อันดับตามจำนวนหน่วย
จากจำนวนบริษัททั้งหมดประมาณ 400 บริษัท สามารถจัดเรียงตามจำนวนหน่วยที่เปิดตัวใหม่ในครึ่งปีแรกของปี 2557 ได้ ทั้งนี้สำหรับอับดับตามจำนวนหน่วยเป็นดังนี้
อันดับ
ชื่อบริษัท
จำนวนโครงการ
จำนวนหน่วยเปิดใหม่
สัดส่วนจากทั้งตลาด
1
บมจ.พฤกษาเรียลเอสเตท
32
9,116
18.30%
2
บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลอปเมนท์
5
6,448
12.90%
3
บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) + เอพี เอ็มอี (กรุงเทพ)
11
3,238
6.50%
4
บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์
8
2,660
5.30%
5
บมจ.แสนสิริ
5
2,308
4.60%
6
บจก.แกรนด์ยูนิตี้ดิเวลล็อปเมนท์ (บมจ.ยูนิเวนเจอร์ TCC)
3
2,163
4.30%
7
บมจ.ศุภาลัย
4
1,872
3.80%
8
บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ + คาซาวิลล์ + กัสโตวิลเลจ
5
1,232
2.50%
9
บจก.รื่นฤดีดีเวลล็อปเมนท์
3
1,011
2.00%
10
บจก.พนาสนธิ์ พร็อพเพอร์ตี้
1
909
1.80%
11
บจก.ไอริสกรุ๊ป
1
900
1.80%
12
บมจ.เจ. เอส. พี. พร็อพเพอร์ตี้
1
874
1.80%
13
บจก.สิรารมย์7
2
647
1.30%
14
บจก.สยามนุวัตร
1
622
1.20%
15
บจก.วี.วี.พร๊อพเพอร์ตี้ กรุ๊ป
1
585
1.20%
16
บมจ.อีสเทอร์นสตาร์เรียลเอสเตท
1
554
1.10%
17
บจก.เคหะกำจร
1
546
1.10%
18
บจก.กานดาเดคคอร์
2
541
1.10%
19
บจก.พิศาลแลนด์
1
479
1.00%
20
บจก.อัลไบร์ทโฮลดิ้งส์
1
471
0.90%
อันดับตามมูลค่าโครงการ
ส่วนหากพิจารณาจากมูลค่าของหน่วยขายที่เปิดใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 จะสามารถอับดับตามมูลค่าได้ ดังนี้
อันดับ
ชื่อบริษัท
มูลค่า (ล้านบาท)
สัดส่วนจากทั้งตลาด
1
บมจ.พฤกษาเรียลเอสเตท
22,576
16.40%
2
บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) + เอพี เอ็มอี (กรุงเทพ)
13,841
10.00%
3
บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์
12,555
9.10%
4
บมจ.แสนสิริ
7,737
5.60%
5
บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลอปเมนท์
7,562
5.50%
6
บ.แกรนด์ยูนิตี้ดิเวลล็อปเมนท์ (บมจ.ยูนิเวนเจอร์ TCC)
6,608
4.80%
7
บมจ.ศุภาลัย
4,329
3.10%
8
บจก.สยามนุวัตร
3,638
2.10%
9
บจก.อัลไบร์ทโฮลดิ้งส์
2,889
1.80%
10
บจก.รื่นฤดีดีเวลล็อปเมนท์
2,529
1.20%
11
บมจ.ปริญสิริ
2,126
1.50%
12
บมจ.อีสเทอร์นสตาร์เรียลเอสเตท
1,896
1.40%
13
บจก.พนาสนธิ์ พร็อพเพอร์ตี้
1,710
1.20%
14
บจก.เฟรเกรนท์พร็อพเพอร์ตี้
1,625
0.90%
15
บจก.กานดาเดคคอร์
1,307
0.80%
16
บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ + คาซาวิลล์ + กัสโตวิลเลจ
1,232
2.50%
17
บมจ.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้
1,157
0.80%
18
บจก.วี.เอ็ม.พี.ซี.
1,142
0.70%
19
บจก.ไอริสกรุ๊ป
990
0.70%
20
บจก.พิศาลแลนด์
905
0.60%
ภาพเปรียบเทียบ
จะเห็นได้ว่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดก็คือ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท โดยมีนายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์เป็นประธานคณะกรรมการ ทั้งนี้มีหน่วยขายเปิดใหม่ 9,116 หน่วย จาก 32 โครงการ หรือมีสัดส่วนถึง 18.3% ของทั้งตลาด หรือเกือบหนึ่งในห้าของทั้งตลาด และหากพิจารณาจากมูลค่าที่เปิดใหม่ ณ 22,576 ล้านบาท ก็จะมีสัดส่วน 16.4% ของทั้งตลาด หรือหนึ่งในหกของทั้งตลาดนั่นเอง
ในแง่ของจำนวนหน่วย บริษัท 10 อันดับแรก ครองส่วนแบ่งในตลาดถึง 62.1% แต่ในแง่มูลค่าครองอยู่ 59.6% และเมื่อพิจารณารวม 20 บริษัทแรก ปรากฏว่า 74.6% หรือสามในสี่อยู่ในมือของผู้ประกอบการ 20 รายแรก แต่ในแง่มูลค่า 20 รายแรกครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ 70.8% สถานการณ์ในยามนี้ จึงยังไม่ค่อยมีบริษัทขนาดเล็กลงแข่งขันมากนัก เพราะสถานการณ์ยังมีความไม่มั่นคงพอสมควร ในอนาคต หากสถานการณ์ดีขึ้นคงจะมีบริษัทเข้ามาในตลาดที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
อาจกล่าวได้ว่าขนาดของ บมจ.พฤกษาเรียลเอสเตท มีมูลค่าการพัฒนาโครงการรวมกันมากกว่าการเคหะแห่งชาติที่เป็นรัฐวิสาหกิจเสียอีก (หากไม่นับรวมจำนวนที่อยู่อาศัยที่อยู่ในโครงการปรับปรุงชุมชนแออัด และบ้านในโครงการเอื้ออาทร) เป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์มากที่บริษัทแห่งนี้เติบโตขึ้นมาในระยะ 20 ปีที่ผ่านมาจากบริษัทรับเหมาสร้างบ้านให้บริษัทมหาชนรายใหญ่ในสมัยก่อน และทำโครงการราคาถูกในระยะแรก ๆ จะก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทอันดับหนึ่งติดต่อกันมาหลายปีอาจกล่าวได้ว่าบริษัทพัฒนาที่ดินไทยทั้งบริษัทมหาชนและบริษัทเอกชนทั่วไปสามารถแบกรับภาระการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนโดยรัฐบาลไม่ต้องใช้เงินภาษีอากรเข้าอุดหนุน หรือเป็นทุนในการดำเนินการเช่นในกรณีรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งยังสามารถสร้างกำไรได้ดี จนเป็นบริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่ง
รัฐบาลจึงควรส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยของภาคเอกชน รวมทั้งการร่วมมือกันจัดหาที่ดินเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัของภาคเอกชนมากกว่าที่จะดำเนินการเอง ยกเว้นโครงการปรับปรุงชุมชนแออัด หรือโครงการที่จำเป็นอื่น ๆ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit