สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557

          นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน จุฬารัตน์ สุธีธร557 ดังนี้
          ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 3สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ มิถุนายน จุฬารัตน์ สุธีธร557 มีจำนวน 5,64จุฬารัตน์ สุธีธร,43สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ4 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 46.6สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,933,จุฬารัตน์ สุธีธร34.3สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง,สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ84,68จุฬารัตน์ สุธีธร.35 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 6จุฬารัตน์ สุธีธรสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ,86สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง.จุฬารัตน์ สุธีธรจุฬารัตน์ สุธีธร ล้านบาท และ หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 3,65จุฬารัตน์ สุธีธร.สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง7 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ สถานะหนี้สาธารณะคงค้างสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ9,4สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง5.89 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น จุฬารัตน์ สุธีธร5,385.สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง5 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ลดลง 4,87สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง.5สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้น 88,9สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจุฬารัตน์ สุธีธร.จุฬารัตน์ สุธีธร4 ล้านบาทหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน จุฬารัตน์ สุธีธร557
1. หนี้ของรัฐบาล
          1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 3,273.47 ล้านบาท เนื่องจาก 
               1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 24.68 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 236.98 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสุทธิ 261.66 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ หลังจากที่ทำการป้องกัน ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว
                1.1.2 หนี้ในประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 3,298.15 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก
               - การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 1,182.93 ล้านบาท
               - การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลังสุทธิ 1,843 ล้านบาท
               - การเบิกจ่ายเงินกู้ 650 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 3,000 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)
               - การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 1,308.05 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 487.59 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 463.35 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 357.11 ล้านบาท
               - การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 26.87 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง 
               - การชำระคืนหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จำนวน 8,309 ล้านบาท
          1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 2,858.62 ล้านบาท โดยมีรายการที่สำคัญดังนี้
               - การออกพันธบัตรเพื่อไปคืนเงินทดรองจ่ายที่ยืมจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3) จำนวน 3,000 ล้านบาท
               - การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) จำนวน 141.38 ล้านบาทโดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1 ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี
          1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 25,800 ล้านบาท เนื่องจากมีการกู้เงินล่วงหน้า (Pre-funding) เป็น R-bill จำนวน 25,800 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรออมทรัพย์ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ ที่จะครบกำหนดในวันที่ 13 กรกฎาคม 2557 จำนวน 30,000 ล้านบาท เนื่องจากในวันดังกล่าวจะมีพันธบัตรออมทรัพย์ภายใต้ พ.ร.ก.ไทยเข้มแข็งครบกำหนดอีกจำนวน 50,000 ล้านบาท ทำให้ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2557 จะมีพันธบัตรครบกำหนดชำระรวม 80,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เงินกู้ล่วงหน้าที่ได้จะนำไปให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศบริหารลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ให้เกิดผลตอบแทนและลดต้นทุนในการทำ Pre-funding

2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
          2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
               2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,153.03 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 416.94 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 736.09 ล้านบาท
               2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 2,075.28 ล้านบาท เนื่องจาก
               - องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตร 4,400 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 3,782 ล้านบาท
               - บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการเคหะแห่งชาติไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,500 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ
               - การรถไฟแห่งประเทศไทยชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ที่ครบกำหนด 193.28 ล้านบาท 
          2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
               2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,358.66 ล้านบาท การลดลงที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ
               2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 284.53 ล้านบาท เนื่องจาก
               - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกพันธบัตร 1,200 ล้านบาทและไถ่ถอนพันธบัตร 813.02 ล้านบาท 
               - รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 671.51 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 1,661.22 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 2,332.73 ล้านบาท

3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 
          3.1 หนี้ต่างประเทศ
               หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 32.16 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 6.92 ล้านบาท ประกอบกับการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลง 25.24 ล้านบาท
          3.2 หนี้ในประเทศ
               หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 88,934.40 ล้านบาท เนื่องจาก
               - ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท 
               - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 89,934.40 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 90,000 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 65.6 ล้านบาท
          ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
4. หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 
          หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
          หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2557 มีจำนวน 5,642,430.04 ล้านบาท ซึ่งหากแบ่งประเภทหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้น มีรายละเอียด ดังนี้
หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,642,430.04 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 382,072.15 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.77 และหนี้ในประเทศ 5,260,357.89 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.23 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
           หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,642,430.04 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,495,284.02 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.39 และหนี้ระยะสั้น 147,146.02 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.61 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
          หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,642,430.04 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 4,728,874.57 ล้านบาท หรือร้อยละ 83.81 และหนี้ระยะสั้น 913,555.47 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.19 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
 
          ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512,5522

ข่าวสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ+สถานะหนี้สาธารณะคงค้างวันนี้

ภาพข่าว: การประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนการบริหารหนี้สาธารณะและติดตามโครงการเงินกู้ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ครั้งที่ 3/2561

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนการบริหารหนี้สาธารณะและติดตามโครงการเงินกู้ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ครั้งที่ 3/2561 โดยมีนายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สบน. ร่วมการประชุม ซึ่ง สบน. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้างและความเสี่ยง สภาวะตลาดตราสารหนี้ในประเทศ รวมทั้งรายงานความคืบหน้าแผนการแก้

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2559

นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษา ด้านตลาดตราสารหนี้ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะ คงค้าง ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 สิงหาคม 2559 มีจำนวน 5,949,330.64 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.64 ของGDP โดย...

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2559

นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 มิถุนายน 2559 มีจำนวน 5,924,055.53 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.83 ของ GDP โดยแบ่งเป็น...

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2559 และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดย สบน. ประจำเดือน พ.ค. 2559

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 พฤษภาคม 2559 มีจำนวน 5,977,353.33 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ...

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2559

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 พฤษภาคม 2559 มีจำนวน 5,977,353.33 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.35 ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,415,020.02 ล้านบาท...

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2559

นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะ คงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 เมษายน 2559 มีจำนวน 6,050,595.88 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.09...

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2559

นางสุณี เอกสมทราเมษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน ในฐานะรองโฆษกสำนักงานบริหาร หนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะ คงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 มีนาคม 2559 มีจำนวน 6,013,649.86...

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559

นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 29 กุมภาพันธ์ 2559 มีจำนวน 6,005,787.17 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ...

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้างและผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2559

นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 มกราคม 2559 มีจำนวน 5,980,660.67 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.06...

รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558

นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2558 มีจำนวน 6,005,124.74 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44...