สถาบันโรคหัวใจมอนทรีออลค้นพบวิธีรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดจำเพาะบุคคลเป็นแห่งแรกของโลก

13 Jan 2015
- ผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเหมาะสมและตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตัวใหม่ จะมีอัตราการเกิดหัวใจวายและอัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

คณะนักวิจัยจากสถาบันโรคหัวใจมอนทรีออล (Montreal Heart Institute) เผยผลการวิจัยซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีพันธุกรรมเหมาะสมจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากตัวยาใหม่อย่าง Dalcetrapib ซึ่งสามารถลดอัตราการเกิดอาการต่างๆรวมกัน 39% ได้แก่ อาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง อาการเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่ หลอดเลือดหัวใจตีบ และการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนั้นยังช่วยลดภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้อีกด้วย ทั้งนี้ ผลการวิจัยโดยละเอียดได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Journal Circulation Cardiovascular Genetics และการค้นพบในครั้งนี้อาจปูทางไปสู่ยุคใหม่ของยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ด้วยตัวยาที่มีคุณสมบัติในการรักษาจำเพาะบุคคลและมีประสิทธิภาพในการรักษาที่แม่นยำ

คณะนักวิจัยซึ่งนำโดยดร.ฌอง-คล้อด ทาร์ดีฟ และดร.มารี-ปิแอร์ ดูเบ ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยจำนวน 5,749 คน ซึ่งได้รับยา Dalcetrapib หรือยาหลอก และมีการตรวจสอบ DNA ในการวิจัยทางคลินิก โดยพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างชัดเจนระหว่างปฏิกิริยาของยา Dalcetrapib กับยีนจำเพาะที่มีชื่อว่า ADCY9 (Adenylate Cyclase 9) บนโครโมโซมคู่ที่ 16 โดยเฉพาะพันธุกรรมบางประเภท (rs1967309) สำหรับผู้ป่วยที่มีลักษณะทางพันธุกรรม AA แบบ rs1967309 พบว่ายา Dalcetrapib สามารถลดการเกิดอาการต่างๆเกี่ยวกับหัวใจได้รวมกัน 39% เมื่อเทียบกับยาหลอก นอกจากนั้นยังพบหลักฐานสนับสนุนจากการวิจัยครั้งที่ 2 ซึ่งบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเหมาะสมมีอัตราการเกิดภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัวลดลงเมื่อใช้ยา Dalcetrapib

ดร.ฌอง-คล้อด ทาร์ดีฟ ซึ่งเป็นผู้นำคณะนักวิจัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแห่งสถาบันโรคหัวใจมอนทรีออล และศาสตราจารย์คณะแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมอนทรีออล กล่าวว่า "ผลการวิจัยเหล่านี้จะนำไปสู่การศึกษาวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีพันธุกรรมเหมาะสม เพื่อให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขพิจารณา และเพื่อให้มีการรักษาจำเพาะบุคคลโดยใช้ยา Dalcetrapib ยิ่งไปกว่านั้น การวิจัยดังกล่าวยังสร้างความหวังด้านการรักษาโรคอย่างแม่นยำให้แก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการยับยั้งโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ซึ่งเป็นสาเหตุลำดับแรกของการเสียชีวิตทั่วโลก"

คณะนักวิจัยได้ทำการทดสอบตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมหลากหลายรูปแบบในกลุ่มยีนทั้งหมด ในกระบวนการที่เรียกว่าการศึกษาความเกี่ยวเนื่องในกลุ่มยีน ดร.มารี-ปิแอร์ ดูเบ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ Beaulieu-Saucier Pharmacogenomics Center แห่งสถาบันโรคหัวใจมอนทรีออล และศาสตราจารย์คณะแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมอนทรีออล กล่าวว่า "เราใช้เทคนิคทางสถิติและพันธุกรรมที่ทันสมัยเพื่อแสดงให้เห็นว่า ยีนของผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา Dalcetrapib เท่านั้น และไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาหลอก เราอยากให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีทางเลือกในการรักษาจำเพาะบุคคลเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ ด้วยยาที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น"

ท่านที่สนใจสามารถติดต่อขอสัมภาษณ์ดร.ฌอง-คล้อด ทาร์ดีฟ ได้

อ่านบทความได้ที่: http://bit.ly/1tZSSG9

ค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ของวารสาร Journal of the American Heart Association ได้ที่http://circgenetics.ahajournals.org

เรียนเชิญสื่อมวลชน:

วันพุธที่ 14 มกราคม 2558 เวลา 10.30 น.

ห้องประชุม Auditorium Jean Parisien ที่สถาบันโรคหัวใจมอนทรีออล

ที่อยู่: 5000, Belanger street, Montreal, Quebec H1T 1C8

กรุณาตอบกลับที่:

Lise Plante

โทร. +1-514-376-3330 ต่อ 3898

ดร.ฌอง-คล้อด ทาร์ดีฟ จะเป็นผู้นำเสนอประเด็นสำคัญของงานวิจัย

ดร.ฌอง-คล้อด ทาร์ดีฟ

https://www.icm-mhi.org/en/research/researchers/493-jean-claude-tardif

ดร.มารี-ปิแอร์ ดูเบ

https://www.icm-mhi.org/fr/recherche/chercheurs/501-marie-pierre-dube

เกี่ยวกับสถาบันโรคหัวใจมอนทรีออล: www.icm-mhi.org

เกี่ยวกับมูลนิธิสถาบันโรคหัวใจมอนทรีออล : www.icm-mhi.org

ติดต่อ:

Lise Plante, MBA

ผู้อำนวยการฝ่ายติดต่อสื่อสารและการตลาด

มูลนิธิสถาบันโรคหัวใจมอนทรีออล

โทร. +1-514-376-3330 ต่อ 3898

อีเมล: [email protected]

เฟซบุ๊ก facebook.com/institutcardiologiemontreal หรือทวิตเตอร์ @ICMtl