กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งเครื่องไตรมาส 4 รุกจับมือ “เอสเอ็มอาร์เจ” เดินหน้าเสริมแกร่ง SMEs ไทย-ญี่ปุ่น

            กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เดินหน้าพัฒนา SMEs ไทยตามนโยบาย เสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ SMEs ผ่านการลงนามความร่วมมือกับองค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) ภายใต้กรอบเนื้อหา อันได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแผนงานการส่งเสริมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา SMEs การติดต่อเชื่อมโยงและประสานการเจรจาธุรกิจในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การสนับสนุนข้อมูลระหว่างกัน ตลอดจนการศึกษาดูงาน และการอบรมแลกเปลี่ยนความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ SMEs ของทั้งสองประเทศ ฯลฯ ทั้งนี้คาดว่าการร่วมมือกันระหว่าง SMEs ไทยกับญี่ปุ่น ครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนและเสริมสร้างให้ SMEs ไทยเข้มแข็งและแข็งแกร่งมากขึ้น จนสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศได้สูงขึ้นกว่าร้อยละ5-กระทรวงอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในปี 2558 ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ประกอบการ SMEs ประมาณ 2.739 ล้านราย หรือร้อยละ 98.5 ของวิสาหกิจทั้งหมด สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศได้กว่า กระทรวงอุตสาหกรรม.76 ล้านล้านบาทต่อปี ขณะที่ญี่ปุ่นมีจำนวนผู้ประกอบการ SMEs กว่าร้อยละ 99.7 ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งประเทศ และสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศได้สูงถึง 48.4 พันล้านเยน หรือคิดเป็น กระทรวงอุตสาหกรรม4.98 ล้านล้านบาทต่อปี
           ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าพัฒนาโครงสร้าง SMEs ไทย ตามนโยบาย เสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับSMEs ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการผลักดันให้ธุรกิจมีการเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง จึงมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะหน่วยงานที่ให้การส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โดยการลงนามความร่วมมือกับองค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) หน่วยงานอิสระที่ทำหน้าที่นำนโยบาย เพื่อส่งเสริมธุรกิจ SMEs ภายใต้กรอบนโยบายของหน่วยงานภาครัฐ Small and Medium Enterprises Agency (SMEA) เป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของกระทรวงเศรษฐกิจการค้าอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิต นอกจากนี้ ที่ผ่านมามีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายที่ SMRJ ได้ให้การสนับสนุนกระทรวงอุตสาหกรรม อาทิ การให้พื้นที่แสดงสินค้าในงาน SME Fair การจัดงาน CEO Forum การจัดงาน Business Matching ซึ่งสามารถสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเป็นอย่างมาก ทั้งนี้การลงนามความร่วมมือดังกล่าว มีเนื้อหา สรุปได้ดังนี้
          กระทรวงอุตสาหกรรม. การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแผนงานการส่งเสริมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม
          2. การให้ความช่วยเหลือแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของทั้งสองประเทศโดยจัดให้มีการติดต่อเชื่อมโยงและประสานการเจรจาธุรกิจ
          3. ความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเน้นการสนับสนุนข้อมูลระหว่างกันและกัน 
          4. การสนับสนุนซึ่งกันและกันในด้านการศึกษาดูงาน การอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับแผนงาน การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของทั้งสองประเทศ
          5. ความร่วมมือเพื่อการสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยและญี่ปุ่น รวมถึง ความร่วมมืออื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยความเห็นชอบร่วมกัน 
          6. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ International Center ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยประสานการดำเนินงานของทั้งสองประเทศตามบันทึกช่วยจำฉบับนี้
          ดร.วิฑูรย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีความร่วมมืออื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยความเห็นชอบร่วมกันตามความเหมาะสมที่เห็นว่า จะนำมาช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจ SMEs ของทั้งสองประเทศได้ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานในการประสานการดำเนินงานกับ SMRJ 
          อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ SMEs เป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยครอบคลุมทั้งด้านการสร้างงานสร้างมูลค่าเพิ่มการสร้างเงินตราต่างประเทศการช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศโดยการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้ง เป็นจุดเริ่มต้นในการลงทุน การสร้างเสริมประสบการณ์ รวมถึงการช่วยเชื่อมโยงกับกิจการขนาดใหญ่ และภาคการผลิตอื่น ๆ อาทิ ภาคเกษตรกรรม ตลอดจนเป็นแหล่งพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่แรงงาน โดยปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ประกอบการ SMEs ประมาณ 2.739 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.5 ของวิสาหกิจทั้งหมด ทั้งนี้ SMEs ไทยสร้างรายได้ให้ประเทศได้กว่า กระทรวงอุตสาหกรรม.76 ล้านล้านบาท ต่อปี ขณะที่ญี่ปุ่น มีจำนวนผู้ประกอบการ SMEs สัดส่วนร้อยละ 99.7 ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งประเทศและสามารถสร้างรายได้ ให้ประเทศได้สูงถึง 48.4 พันล้านเยน หรือคิดเป็น กระทรวงอุตสาหกรรม4.98 ล้านล้านบาท ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือกันระหว่างSMEs ไทยกับญี่ปุ่นครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนและเสริมสร้างให้SMEs ไทยเข้มแข็งและแข็งแกร่งมากขึ้น โดยคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 5-กระทรวงอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในปี 2558
          ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มีโต๊ะญี่ปุ่นเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ด้านอุตสาหกรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่นทั้งในส่วนของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น อาทิ จังหวัดฟูกุโอกะ จังหวัดไซตามะ จังหวัดยามานาชิ จังหวัดโทโทริ จังหวัดอะคิตะ จังหวัดนากาโนะและจังหวัดโทยาม่า โดยในส่วนของธุรกิจ SMEs ไทยและญี่ปุ่น เคยร่วมมือกันมาบ้างแล้วในหลายโครงการ สำหรับการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการขยายความร่วมมือที่มีอยู่ให้เป็นรูปธรรม มากยิ่งขึ้น ตลอดจนการให้ความรู้และเสนอแนะประสบการณ์ด้านการพัฒนามหาวิทยาลัยและศูนย์บริการ SMEs (SMEs University) และการขยายศูนย์ ให้บริการทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ SMEs หรือ (Business Development Service Center) ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หลังจากพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานเสร็จสิ้นก็จะเดินหน้าดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ภายใต้งบประมาณ จากทั้งสองประเทศ ซึ่งคาดว่าการได้รับความร่วมมือจากประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างดีอีกครั้ง โดยเฉพาะการสร้างแรงขับเคลื่อนให้ธุรกิจ SMEs ของไทยขยายตัวขึ้น ตามสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว เนื่องจากญี่ปุ่นมีโครงสร้างการสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจ SMEs มาแล้วกว่า 7กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปี ดังนั้นแผนการพัฒนาธุรกิจ SMEs จึงมีความมั่นคง อีกทั้ง ผู้ประกอบการ SMEs ของญี่ปุ่นก็ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับ จากภาคธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งหลายด้วย ดร.วิฑูรย์ กล่าวสรุป
          สำหรับพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับ SMRJ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกัน โดยมี ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ มร. ฮิโรชิ ทากาดะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SMRJ เป็นผู้ลงนาม ในวันที่ 5 กันยายน 2557 ณ ห้องชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ โดยมีข้าราชการ และ นักธุรกิจญี่ปุ่นเข้าร่วมงาน 
          สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับศูนย์ธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สามารถสอบถามได้ที่ โทร. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 22กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม2 4426-7


ข่าวกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งเครื่อง+กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมวันนี้

ดีพร้อม พลิกโฉมธุรกิจ"หัตถอุตสาหกรรมไทย"ด้วยความรู้ใหม่ เชื่อมต่อเครือข่าย สู่เวทีระดับโลก! (THAI Craft to the World) พร้อม ชิงรางวัลเงินสดรวมกว่า 70,000 บาท!

กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) หรือ ดีพร้อม เปิดโอกาสครั้งสำคัญ รับสมัครคนในวงการ "หัตถอุตสาหกรรมไทย" ทั่วประเทศ ร่วมติวเข้มความรู้ เชื่อมต่อเครือข่าย สู่เวทีระดับโลก! (THAI Craft to the World) ในกิจกรรม "พัฒนาบุคลากรหัตถอุตสาหกรรมไทย" ภายใต้โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น (Fashion Alliance) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กิจกรรมที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ อบรมองค์ความรู้ด้านหัตถอุตสาหกรรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ศึกษาดูงานด้านหัตถกรรม

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPRO... ดีพร้อมระดมพล ปั้นนักรบซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่น ปักธงไทยในใจตลาดโลก! — กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนนโยบาย Soft Powe...

ภาพข่าว: กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งเครื่องรุกจับมือ “เอสเอ็มอาร์เจ” เดินหน้าเสริมแกร่ง SMEs ไทย-ญี่ปุ่น

ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายฮิโรชิ ทากาดะ ประธานและเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (Organization for Small & Medium...

กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งเครื่องไตรมาส 4 รุกจับมือ “เอสเอ็มอาร์เจ” เดินหน้าเสริมแกร่ง SMEs ไทย-ญี่ปุ่น

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เดินหน้าพัฒนา SMEs ไทยตามนโยบาย เสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ SMEs ผ่านการลงนามความร่วมมือกับองค์การ...