เตรียมพัฒนาทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติให้กระจายลงสู่พื้นที่อย่างครอบคลุม ผุดโครงการ ASEAN SURVEY สร้างเครือข่ายการช่วยเหลือภัยพิบัติในระดับอาเซียน
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข JICA และโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต เตรียมจัดงานสัมมนาถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิภูเก็ตเพื่อก้าวต่อไปของการป้องกันการสูญเสียให้เป็นศูนย์ (10 Years Tsunami Phuket : The Next Tsunami Zero Lost) ระหว่างวันที่ 7-12 ธันวาคม พ.ศ.2557 ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ โดยมีตัวแทนจาก 10 ประเทศอาเซียน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ภัยพิบัติ เข้าร่วมสัมมนาและถอดบทเรียนในครั้งนี้ด้วย
นพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการรำลึกเหตุการณ์ 10 ปีสึนามิที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย และในอีกหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงในหลายประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรมาช่วยกันถอดบทเรียนเพื่อหาแนวทางในการป้องกันหากมีเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้นอีก ซึ่งการประชุมในครั้งนี้นั้นจะแบ่งการประชุมออกเป็น 3 ส่วน โดยในวันที่ 7-9 ธันวาคม จะเป็นการประชุมในเชิงปฏิบัติการในเรื่องการเก็บสถิติข้อมูลและการศึกษาวิจัยในด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติเพื่อนำมาใช้ถอดบทเรียนองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกามาให้ความรู้ในเรื่องนี้ด้วย ส่วนในวันที่ 10-11 ธันวาคม จะเป็นการประชุมวิชาการ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติจากประเทศญี่ปุ่นมาให้ความรู้ในการจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน รวมถึงการถอดบทเรียนจากผู้ปฏิบัติการในเหตุการณ์สึนามิของประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน และการปาฐกถาจาก ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ในเรื่องการป้องกันและการเตรียมพร้อมในการจัดการภัยพิบัติของกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย
นอกจากนี้ในวันที่ 12 ธันวาคม 57 จะเป็นการประชุมของ 10 ประเทศอาเซียนเพื่อจัดวางกรอบการดำเนินงานร่วมกันในการพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพในภาวะภัยพิบัติ (Disaster Health Management) ซึ่งเป็นวาระสำคัญของอาเซียนบวกสาม (ASEANplus3) โดยมีประเทศไทยและประเทศเวียดนามเป็นประเทศผู้นำในการดำเนินงานหลังจากเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015 และมีประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้สนับสนุนทางด้านเทคนิควิชาการและงบประมาณบางส่วน โดยการประชุมครั้งนี้มุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ภัยพิบัติของ 10 ประเทศอาเซียน และหลังจากนี้จะมีโครงการ ASEAN Survey เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในแต่ละประเทศ รวมทั้งศึกษาแบบแผนการช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ภัยพิบัติของแต่ละประเทศเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะทำให้เกิดเครือข่ายในการให้ความช่วยเหลือ และเมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนเกิดเหตุภัยพิบัติ ประเทศภาคีเครือข่ายก็จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
นพ.ภูมินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศไทยนั้น ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติมาอย่างต่อเนื่อง โดยในทีมนี้จะมีบุคลากรครบทุกฝ่ายทั้งแพทย์ พยาบาล ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายสนับสนุน ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที โดยปัจจุบันได้มีการขยายทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติได้แล้วจังหวัดละ 1 ทีม ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อไปโดยให้แต่ละอำเภอมีทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติ ขนาดเล็กเป็นของตนเองด้วย
เตรียมพัฒนาทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติให้กระจายลงสู่พื้นที่อย่างครอบคลุม ผุดโครงการ ASEAN SURVEY สร้างเครือข่ายการช่วยเหลือภัยพิบัติในระดับอาเซียน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข JICA และโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต เตรียมจัดงานสัมมนาถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิภูเก็ตเพื่อก้าวต่อไปของการป้องกันการสูญเสียให้เป็นศูนย์ (10 Years Tsunami Phuket : The Next Tsunami Zero Lost) ระหว่างวันที่ 7-12 ธันวาคม พ.ศ.2557 ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ โดยมีตัวแทนจาก 10 ประเทศอาเซียน
บางจากฯ ร่วมยกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ปรับปรุงลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ส่งเสริมปฏิบัติการด้านความปลอดภัย
—
นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรม...
BSRC รับมอบเข็มเชิดชูเกียรติ ประจำปี 2567 จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
—
บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC รับมอบเข็มเชิดชูเกียรติ ประเภทส...
โรงแรมเซ็นทรา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ต้อนรับการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2567
—
สถาบันการแพทย์ฉุก...
INET ร่วมเสวนายกระดับการแพทย์ฉุกเฉินด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม iDEMS ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สพฉ. ศิริราชวิทยวิจัย และ สวทช.
—
เมื่อวันที่...
LINE ประเทศไทย ร่วมบริจาคแก่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน พร้อมอำนวยช่องทางบริจาคผ่าน LINE ดูดวง ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั่วประเทศ
—
LINE ประเทศไทย นำโดย ดร.พ...
การประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับนานาชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2566
—
วันที่ 18 ธันวาคม 2566 กาญจนา เรืองสิริวิชญกุล ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมเซ็นทรา บาย เ...
SPU พัฒนาศักยภาพคณาจารย์และนักศึกษา เรียนรู้ CPR ด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจ AED มุ่งช่วยเหลือสังคม
—
ศูนย์กิจกรรมพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ ร่วมมือกับ ศูน...
มูลนิธิกรุงศรีมอบเงิน 1 ล้านบาทแก่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หนุนยกระดับปฏิบัติการสู่ดิจิทัล
—
นายพูนสิทธิ์ ว่องธวัชชัย (ซ้าย) ผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิกรุงศรี ม...
ฟอร์ดชวนลูกค้าร่วมส่งมอบลานจอดเฮลิคอปเตอร์ให้โรงพยาบาลบ้านแม่เหว่ย จ. ตาก
—
ฟอร์ด ประเทศไทย ร่วมกับกลุ่มลูกค้าเจ้าของรถฟอร์ด เรนเจอร์ และฟอร์ด เรนเจอร์ แร...