การยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย โดยบริษัท Standard and Poor’s (S&P’s)

          นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยบริษัท Standard and PoorRจุฬารัตน์ สุธีธร7;s (S&PRจุฬารัตน์ สุธีธร7;s) ว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา จุฬารัตน์ สุธีธร2.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ น. ของประเทศไทย S&PRจุฬารัตน์ สุธีธร7;s ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินตราต่างประเทศ (Long-term/Short-term Foreign Currency Rating) ที่ระดับ BBB+/A-2 และอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินบาท (Long-term/Short-term Local Currency Rating) ที่ระดับ A-/A-2 พร้อมกับยืนยันแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) และยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยบน ASEAN Regional Scale ระยะยาวที่ axAA และระยะสั้นที่ axA-จุฬารัตน์ สุธีธร ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังได้ประเมินการเคลื่อนย้ายและความคล่องตัวในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคงที่อยู่ในระดับ A

           หลักการและเหตุผลของ S&P’s

          S&P’s ให้เหตุผลว่า สถานะภาคต่างประเทศของไทยยังมีความแข็งแกร่ง การมีหนี้รัฐบาลอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และการมีประวัติการดำเนินนโยบายการเงินที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ดีต่อการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย อย่างไรก็ดี ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและการเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในกลุ่มรายได้ต่ำ (Low-income Economy) ยังคงเป็นข้อจำกัดต่อการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย 
          S&P’s ชี้แจงว่า ปัจจัยที่ยังคงเป็นจุดแข็งต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ได้แก่ การมีสถานะการลงทุนระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งและมีสภาพคล่องที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่มากเพียงพอ การเกินดุลการชำระเงินเป็นเวลานานทำให้ไทยมีทุนสำรองที่สามารถรองรับดุลบัญชีเดินสะพัดได้ประมาณ 7.5 เดือน และการมีภาระหนี้ต่างประเทศสุทธิที่ยังอยู่ในระดับปานกลางที่ร้อยละ 26 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (ซึ่งเกือบร้อยละ 70 นั้นมาจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการลงทุนในหลักทรัพย์) และตามนิยามหนี้ต่างประเทศสุทธิอย่างแคบ ประเทศไทยมีฐานะเป็นเจ้าหนี้สุทธิคิดเป็นมูลค่ามากกว่าร้อยละ 20 ของบัญชีเดินสะพัด ณ สิ้นปี 2556 หนี้ต่างประเทศของภาคธนาคารและภาคเอกชนโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 115 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นหนี้ระยะสั้นประมาณครึ่งหนึ่ง S&P’s เชื่อว่า การปรับโครงสร้างหนี้จำนวนนี้อาจทำได้ยากหากทัศนคติต่อตลาด (Market Sentiment) ที่มีต่อประเทศไทยนั้นเสื่อมถอยลงอย่างมีนัยสำคัญและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน 
          S&P’s เห็นว่า การที่รัฐบาลได้เกินดุลในเบื้องต้นได้ช่วยรักษาระดับหนี้ของรัฐบาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และถึงแม้ว่าการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อผลที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดทางเศรษฐกิจจะทำให้หนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นก็ตาม S&P’s ก็ยังคาดว่า ในช่วง 3 ปีข้างหน้า หนี้ของรัฐบาลสุทธิจะยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ นอกจากนี้ ภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลที่คิดเป็นประมาณร้อยละ 7 ของรายได้ของรัฐบาลทำให้เกิดภาระต่อภาคการคลังในระดับปานกลางเท่านั้น
          S&P’s กล่าวอีกว่า อัตราเงินเฟ้อที่มีเสถียรภาพเป็นเสาหลักที่สำคัญของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและสะท้อนถึงประสิทธิภาพของนโยบายการเงินที่สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 3.1 ซึ่งแนวโน้มเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับที่เหมาะสมนี้ ได้ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของนโยบายทางการเงินและเอื้ออำนวยต่อการเติบโตของตลาดเงินในประเทศไทย รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของนโยบายทางการเงินอีกด้วย
          อย่างไรก็ดี S&P’s เห็นว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นจุดอ่อนหลักของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา การเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้งตั้งแต่ปี 2549 ทำให้การปฏิรูปโครงสร้างต่างๆ ต้องล่าช้าออกไป รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลด้วย และผลจากความไม่แน่นอนดังกล่าวจึงเป็นข้อจำกัดต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงจากการชุมนุมทางการเมืองได้สร้างความเสียหายแก่ภาคการท่องเที่ยวของประเทศอย่างรุนแรง และถึงแม้ว่ากองทัพได้ประกาศกฎอัยการศึกในสัปดาห์นี้ แต่กองทัพยืนยันว่าไม่ได้เป็นการพยายามช่วงชิงอำนาจมาจากรัฐบาลที่ยังคงรักษาการอยู่ ในมุมมองของ S&P’s เห็นว่าการดำเนินการของกองทัพอาจช่วยให้สถานการณ์มีเสถียรภาพโดยการยับยั้งข้อขัดแย้งรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดยได้มีการนำแกนนำทั้งสองฝ่ายมาเจรจาต่อรองร่วมกันเพื่อหาแนวทางการแก้ไขชั่วคราวเพื่อให้สามารถจัดการการเลือกตั้งได้อีกครั้ง
          S&P’s เห็นว่า ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุน และส่งผลให้แนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะใกล้ปรับลดลงด้วย ทั้งนี้ S&P’s ได้คาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวของไทยในปี 2557 ไว้ที่ 5,700 เหรียญสหรัฐ ซึ่งระดับรายได้นี้นับเป็นข้อจำกัดสำคัญต่ออันดับความน่าเชื่อถือของไทย และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในระยะกลางแม้ว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเติบโตในระดับเดียวกันกับในช่วงที่สภาวการณ์ทางการเมืองเป็นปกติ นอกจากนี้ S&P’s เห็นว่า ตัวชี้วัดด้านระดับรายได้ของประเทศไทย ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ สาธารณสุข และการศึกษา ยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า

          แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือ
          S&P’s กล่าวอีกว่า แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือที่มีเสถียรภาพนี้ สะท้อนถึงการคาดการณ์ของ S&P’s ว่า ประเทศไทยจะสามารถรักษาความแข็งแกร่งของภาคต่างประเทศ ภาคการคลัง และภาคการเงินภายใต้เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในปัจจุบันไว้ได้ภายใน 2 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี S&P’s อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยได้หากเสถียรภาพทางด้านการเมืองและสถาบันถดถอยลงไปมากกว่าที่ S&P’s สังเกตการณ์ไว้ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง S&P’s มองว่ามีโอกาสจะเกิดขึ้นได้หากมีความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย และ S&P’s อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือได้อีกหากตัวชี้วัดด้านการคลังหรือด้านเศรษฐกิจของประเทศอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญ 
          ในทางกลับกัน S&P’s อาจดำเนินการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือให้ประเทศไทยได้หากความไม่แน่นอนทางการเมืองคลี่คลายลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะช่วยให้ตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจและการเงินดีขึ้น โดย S&P’s มองว่าสถานการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นได้หากขั้วทางการเมืองหลักทั้งสองฝ่ายในประเทศไทยสามารถจัดการเจรจาหาข้อตกลงได้ในที่สุด 

          ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505, 5518
 
 
 
 

ข่าวสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ+จุฬารัตน์ สุธีธรวันนี้

สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2557 ดังนี้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 มีจำนวน 5,662,574.29 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 46.85 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,924,568.40 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,099,740.05 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 620,440.09 ล้านบาท และ หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 17,825.75 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะ

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกรกฎาคม 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกรกฎาคม 2557 ดังนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล 1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล ในเดือนกรกฎาคม 2557 กระทรวงการคลัง...

สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557 ดังนี้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2557 มีจำนวน 5,642,430.04 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 46.60 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3...

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนมิถุนายน 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนมิถุนายน 2557 ดังนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล 1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล ในเดือนมิถุนายน 2557 กระทรวงการคลัง...

สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2557 ดังนี้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2557 มีจำนวน 5,532,514.15 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 45.91 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,907...

การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะดำเนินการออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท...

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนพฤษภาคม 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนพฤษภาคม 2557 ดังนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล 1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล ในเดือนพฤษภาคม 2557 กระทรวงการคลัง...

สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 ดังนี้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2557 มีจำนวน 5,583,828.29 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.56 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,957,385...

ภาพข่าว: ผอ.สบน. แถลงผลการจัดหาเงินกู้แก่ ธ.ก.ส. วงเงิน 50,000 ล้านบาท

ผอ.สบน. แถลงผลการจัดหาเงินกู้แก่ ธ.ก.ส. วงเงิน 50,000 ล้านบาท นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงข่าวผลการจัดหาเงินกู้วงเงิน 50,000 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายในโครงการรับจำนำข้าวแก่ธนาคารเพื่อการเกษตร...

การยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทย และการปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเป็นลบ โดยบริษัท Rating and Investment Information, Inc. (R&I)

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับ ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยบริษัท Rating and...