เผยคนไทยเข้าสู่ภาวะ ทั้งแก่ทั้งจน แนะรัฐทบทวนนโยบายเร่งด่วน

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--มจธ.

นักวิจัยมจธ.-จุฬาฯ เผยไทยเข้าสู่ยุคคนชราแบบ “แก่และจน” มากกว่าครึ่งประเทศห่วงรัฐกึ่งสวัสดิการแบบไทยๆ เอาไม่อยู่ปล่อยปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้โตเกิน แนะภาครัฐทบทวนและรื้อนโยบายกระจายความช่วยเหลือใหม่ และเตรียมงานวิจัยเพื่อทบทวนการยืดอายุเกษียน ผลงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศ” ที่ทีมวิจัยเพิ่งได้รับรางวัลจากงานวิจัยดีเด่นจากสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กลายเป็นข้อมูลสำคัญที่อาจทำให้ประชากรไทยถึงกับอึ้งเมื่อพบว่า อีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า “ผู้สูงอายุไทยกว่า 60-70 เปอร์เซ็นต์กำลังจะกลายเป็นคนแก่ที่จนไปพร้อมๆ กัน” งานวิจัยดังกล่าวเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยของวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ประกอบด้วย ดร.ปภัศร ชัยวัฒน์ และ ดร.สวรัย บุณยมานนท์ จากคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนมาตั้งแต่ปี 2529-2552 จำแนกประชากรออกเป็น 4 กลุ่มตามช่วงอายุ โดยมุ่งวิเคราะห์ผลกระทบต่อความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่เกิดภายในแต่ละกลุ่มอายุประชากร และความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มอายุประชากร ตลอดจนวิเคราะห์ความแตกต่างทางรายได้ระหว่างประชากรสูงอายุด้วยกัน และปัจจัยกำหนดที่มีอิทธิพลต่อความแตกต่างทางรายได้ ดร.ปภัศร ชัยวัฒน์ ประธานหลักสูตรการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ (EPM) บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม หนึ่งในทีมวิจัยเปิดเผยว่า ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าประชากรในแต่ละกลุ่มอายุ มีลักษณะเฉพาะทางประชากร สังคม และเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรสูงอายุ ซึ่งพบว่าเป็นกลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่ำที่สุด ส่วนใหญ่ไม่มีรายได้หรือรายได้ต่ำ ทั้งนี้รายได้ส่วนใหญ่มาจากเงินช่วยเหลือเป็นหลัก และในขณะเดียวกันประชากรกลุ่มสูงอายุ ยังมีความแตกต่างทางรายได้ภายในกลุ่มสูงที่สุด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” “ความเหลื่อมล้ำกันเองของกลุ่มผู้สูงอายุมีสูง เพราะมีผู้สูงอายุไม่กี่คนที่ถือครองรายได้จำนวนมากไว้จำนวนมากคนละหลายหมื่นล้าน ในขณะที่คนแก่บางคนทั้งแก่และจนแบบต้องการความช่วยเหลือมีจำนวนมากกว่าถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในภาคใต้ เนื่องด้วยคนแก่ในจังหวัดภูเก็ต หาดใหญ่ สงขลา จะมีฐานะร่ำรวยมาก ในขณะที่คนแก่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ต้องการความช่วยเหลือ วันนี้สังคมไทยมีสถาบันครอบครัวที่มีความเข้มแข็ง สามารถจุนเจือเลี้ยงดู ทำให้ปัญหาเหล่านี้ไม่เด่นชัดเท่าที่ควร แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ในอนาคตวัยรุ่นไทยหรือวัยทำงานอาจรับภาระนี้ไม่ไหว เนื่องจากอัตราภาระการพึ่งพิงสูงจะเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับผู้สูงอายุส่วนใหญ่อายุยืน อาจส่งผลให้ปัญหาถึงจุดอิ่มตัวในไม่ช้า เรากำลังส่งสัญญาณไปยังภาครัฐว่าหากวันนี้ภาครัฐไม่หามาตรการมารองรับปัญหานี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน” ดร.ปภัศร กล่าวด้วยว่า บทสรุปของงานวิจัยระบุถึงทางออกของปัญหาว่าลำดับแรกคนไทยจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการวางแผนชีวิตหลังเกษียนตั้งแต่เนิ่นๆ ต้องคิดว่าถ้าลูกไม่เลี้ยงจะทำอย่างไร ต้องมีเงินจำนวนเท่าไหร่ต่อเดือนถึงอยู่ได้อย่างพอเพียงและไม่พึ่งพา ยังมีกรณีของเบี้ยยังชีพคนชราในปัจจุบันที่ ดร.ปภัศร ระบุว่าเป็นไม่ได้เป็นการปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในกลุ่มผู้สูงอายุอย่างชัเดจน เนื่องจากภาครัฐไม่สามารถกระจายเงินดังกล่าวไปถึงยังผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามป่าเขา หรือแหล่งท้องที่กันดาร ดังนั้นแม้ว่าวันนี้ประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่กลับไม่สามารถกระจายประโยชน์ดังกล่าวไปทั่วถึงทุกกลุ่ม ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์แล้วนับว่าเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาในการกระจายรายได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ อาทิ ภาษีทางตรงเพื่อดึงประโยชน์จากคนร่ำรวย มาดูแลคนที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนา อาทิ ผู้สูงอายุ มากขึ้น “ภาครัฐต้องมีนโยบายที่สร้างแรงจูงใจให้วัยแรงงานวางแผนหลังการเกษียณอายุ ซึ่งทีมวิจัยได้เสนอในเรื่องของการทำประกันรายได้ผู้สูงอายุ และการใช้ประโยชน์จากภาษีทางตรงให้มากขึ้น อย่างไรก็ดีในการศึกษาต่อเนื่องนั้น ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความเป็นไปได้ในการยืดอายุระยะเกษียนออกไปให้มากกว่า 60 ปี ของไทย อีกทั้งคนไทยต้องลดวายาคติที่มองว่าคนแก่ไร้ประโยชน์อย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันหากมีการขยายอายุเกษียน ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี จะต้องมีการปรับตัว โดยอาจจัดสรรเวลาการทำงานและตำแหน่งงานอย่างเหมาะสม เพื่อเปิดทางให้วัยทำงานได้สร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อย่างเต็มศักยภาพ ขณะเดียวกันรัฐอาจต้องนำนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุมารื้อฟื้นใหม่ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยรัฐไม่จำเป็นต้องสร้างนโยบายช่วยเหลือทุกกลุ่ม แต่ควรดูแลอย่างทั่งถึงในกลุ่มที่มีความต้องการอย่างแท้จริง อย่างกรณีเบี้ยชราภาพ ซึ่งจากตัวเลขสถิติในปัจจุบัน ยังพบการกระจายของเงินช่วยเหลือดังกล่าวที่ไม่ทั่วถึง และไม่พอเพียงต่อการดำรงชีพ อีกทั้งในอนาคตที่สำนักงานประกันสังคมจะต้องจ่ายเบี้ยชราภาพแบบบำนาญอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่าจะมีผลกระทบต่อฐานะเงินกองทุนในลักษณะใดในระยะยาว ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาณเตือนอันแรกที่สังคมไทยจำเป็นต้องระวังมากขึ้น” -กภ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว+พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์วันนี้

พม. จัดงานวันสตรีสากล ประจำปี ๒๕๕๘ ภายใต้แนวคิด “๒ ทศวรรษปฏิญญาปักกิ่งฯ : เสริมพลังสตรี สร้างพลังสังคม”

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) จัดงานวันสตรีสากล ประจำปี ๒๕๕๘ ภายใต้แนวคิด “๒ ทศวรรษปฏิญญาปักกิ่งฯ : เสริมพลังสตรี สร้างพลังสังคม” โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและเสริมศักยภาพสตรีในทุกมิติ โดยนำศักยภาพและความแตกต่างระหว่างหญิงชายมาใช้อย่างสร้างสรรค์ สร้างความตระหนักต่อสังคมในเรื่องศักดิ์ศรีความ

ภาพข่าว: บรรยายพิเศษ

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประธานพิธีเปิดงานกิจกรรมพัฒนาสมรรณะในการปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารองค์การ และบรรยายพิเศษ หัวข้อ ประสบการณ์การบริหารงานของผู้บริหาร (ตาม...

พม.จัดงานวันสตรีสากล : นายสมชาย เจริญอำนว... ภาพข่าว: พม.จัดงานวันสตรีสากล — พม.จัดงานวันสตรีสากล : นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผอ.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย ร่วมแถลงข่าว...

พม. เพิ่มสมรรถนะพนักงานสอบสวนคุ้มครองเด็ก สตรี จากการค้ามนุษย์ ความรุนแรงทางเพศ และ ความรุนแรงในครอบครัว ที่จังหวัดนครพนม

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ UN Women และมูลนิธิเพื่อนหญิง จัดการประชุม...

ปพม. ประธานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การช่วยเหลือหญิงไทยในต่างประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์ www.yingthai.net

นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การช่วยเหลือหญิงไทยในต่างแดนผ่านทางเว็บไซค์ www.yingthai.net...

พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่ากา... ภาพข่าว: พม. เปิดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว ประจำปี 2557 — พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม...

พม. ขอเชิญชวนทุกภาคส่วนร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว ประจำปี ๒๕๕๗ ภายใต้แนวคิด “Start to stop Violence

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้เกียรติถ่ายภาพร่วมกับ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พัฒนาสังคม...

พม. จัดการสัมมนา เรื่อง “เวทีฟังเสียงผู้หญิง ก่อนร่างรัฐธรรมนูญ”

นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) เป็นประธานเปิดการสัมมนา เรื่อง “เวทีฟังเสียงผู้หญิง ก่อนร่างรัฐธรรมนูญ” เพื่อระดมความคิดเห็นจากสตรีในภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับข้อเสนอในการร่างรัฐธรรมนูญ ที่เน้น...

ซุบซิบ: หญิงเก่ง!!

เป็นหญิงเก่งคนหนึ่งเลยทีเดียว สำหรับ ดร.อรนุช แสงสุริยจันทร์ ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการเสียสละและอุทิศตนเพื่อสังคม ในฐานะนายกสโมสรซอนต้าสากลกรุงเทพฯ 1 ล่าสุด เพิ่งเข้ารับรางวัลพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน “วันสตรีไทย ประจำปี 2557” ภายใต้...

ภาพข่าว: สตรีไทยดีเด่น

ดร.อรนุช แสงสุริยจันทร์ (ที่ 4 จากซ้าย) นายกสโมสรซอนต้าสากลกรุงเทพฯ 1 เข้ารับรางวัลพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน “วันสตรีไทย ประจำปี 2557” ภายใต้แนวคิด “พลังสตรีไทย พลังสามัคคี...สู่สากล” ซึ่งสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับสำนักงานกิจการสตรี...