ฮอร์โมนทดแทนสำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือน

          การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน หรือ Hormone Replacement Therapy (HRT) ได้กลายเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายเพื่อรักษาภาวะการขาดฮอร์โมนสำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือน
          การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน หรือ HRT นั้น ใช้หลักการทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนในเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน เพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนดังกล่าว การให้ฮอร์โมนทดแทนนั้น สามารถทำได้ทั้งระหว่างหรือหลังวัยหมดประจำเดือน โดยจะมีผู้หญิงเพียงประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถก้าวเข้าสู่วัยทองโดยไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะการขาดฮอร์โมน
          พญ. ปรียานาถ กำจรฤทธิ์ แพทย์ด้านสูตินรีเวชวิทยา ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vitallife Wellness Center) ในเครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อเข้าสู่วัยทองอย่างมีความสุข
          "เนื่องจากว่าผู้หญิงแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในทางการรักษาภาวะหมดประจำเดือนนั้น แพทย์จะต้องนำปัจจัยหลายๆอย่างของคนไข้มารวมกัน พร้อมทั้งตรวจเลือด เพื่อใช้ในวิเคราะห์และประเมินแนวทางในการรักษาโดยเฉพาะสำหรับคนไข้แต่ละราย ก่อนการตัดสินใจทำการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนนั้น แพทย์จะต้องซักประวัติคนไข้โดยละเอียด และคนไข้จะต้องทำความเข้าใจในเรื่องของการรักษา การปฏิบัติตัวในระหว่างรับการรักษา ระยะเวลาการรักษา และวิธีการหยุดการรักษาอย่างเข้าใจเสียก่อน"
กรณีศึกษา
          คุณหมอ ปรียานาถ อธิบายว่า ผู้หญิงทุกคนจะต้องผ่านช่วงอายุอยู่ 3 ช่วง คือ วัยเด็กก้าวเข้าสู่วัยสาว ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบสืบพันธุ์เริ่มพัฒนาสมบูรณ์ ช่วงที่สองคือ ช่วงโตเต็มวัย โดยเป็นช่วงที่ระบบสืบพันธุ์พัฒนาอย่างสมบูรณ์ และสามารถมีบุตรได้ และช่วงสุดท้ายคือช่วงวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่จะประสบปัญหาการปรับตัวทางร่างกายและจิตใจอันเนื่องมาจากภาวะการขาดฮอร์โมนนั่นเอง ทั้งนี้การปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางการปฏิบัติตัวและวิธีการรักษานั้นจะสามารถทำให้ผู้หญิงเราก้าวเข้าสู่วัยทองได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข 
          มีหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึงในการทำการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน เช่น ในคนไข้รายที่มีการทำทรีตเม้นเพื่อรักษามะเร็งรังไข่ หรือผ่าตัดมะเร็งรังไข่นั้น อาจไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการให้ฮอร์โมนทดแทน HRT ได้ และสำหรับผู้หญิงที่อายุมากกว่า 6ฮอร์โมนทดแทน ปี การให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทนอาจไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม หลอดเลือดอุดดัน และโรคหลอดเลือดหัวใจได้ 
          "ผู้หญิงสามารถทำได้หลายอย่างเพื่อก้าวเข้าสู่วัยทองได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข ทั้งนี้การหมั่นไปตรวจสุขภาพและตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่หมออยากให้ผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 4ฮอร์โมนทดแทน ปีขึ้นไป ควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบถึงสภาวะร่างกายและการเตรียมตัวเข้าสู่ภาวะวัยทองอย่างปลอดภัย"
          "นอกจากนี้ การรู้จักสังเกตุความผิดปกติของร่างกายตัวเอง จะสามารถทำให้เราป้องกันและตรวจสอบอาการต่างๆที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งหรือโรคอื่นๆได้อย่างทันท่วงที" ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการรักษาทางการแพทย์ได้พัฒนาอย่างมากมายทำให้การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนนั้นสามารถทำได้ง่ายและสะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน การให้ฮอร์โมนทดแทนนั้นสามารถทำได้หลายทาง เช่น การหยดฮอร์โมนทางปาก หรือปิดแผ่นเจลบริเวณผิวหนังก็เป็นอีกวิธีหนึ่งทำสามารถทำได้สะดวก

ข้อมูลความรู้จากอินเตอร์เน็ต
          ต้องขอบคุณความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ทำให้ปัจจุบันมีข้อมูลความรู้ทางการแพทย์ต่างๆที่มีประโยชน์ เผยแพร่บนโลกอินเตอร์เนต ซึ่งเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการดูแลตัวเอง และเริ่มมองหาทางเลือกสำหรับสุขภาพ ตลอดจนการปฏิบัติตัวเพื่อก้าวเข้าสู่วัยทองอย่างปลอดภัยและมีความสุข โดยทาง ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vitallife Wellness Center) เรามีเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นในด้านการรักษาและป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆ ซึ่งเราพบว่าคนไข้ส่วนใหญ่มีการหาข้อมูลและวิธีการรักษาเบื้องต้น ก่อนเข้ามารับการปรึกษา และสามารถทำให้การรักษาเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่http://www.vitallife-international.com/
 

ข่าวฮอร์โมนทดแทน+ฮอร์โมนวันนี้

"มะเร็งเต้านม" ภัยคุกคามหมายเลข 1 เรื่องเล่า..สงวนเต้านม ในห้องผ่าตัด จากโรงพยาบาลพระรามเก้า

บรรดาสุภาพสตรีเคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า ทำไมสัญลักษณ์แห่งความเป็นหญิงของเรา ต้องมาพร้อมกับความเสี่ยงหมายเลข 1 ที่มีชื่อว่า "มะเร็งเต้านม" ด้วย ผู้หญิงหลายคนต้องหมั่นเช็คสภาพเต้านมอยู่ทุกเดือน หลายครั้งหลายคราวต้องกังวลกับการรอคอยผลตรวจสุขภาพ ไหนจะต้องมาขวัญผวากับเรื่องเล่าแต่กาลก่อนที่บอกว่า "เป็นมะเร็งต้องตัดเต้านมทิ้งทั้งหมด" !! ยิ่งรายไหนที่ใช้ชีวิตแขวนอยู่บนความเสี่ยงทั้งในเรื่องพันธุกรรม หรือ มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการใช้ฮอร์โมนทดแทนอย่างต่อเนื่อง คงไม่ต้องบอกว่าความเครียดเรื่องมะเร็ง

ร่วมฉลองวันสตรีสากลปี 2025 นี้ ภายใต้ธีม ... เช็กลิสต์สุขภาพดีฉบับผู้หญิงยุคใหม่ — ร่วมฉลองวันสตรีสากลปี 2025 นี้ ภายใต้ธีม "Accelerating Action" เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังในการเปลี่ยนแปลงที่อยู่...

ไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากระดับฮอร์โมนไทรอยด์... ใจสั่น น้ำหนักลง ระวัง! "ไทรอยด์เป็นพิษ" — ไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ สาเหตุอาจมาจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป, การอัก...

"ฮอร์โมน" คำเล็ก ๆที่หลายคนอาจแค่ฟังผ่าน ... "เกิด แก่ ตาย" ไม่เจ็บป่วย สู่อายุยืนยาวอย่างสุขภาพดี เสริมฮอร์โมนช่วยได้!! — "ฮอร์โมน" คำเล็ก ๆที่หลายคนอาจแค่ฟังผ่าน ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าเจ้าฮอร์โมนเป็น...

โรงพยาบาลพญาไท 1 ภายใต้เครือโรงพยาบาลพญาไ... รพ. พญาไท 1 เปิดตัว "V-Women's Wellness" ศูนย์ดูแลสุขภาพสตรีครบวงจร — โรงพยาบาลพญาไท 1 ภายใต้เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ได้ส่งต่อความรักและความใส่ใจดูแลสุข...

ฮอร์โมนทดแทนสำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือน

การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน หรือ Hormone Replacement Therapy (HRT) ได้กลายเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายเพื่อรักษาภาวะการขาดฮอร์โมนสำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือน การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน หรือ HRT นั้น ใช้หลักการทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนในเพศหญิง...

ภาพข่าว: รพ.เวชธานี จัดเสวนา "หนุ่มสาวเสมอด้วยฮอร์โมนทดแทน”

โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111 จัดเสวนา “หนุ่มสาวเสมอด้วยฮอร์โมนทดแทน”โดยมี นพ.อรรถสิทธิ์ อมรถนอมโชค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย บรรยายให้ความรู้ และดารามากความสามารถ คุณดิลก ทองวัฒนา ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์บนเวที โดยงานนี้...

โรงพยาบาลเวชธานี จัดสัมมนา “หนุ่มสาวเสมอด้วยฮอร์โมนทดแทน”

สัมมนา “หนุ่มสาวเสมอด้วยฮอร์โมนทดแทน” สุขภาพดี อ่อนเยาว์กว่าวัย เป็นจุดมุ่งหมายของใครหลายๆ คน ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเวชธานี จึงจัดสัมมนา “หนุ่มสาวเสมอด้วยฮอร์โมนทดแทน” บรรยายโดย นพ.อรรถสิทธิ์ อมรถนอมโชค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย...

ชายกลางคนพร่องฮอร์โมนหมดแรงขาดสมาธิหงุดหงิดง่าย

ชมรมคุณภาพชีวิตวัยทองแนะชายวัยกลางคนรัปประทานอาหารถูกหลักเหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับเพียงพอ ป้องกันการพร่องฮอร์โมนซึ่งกระทบคุณภาพชีวิตมีผลต่อการตัดสินใจ หมดแรงไม่ทราบสาเหตุ ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ด้านหัวหน้าหน่วยสตรีวัยหมดระดู...