“ออมให้พอ ที่เหลือใช้ให้เรียบ ! ” หลักบริหารเงินสไตล์ “อัจฉรา โยมสินธุ์” เตือนเยาวชนพอเพียงได้แม้อยู่เมือง

           ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงห้ามใช้สมาร์ทโฟน ถูกหรือผิด ? – ผิด
          ห้ามใช้สินค้าต่างประเทศ – ผิด
          ห้ามใช้กระเป๋าแบรนด์เนม ใส่นาฬิกาแพงๆ – ผิด 
          ต้องปลูกผักสวนครัว กินข้าวกับน้ำพริกปลาทูและผักต้มเท่านั้น – ผิด 
          ฯลฯ
          ข้างต้นเป็นตัวอย่างคำถาม “ล่อหลอก” ที่ชี้ให้เห็นว่ายังมีความเชื่อความเข้าใจผิดๆ อีกมากเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมไทย ยิ่งในเรื่องการจับจ่ายใช้สอย หรือเรื่อง “การบริหารจัดการการเงิน” ด้วยแล้ว ยิ่งต้องให้ความใส่ใจปลูกฝังความเข้าใจที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็ก
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินกำลังหากจะทำความเข้าใจกันเสียใหม่ ผ่านคำอธิบายและตัวอย่างประกอบง่ายๆ ในการบรรยายเรื่อง “ความพอเพียงของเยาวชนวิถีเมือง” โดย ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์ อาจารย์ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภายในค่ายเยาวชนกลุ่มปลาดาวประจำปี 2557 ในการสนับสนุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มูลนิธิเอสซีจี และมูลนิธิสยามกัมมาจล 
          ดร.อัจฉรา เกริ่นนำว่า ความพอเพียงของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่มีถูกหรือผิด และไม่สามารถฟันธงได้เลยว่าความพอเพียงของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของคนๆ นั้น และเนื่องจาก เศรษฐกิจพอเพียงเป็น “หลักคิด” สิ่งที่จะได้จากเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นหลักการและแนวคิดที่แต่ละคนจะนำไปประยุกต์ใช้เป็นวิถี “เราถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน การประยุกต์ใช้ของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน” แต่ทั้งหมดนี้เพื่อตอบโจทย์ๆ เดียวคือ “ความยั่งยืน” โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวเราทุกคนอย่างเรื่อง “เงิน” ถ้าเราไม่นำหลักความพอเพียงมาบริหารจัดการให้สมดุล อนาคตทางการเงินของเราก็จะไม่ยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากจุดง่ายๆ เมื่อไรที่เราบริหารจัดการตัวเองได้ เราก็จะบริหารจัดการเงินได้ 
          อาจารย์ภาควิชาการเงิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ แนะนำทางลัดของการบริหารจัดการตัวเองว่า คือ การจดบันทึกรายรับ – รายจ่ายอย่างง่ายๆ ที่เราคุ้นเคยกัน จากนั้นจึงนำรายรับ – รายจ่ายที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์เพื่อรู้จักพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเอง เมื่อรู้จักตัวเองดีพอแล้ว ความพอประมาณก็จะเกิดขึ้น ยิ่งเรามีเป้าหมายทางการเงินชัดเจนก็จะทำให้มีกำลังใจ มีวินัย และใช้เหตุผลในการจับจ่ายโดยที่เราไม่จำเป็นต้องหยุดใช้เงิน แต่รู้จักใช้ให้พอดี “การหาเงินให้พอใช้นั้นยากมาก เพราะไม่มีอะไรจะหยุดความต้องการไว้ได้ เราหยุดมันไม่ได้ เราจึงต้องเริ่มด้วยการลด แต่ดีที่สุดให้ถามตัวเองบ่อยๆ ว่า หนึ่ง.ที่เราทำอยู่เบียดเบียนตัวเองหรือเปล่า และ สอง.สิ่งที่ทำอยู่เบียดเบียนคนอื่นหรือไม่” 
          ที่เหลือจึงเป็นการสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” ป้องกันความเสี่ยงให้แก่ตนเอง ดร.อัจฉราแนะนำเยาวชนในเรื่องของการออมเพื่ออนาคตโดยมีเทคนิคส่วนตัวสั้นๆ แต่ได้ใจความว่า “ออมให้พอ ที่เหลือใช้ให้เรียบ ! ” ได้เงินมาปุ๊บต้องชิงแบ่งบางส่วนเก็บออมไว้ก่อน วิธีนี้จะช่วยให้น้องๆ วัยเรียนจนถึงวัยทำงานมีเงินเก็บแน่นอน และไม่รู้สึกเครียดเวลาต้องใช้จ่าย ต่างจากวิธีที่หลายคนทำอยู่คือใช้จ่ายอย่างประหยัดแล้วค่อยเหลือเก็บ สุดท้ายก็เก็บไม่ได้ แถมยังรู้สึกเครียดทุกครั้งเมื่อต้องควักกระเป๋าใช้จ่าย ทั้งนี้เงินออมที่ได้ยังสามารถนำไปสร้างดอกผลกำไรได้อย่างเหลือเชื่อ “ไอน์สไตน์บอกว่าสิ่งมหัศจรรย์อันดับแปดของโลกคือดอกเบี้ยทบต้น” เงินเก็บเล็กๆ น้อยๆ ในวันนี้จะเป็นทุนก้อนใหญ่ให้กับเราในอนาคต
          ยกตัวอย่าง นาย ก กับ นาย ข อายุ 18 ปีเท่ากัน มีเงินเก็บคนละ 3 หมื่นบาท ต้องการซื้อรถมอเตอร์ไซต์ไว้ใช้งาน นาย ก ไปซื้อมอเตอร์ไซต์มือสองด้วยเงินสดราคา 3 หมื่นบาท ส่วนนาย ข บอกว่าอยากได้มอเตอร์ไซต์มือหนึ่งเท่ห์ๆ ราคา 2.5 แสนบาท วางเงินดาวน์ 3 หมื่นบาท ต้องกู้เงินมาเพิ่ม 2.2 แสนบาท เงื่อนไขผ่อนคืน 4,675 บาทต่อเดือน ภายใต้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ต่อปี นาย ข จะผ่อนรถได้หมดตอนอายุ 23 ปี คิดเป็นมูลค่าของมอเตอร์ไซต์ที่จ่ายไปจริงๆ 280,500 บาท ส่วนนาย ก ไม่ต้องผ่อนรถ จึงมีเงินออม 4,675 บาทต่อเดือนฝากเข้าธนาคารในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 ตอนที่อายุ 23 ปีเท่ากัน นาย ก จะมีเงินออม 365,024 บาท หลังจากนั้นโดยไม่มีการออมเพิ่มและไม่มีการเบิกออกมาใช้ ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 10 เมื่อนาย ก เกษียณตอนอายุ 58 ปี เขาจะมีเงินเก็บ 11.68 ล้านบาท ขณะที่รถมอเตอร์ไซต์ของนาย ข แทบไม่มีมูลค่าใดๆ หลงเหลืออยู่แล้ว
          สุดท้าย เมื่อรู้แล้วว่าจะบริหารจัดการเงินอย่างไรให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีภูมิคุ้มกัน ดร.อัจฉรา ฝากไว้ว่าวินัยถือเป็นคุณธรรมข้อสำคัญที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการการเงิน “จริงๆ แล้วการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องยาก ใครๆ ก็ทำได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ความมั่งมีไม่ใช่เพราะมีมากมาย แต่เพราะมีมากพอ” ดร.อัจฉรา ฝากข้อคิดปิดท้าย #

ข่าวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง+มูลนิธิสยามกัมมาจลวันนี้

เชิญร่วมเสวนา "พอเพียงสู่การปฏิบัติ"

มูลนิธิสยามกัมมาจล ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมฟังเสวนาเรื่อง "บนเส้นทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงสู่การปฏิบัติ" โดย มีวิทยากรกระบวนการและผู้เชี่ยวชาญ ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ ผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการศึกษา ในหัวข้อ อุปนิสัย "พอเพียง" เกิดขึ้นเมื่อไร ได้อย่างไร และมีประโยชน์อะไร โดยมีตัวอย่างนักเรียนที่เป็นผลผลิตจากจากศูนย์การเรียนรู้ฯ / เส้นทางการใช้เศรษฐกิจพอเพียงสร้างนักเรียน "พอเพียง" ของครู และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น / เส้นทางการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารข้อสังเกต

ฟังเสียงวัยรุ่นไทย "พอ = สุข" สมการชีวิตที่ "ใช่" แม้บนเส้นทางที่หลากหลาย

เยาวชนไทยปี 2558 ยังถูกสิ่งยั่วยุรอบด้าน ยากที่จะรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนรู้เท่าทัน “ความคิด” และ “ความต้องการ” ของตัวเอง ส่งผลให้ชีวิตขาดความสมดุล เพราะมี “ความอยาก” เป็นตัวนำ ยังโชคดีที่มี "วัยรุ่นไทย"...

ร.ร.สตรีมารดาฯ น้อมนำพระราชดำรัสฯ ปลูกความคิดคนรุ่นใหม่ แก้ปัญหาเด็กไทยคิดวิเคราะห์ไม่เป็น

มูลนิธิสยามกัมมาจล ทักษะ “การคิดวิเคราะห์” ยังเป็นจุดอ่อนของเด็กไทยมาต่อเนื่องยาวนาน ผลตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการครั้งล่าสุดปี 2557 ยอมรับว่าเด็กไทยยังมีทักษะการคิดวิเคราะห์ต่ำ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาอย่างจริงจัง...

“ออมให้พอ ที่เหลือใช้ให้เรียบ ! ” หลักบริหารเงินสไตล์ “อัจฉรา โยมสินธุ์” เตือนเยาวชนพอเพียงได้แม้อยู่เมือง

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงห้ามใช้สมาร์ทโฟน ถูกหรือผิด ? – ผิด ห้ามใช้สินค้าต่างประเทศ – ผิด ห้ามใช้กระเป๋าแบรนด์เนม ใส่นาฬิกาแพงๆ – ผิด ต้องปลูกผักสวนครัว กินข้าวกับน้ำพริกปลาทูและผักต้มเท่านั้น –...

คำถามของ “ครู” สร้างให้ “หนู” พอเพียง

ดังที่ทราบกันดีว่า “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นหลักคิด ที่ส่งผลถึงหลักการทำงานและหลักการใช้ชีวิต คอยกระตุ้นเตือนให้เราฉุกคิดอยู่เสมอไม่ว่าจะทำอะไรจะต้องตั้งอยู่บน ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี บนเงื่อนไขของ ความรู้ และ คุณธรรม ไม่...

มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถาบันก... ค่านิยมองค์กรสู่เอกลักษณ์ที่โดดเด่น "มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ" — มหาวิทยาลัยหัวเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนที่ก่อตั้งโดยเจตนารมย์ของมูลนิธ...