นายแพทย์ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์หัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เปิดเผยว่า การตรวจคัดกรองถือว่ามีประโยชน์มากในการช่วยวางแผนการรักษาและป้องกันเรียกว่า รู้ก่อน ป้องกันได้ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหัวใจในนักกีฬาที่อายุน้อยกว่า 35 ปี หรือ Pre-Participation Physical Evaluation( PPE) เพื่อดูความสมบูณณ์ของร่างกายก่อนที่จะมีการแข่งขันโดยเฉพาะสมรรถภาพของหัวใจที่เป็นอวัยวะที่มีส่วนสำคัญของร่างกายที่จะต้องมีความแข็งแรงและสมบูรณ์พร้อมที่จะลงสนามแข่งขัน อีกทั้งช่วยป้องกันและลดสาเหตุการเสียชีวิตเฉียบพลันในกลุ่มนักกีฬา ยกตัวอย่าง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ก็จะมีผลกระทบต่อการทำงานบีบตัวของหัวใจซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดโลหิต นำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง ซึ่งกลุ่มโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่ทำให้เกิดปัญหาในนักกีฬานั้นมักเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (Hypertrophic cardiomyopathy) ในแง่ของการวินิจฉัย แพทย์ต้องอาศัยข้อมูลหลายด้านมาประกอบกัน เพราะในนักกีฬาที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอก็มีการหนาตัวขึ้นของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยที่ไม่เป็นโรคได้เช่นกัน ซึ่งการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจหรือEchocardiogram โดยทีมแพทย์โรคหัวใจที่มีความชำนาญในด้านเวชศาสตร์การกีฬา (Sport Cardiologist) จะช่วยประเมินสภาพกล้ามเนื้อหัวใจ,แรงบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจและวินิจฉัยพยาธิสภาพต่างๆของนักกีฬาได้
วิธีป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจในนักกีฬา สิ่งสำคัญในการป้องกันการเสียชีวิตจากโรคหัวใจคือ การตรวจคัดกรองสุขภาพหัวใจของนักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาที่มีโปรแกรมการแข่งขัน หรือต้องฝึกซ้อมอย่างหนักต่อเนื่องอย่างกีฬา วอลเล่ย์บอล หรือฟุตบอล โดยที่การคัดกรองปัญหาของหัวใจนั้นต้องพิจารณาจากประวัติของนักกีฬาระหว่างการเล่นกีฬามาก่อน เช่น หน้ามืด หมดสติ ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก เป็นต้น การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจหรือEchocardiogram เพื่อประเมินความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจโดย บริษัท แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 02-732-6069-70
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit