กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปรับกลยุทธ์และวิธีการกำจัดตัว“เรือด”แมลงที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศหลังพบข้อมูลชี้ช่วง 2-3ปีที่ผ่านมายังคงมีการตรวจเจอตัวเรือดอย่างต่อเนื่องหวั่น!! กระทบต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวหลังเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับกลยุทธ์การกำจัดแมลงที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขว่า“ตัวเรือด”หรือ “เบด บั๊ก” bed bug เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและเป็นปัญหาของหน่วยงานหลายๆแห่ง ซึ่งตัวเรือดจะสามารถแพร่ขยายพันธุ์และเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว และมักซ่อนตัวอยู่ตามที่นอน ซอกเตียง เก้าอี้ พื้นกระดานและรอยแตกของอาคาร โดยเฉพาะตามที่สาธารณะเช่น โรงแรม โรงหนัง ค่ายทหาร โรงเรียน ในรถไฟและรถยนต์หรือแม้แต่บนเครื่องบินฯลฯ ในต่างประเทศมีรายงานการพบตัวเรือดมากขึ้นในหลายทวีป เช่น อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป ออสเตเลีย และเอเชีย ส่วนประเทศไทยจากการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาตัวเรือดในโรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ในแหล่งที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่าในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมายังคงมีการตรวจเจอตัวเรือดอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะส่วนใหญ่ตัวเรือดมักจะติดมากับเสื้อผ้าของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เมื่อเข้ามาพักในโรงแรม จึงอาจมีการขยายพันธุ์ อาศัยและซ่อนตัววางไข่อยู่ตามร่องไม้หัวเตียง ใต้ที่นอน ตามขอบหรือตะเข็บที่นอน
“ตัวเรือด”นอกจากจะก่อความรำคาญจากการกัดและรบกวนการนอนของคน ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายทรุดโทรม โปรตีนจากน้ำลายยังมีพิษทำให้ผิวหนังบริเวณที่ถูกกัดมีอาการบวม ผื่นแพ้และอักเสบ และตัวเรือดยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากบุคคลหนึ่งไปอีกคนหนึ่งได้ กรณีที่ตัวเรือดไปกัดคนที่มีเชื้อดังกล่าว นอกจากนี้ ยังสามารถแพร่ เชื้อทริพาโนโซมา ครูไซ (Trypanosoma cruzi) ซึ่งเป็นเชื้อพยาธิในเลือดได้ด้วย โดยล่าสุดงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาเมื่อปี 2554 ยังระบุอีกว่าตัวเรือดดื้อต่อยาปฏิชีวนะด้วย จึงทำให้เกิดอุปสรรค์และยากต่อการควบคุม หากมีการระบาดของตัวเรือดเกิดขึ้น นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายแล้วอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรมของประเทศได้ในระยะยาว
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ร่วมกับบุคลากรด้านกีฏวิทยาและเจ้าหน้าที่ของโรงแรม รวมถึงผู้ให้บริการกำจัดแมลงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับกลยุทธ์การกำจัดแมลงที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะตัวเรือด พร้อมจัดทำคู่มือสำหรับการป้องกันกำจัดเรือดในโรงแรมและที่พักอาศัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของตัวเรือด แนะนำเทคนิควิธีในการป้องกันกำจัดตัวเรือดอย่างถูกต้องโดยใช้วิธีการผสมผสานหลายๆ ด้าน เช่น การสำรวจและประเมินผลก่อนและหลังการควบคุม การควบคุมโดยใช้วิธีทางกายภาพที่เหมาะสม การจัดการสภาพแวดล้อมของแหล่งที่พบ การใช้สารเคมีกำจัด และการทดสอบความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงที่ใช้ รวมถึงการใช้เครื่องมือกำจัดแมลงที่เหมาะสม โดยล่าสุดได้มีการทดลองใช้เครื่องพ่นไอน้ำความร้อนสูง Stemar ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ใช้พลังไอน้ำที่มีความร้อนสูงถึง 180 องศาเซลเซียส ฉีดพ่นในบริเวณแหล่งอาศัยของตัวเรือดทำให้ตัวเรือดตายทันทีเมื่อสัมผัสกับไอน้ำ ปราศจากการใช้สารเคมีและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะนี้กำลังมีการพิจารณาให้องค์กรและหน่วยงานที่ให้ความสนใจได้มีโอกาสนำเทคโนโลยีชนิดนี้ไปใช้งานต่อไป./นพ.อภิชัยกล่าวปิดท้าย
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 (Biosafety Level 3 laboratory) ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีพันธกิจบริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิง ทั้งนี้ ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อชันสูตรโรค ที่เกิดจากเชื้อโรคอันตราย จำเป็นต้องทำในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสริมความรู้ผู้ประกอบการโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ และพังงา เฝ้าระวังตัวเรือด เชื้อลีจิโอเนลลา และเชื้อไวรัสโนโร ด้วย 3C
—
กรมวิทยาศาส...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสริมความรู้ความเข้าใจ ระบบคุณภาพ OECD GLP สร้างความเข้มแข็งหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ
—
สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศา...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยโควิด 19 สายพันธุ์ JN.1* ยังเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในไทย แนะกลุ่มเสี่ยงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
—
นายแพทย์ยงย...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาคุณภาพการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เพิ่มความแม่นยำในการรักษาเบาหวาน
—
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิท...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดบ้านให้นักเรียน ชมห้องแล็บ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดบ้านให้คณะครูและนักเรีย...