที่ทำให้รวยได้ ในเมื่อเกษตรกรสามารถทำจนจบ เขาก็ไม่อยากสั่งแพ็กเกจจิ้ง เผลอๆ เขาขายได้ เอามาใช้ลดต้นทุนเขาได้ ราคาสินค้าก็จะถูกลง หลายครั้งแพ็กเกจจิ้งแพงกว่าอาหาร เช่น น้ำเปล่า บางทีขนมนิดเดียว ห่อแพงกว่าขนมข้างในอีก ถ้าเกิดเราใช้บรรจุภัณฑ์โดยผู้ผลิตในประเทศได้ ก็จะเป็นการเปลี่ยนมุมมองทางธุรกิจ เผลอๆ เราจะส่งออกได้ ทั้งตัวผลิตภัณฑ์พร้อมๆ กับบรรจุภัณฑ์ แบบ Full System&#สินค้าเกษตร68;
          โครงการพัฒนาผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดสากล โดยกระทรวงพาณิชย์ เป็นการค้นคว้าเพื่อแก้ปัญหาเชิงสังคมและเป็นการสร้างการค้าที่ยั่งยืน แม้จะเคยมีงานวิจัยในแนวนี้อยู่บ้างแต่ก็ไม่ได้มีมุมการค้า มุมมองทางการค้านี้เองจะช่วยทำให้งานวิจัยถูกพัฒนาไปแบบมีทิศทางมากขึ้น และเรียกได้ว่างานวิจัย DEWA คือการปรับกระบวนทรรศน์หรือการสร้าง Paradigm ใหม่ของการขายสินค้าที่เป็นออแกนิกแบบ Full System
          ซึ่งปัจจุบันยังไม่เคยมี Awareness ว่ามาเมืองไทย ต้องมาหาสินค้าที่รีไซเคิลได้ หรือสินค้าที่เป็น Biodegradable
          "ปัจจุบัน ผู้ซื้อกำลังต้องการผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากรู้สึกว่าได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่จ่ายเงินเท่าเดิม เรียกได้ว่าผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้เป็น Intangible Value ที่ประเทศไทยมีอยู่แล้วแต่ไม่เคยถูกหยิบยกมาขาย ผมถือว่านี่เป็นการ Branding ที่ดีให้กับประเทศ ของที่ได้มาเป็นของออแกนิกแล้วเราจะรู้สึกปลอดภัยกับมันมากขึ้น รู้สึกไม่อันตรายกับชีวิตและร่างกาย สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมันมีความยั่งยืนไม่ใช่แค่เรื่องของสิ่งแวดล้อม แต่เป็นเรื่องของสังคม ของการสร้างรายได้ให้ชุมชน และอีกหลายๆ อย่าง" อานนท์กล่าว
          ส่วนนิทรรศการ DEWA ในงาน BIG+BIH October 2ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์สินค้าเกษตร5 ที่จะถึงนี้ จะทำแสดงให้เห็นว่าทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีพันธุ์พืชแตกต่างกันอย่างไร และเมื่อนำมาเข้าโครงการแล้ว ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันอย่างไร
          รวมทั้งเป็นการประกาศว่า ตรงนี้เป็นสิ่งที่มีมูลค่า และสามารถส่งออกได้จริงในฐานะผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสร้างอนาคตให้กับประเทศ
BIG+BIH ตุลาคม เปิดสำหรับการเจรจาธุรกิจ ระหว่างวันที่ สินค้าเกษตร9-2สินค้าเกษตร ตุลาคม สินค้าเกษตรผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์.ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์-สินค้าเกษตร8.ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ น. และเปิดจำหน่ายปลีกระหว่างวันที่ 22-23 ตุลาคม สินค้าเกษตรผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์.ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์-2สินค้าเกษตร.ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ น. ผู้สนใจสามารถชมข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนชมงานล่วงหน้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่ www.bigandbih.com อีเมล์ [email protected] หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ สินค้าเกษตรสินค้าเกษตร69

DEWA ในงาน BIG+BIH October 2015 เพื่อชีวิตที่ดีงาม

 

ข่าวผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์+สินค้าเกษตรวันนี้

"SNPS" คว้า 2 รางวัลใหญ่ The Prime Minister's Industry Award 2024 ตอกย้ำความเป็นผู้นำระดับสากลและพร้อมสร้างองค์กรนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNPS เปิดเผยว่า บริษัทและบริษัท สเปเชี่ยลตี้ อินโนเวชั่น จำกัด ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมประจำปี พ.ศ. 2567 The Prime Minister's Industry Award 2024 รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประเภทการบริหารธุรกิจสู่สากล และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ จากการที่ SNPS และบริษัทย่อยเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากธรรมชาติ รวมถึงการนำองค์ความรู้ ภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม

บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด (BSG GLASS) ร่ว... BSG GLASS ชูบัคบีทรับแนวคิดส่งเสริมเอสเอ็มอีแบบ SPEED — บริษัท ไทยเทคโนกลาส จำกัด (BSG GLASS) ร่วมออกบูธประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หินหอมไล่ยุงบัคบีท (BUGBEAT)...

นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล (กลาง) ผู้อำนวยการก... ภาพข่าว: กสอ. ผนึกกำลังพันธมิตร สร้างนักออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ฯ — นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล (กลาง) ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอ...

เราเคยสงสัยหรือตั้งคำถามไหม ว่าสวนผลไม้มา... DEWA ในงาน BIG+BIH October 2015 เพื่อชีวิตที่ดีงาม — เราเคยสงสัยหรือตั้งคำถามไหม ว่าสวนผลไม้มากมายที่เราเห็นในประเทศของเรานั้นชิ้นส่วนอื่นๆ นอกจากตัวผลไ...

สุดยอด 40 ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ จากล้านนาสู่อันดามัน

จังหวัดเชียงใหม่ โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ ( Nohmex) จัดงาน “สุดยอด 40 ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์” ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2558 ณ ศูนย์การค้าจังซีลอน หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต...