ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เปิดเผยว่า ในอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีการติดตั้งเครื่องมือที่ใช้สำหรับประโยชน์ทางการแพทย์ที่เรียกว่า “เครื่อง Proton therapy” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอนที่มีคุณสมบัติทำลายเซลล์มะเร็งที่จุดท้ายสุดของรังสี (end of path) ที่สามารถเพิ่มปริมาณรังสีให้สูงมากขึ้นได้ โดยมีผลข้างเคียงต่อเนื้อเยื่อปกติโดยรอบเซลล์มะเร็งน้อยมาก ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ คาดว่าจะมีการนำเครื่องมือชนิดนี้เข้ามาใช้ประโยชน์ในประเทศเป็นเครื่องแรกในเร็วๆ นี้ โดยความร่วมมือของสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานทางการแพทย์ เพื่อประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนาการรักษามะเร็งให้ได้ผล และเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ป่วยคนไทยในอนาคต
“ปส. เล็งเห็นความสำคัญในการกำกับดูแลเครื่องมือหรืออุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีการใช้มาก่อนภายในประเทศไทย จึงเร่งให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องศึกษาและเตรียมความพร้อมในการกำกับดูแลความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดทั้งผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับบริการ และประชาชนทั่วไป”
ดร.อัจฉรา กล่าวต่ออีกว่า อนุภาคโปรตอน จากเครื่อง Proton therapy ได้มาจากการแยกไฮโดรเจนไอออน ซึ่งทำให้เกิดพลังงานสูงจากการเหนี่ยวนำอนุภาคด้วยพลังแม่เหล็ก แล้วนำไปเร่งความเร็วด้วยเครื่องเร่งพลังงานไซโคลตรอน เพื่อให้ความเร็วของอนุภาคโปรตอนเท่ากับความเร็วแสง และรวมประจุเข้าด้วยกันเป็นลำแสงสำหรับใช้ในการรักษา และเมื่อปล่อยลำแสงอนุภาคโปรตอนเข้าสู่ร่างกายจะใช้พลังงานไม่มาก ทำให้การกระจายตัวของปริมาณอนุภาคโปรตอนเมื่อเข้าไปในเนื้อเยื่อมีรูปร่างและความลึกจำเพาะ (Bragg peak) ทำให้สามารถกำหนดให้รังสีชนิดนี้กระจายจำกัดอยู่เฉพาะในบริเวณที่ต้องการได้เป็นอย่างดี ไม่ทะลุไปถูกอวัยวะที่อยู่ลึกกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเนื้อเยื่อปกติที่อยู่ใกล้เคียงรอบๆ ให้ได้รับปริมาณรังสีน้อยที่สุด วิธีการนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการรักษามะเร็งในเด็ก มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งไขสันหลัง เนื่องจากมะเร็งเหล่านี้อยู่ใกล้กับอวัยวะสำคัญ ส่วนข้อจำกัดของเครื่อง Proton therapy คือ จะมีราคาที่สูงถึง 3 - 4 พันล้านบาท และใช้พื้นที่ในการติดตั้งเครื่องค่อนข้างมากประมาณ 6.12 ไร่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มกำกับดูแลความปลอดภัยการใช้เครื่องกำเนิดรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โทร. 02-596-7600 ต่อ 1613
บริษัท โอเค แมส จำกัด / บริษัท ออลล์ พีอาร์ จำกัด
169/19 ถ.ประดิพัทธ์ สามเสนในพญาไท กรุงเทพฯ 10400
Tel.02-618-7781-4 ต่อ 114 / F.02-618-7879
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชิญนักวิชาการภาครัฐและเอกชนกว่า 80 คน จาก 28 หน่วยงาน ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาโครงการความร่วมมือเชิงวิชาการของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ณ ปส. หวังติดตามการดำเนินงาน สร้างความเข้าใจ และผลักดันโครงการวิชาการนิวเคลียร์ใหม่สู่การพัฒนาเพื่อให้ประเทศและประชาชนได้รับประโยชน์จากความร่วมมืออย่างยั่งยืน นางรัชดา เหมปฐวี รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นประธานเปิด
ปส. จับมือ ก.พลังงานสหรัฐเสริมสมรรถนะบุคลากรไทย พร้อมตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี
—
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโ...
ปส. เปิดบูธวันเด็ก 62 สร้างแรงบันดาลใจเด็กรุ่นใหม่รู้นิวเคลียร์
—
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ร่วมกับ 18 หน่วยงานสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (...
ปส.จับมือ IAEA ดึงผู้ประสานงานไทย ติวเข้มระบบข้อมูลความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์
—
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ ...
ปส. จับมือ IAEA และ 14 องค์กรความมั่นคงนิวเคลียร์ไทย ประเมินภัยคุกคามและแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ของประเทศ
—
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ...
ปส.จับมือ IAEA หนุนเครือข่ายเอเชีย เสริมสมรรถนะการประเมินความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี
—
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ...
ปส. ร่วมทัพนิทรรศการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ด้วย วทน. โชว์ศักยภาพกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ไทย
—
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) นำผลงานเด่น ด้าน...
นครเฉิงตูโชว์ความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีในงานแสดงสินค้าไฮเทค
—
นครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งในด้านนว...