หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 มีนาคม 2559 มีจำนวน 6,013,649.86 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.03 ของ GDP* โดยแบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,431,683.97 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,039,910.82 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 525,523.70 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 16,531.37 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 7,862.69 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
v หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,431,683.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 16,332.21 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
· การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 5,759.52 ล้านบาท มีรายการ ดังนี้
1. การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ จำนวน 5,586.43 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย จำนวน 950.44 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และสายสีม่วง การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 4,635.99 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง
2. การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 172 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)
3. การเบิกจ่ายเงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง จำนวน 1.09 ล้านบาท
· การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ที่จะครบกำหนดในวันที่ 9 มิถุนายน 2559
· การชำระหนี้เงินต้น และดอกเบี้ย จากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 9,564.85 ล้านบาท แบ่งเป็น
· การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 12,078.84 ล้านบาท แบ่งเป็นชำระเงินต้น จำนวน 8,300 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย จำนวน 3,778.84 ล้านบาท
· ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ ลดลง 388.07 ล้านบาท
v หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,039,910.82 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 4,571.53 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
· การออกตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 4,000 ล้านบาท
· การไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 3,000 ล้านบาท
· การชำระคืนหนี้เงินต้นมากกว่าการเบิกจ่ายทำให้หนี้ลดลง 5,751.90 ล้านบาท โดยรายการ ที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 6,195.77 ล้านบาท
· ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ ลดลง 390.27 ล้านบาท
v หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 525,523.70 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 2,999.26 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 2,999.52 ล้านบาท
v หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 16,531.37 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 898.73 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 866.26 ล้านบาท
ในเดือนมีนาคม 2559 สบน. มีการบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 13,590 ล้านบาท โดยเป็น การกู้เงินในประเทศของการประปาส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 590 ล้านบาท และการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และการเคหะแห่งชาติ จำนวน 10,000 และ 3,000 ล้านบาท ตามลำดับ
หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2559 เท่ากับ 6,013,649.86 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,659,858.61 ล้านบาท หรือร้อยละ94.12 และหนี้ต่างประเทศ 353,791.25 ล้านบาท (ประมาณ 10,196.31 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 5.88 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และแบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 5,205,274.86 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 86.56 และหนี้ระยะสั้น 808,375 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.44 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505 5512 และ 5520
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit