กรุงเทพฯ--14 ส.ค.--แอมฟินิกซ์ สตราติจิกส์ แบรนด์ คอมมูนิเคชั่น
อาการผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านก่อนวัยอันควร เป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจอยู่ไม่น้อย แนวโน้มปัญหาผมร่วงจนถึงขั้นศีรษะล้านพบมากถึง 1 ใน 3 สำหรับผู้ชาย แต่ในผู้หญิงกลับพบอาการเหล่านี้เพียง 1 ใน 10 เท่านั้น ซึ่งสาเหตุหลักของอาการผมร่วงผมบางนั้น 95% มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ อีก 5% เกิดจากโรคบางชนิดและปัจจัยอื่นๆ เช่นผมร่วงชนิดเป็นหย่อมโรคของต่อมไทรอยด์โรคโลหิตจาง ภาวะหลังคลอดบุตร แต่สาเหตุจากกรรมพันธุ์มักสูญเสียเส้นผมอย่างถาวร ในเพศชาย มักเริ่มจากมีการถอยร่นของแนวผมด้านหน้าลึกเข้าไปเป็นง่าม และเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุ บางรายอาจมีศีรษะล้านตรงกลางและด้านหลังร่วมด้วย และอาจมีอาการเพิ่มมากขึ้นจนลามเข้าหากันกลายเป็นศีรษะล้านบริเวณกว้าง แต่ในเพศหญิงมีรูปแบบที่แตกต่างจากผู้ชาย คือจะมี ผมบาง หรือ ศีรษะล้าน เฉพาะตรงบริเวณกลางศีรษะเท่านั้น
แนวทางการแก้ไขปัญหาเส้นผมอ่อนแอหลุดร่วงนั้นแบ่งได้หลักๆ เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. การรักษาโดยการทำทรีตเมนต์บำรุงผม การกายภาพหนังศีรษะ การรับประทานยาและทายาเพื่อลดฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการงอกใหม่ของเส้นผม ผลข้างเคียงของวิธีนี้ จะทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงในผู้ชาย ส่วนในผู้หญิงอาจทำให้ภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล
2. การรักษาโดยการปลูกถ่ายเส้นผม (Hair Transplantation) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเห็นผลได้อย่างชัดเจน การปลูกผมในปัจจุบันมีการพัฒนาและเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีคนไข้ที่เข้ารับการรักษาสูงถึง 800,000 คนต่อปีทั่วโลก โดยวิธีที่ถือว่าเป็นพื้นฐานในการปลูกผมคือ วิธีการผ่าตัดนำหนังศรีษะมาคัดแยกและปลูก หรือ Strip-excision harvest ซึ่งขั้นตอนจะเริ่มจากการผ่าตัดหนังศรีษะที่ลึกลงไปถึงชั้นรากผมมาส่วนหนึ่ง จากนั้นทำการเฉือนทีละชิ้นเพื่อคัดแยกรากผมให้เป็นกอๆละ 1-4 เส้นผม จากนั้นนำไปปลูก ณ บริเวณที่ต้องการ ทั้งนี้การผ่าตัดด้วยวิธี strip นั้นจำเป็นต้องใช้แพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี แต่ก็มีอยู่บางส่วนที่แพทย์ไม่มีประสบการณ์จากการผ่าตัดแบบ strip มาก่อน จึงทำให้ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพที่ดีไม่พอ
ข่าวดีล่าสุดเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยที่พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น นั่นคือ ARTAS หุ่นยนต์ปลูกผมอัตโนมัติ 4 มิติ (4D Hair Transplant Robot) ที่พัฒนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา และทางฟิลเทค เอ็นเตอร์ไพรส์ กำลังจะนำเข้ามาใช้ในเมืองไทยเป็นครั้งแรกปลายเดือนมิถุนายนนี้ โดยดร.มาร์ค บิชาร่า แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมพลาสติก เปิดเผยว่า ARTAS หุ่นยนต์ปลูกผมอัตโนมัติ 4 มิติ ผ่านมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา หรือ FDA (Food and Drug Administration) เมื่อปี 2554 และผ่านการรับรองคุณภาพโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศไทย เมื่อต้นปี 2556
การทำงานของ ARTAS หุ่นยนต์ปลูกผมอัตโนมัติ 4 มิติ จะคล้ายกับการทำงานของแขนกลปลูกผม แต่ช่วยสนับสนุนการทำงานของแพทย์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในการผ่าตัดปลูกถ่ายรากผมแบบอัตโนมัติ ที่ปลายแขนของหุ่นยนต์ ARTAS จะมีระบบกล้องที่มองเห็นภาพได้เสมือนสายตาคน ซึ่งจะช่วยวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆ เช่น ทิศทางการงอกของเส้นผม องศาและความลึกของรากผมทุกเส้นก่อนทำการเจาะรากผม จึงได้รากผมที่มีคุณภาพดีเท่ากันทุกเส้น และมีอัตราการอยู่รอดของเส้นผมสูง หุ่นยนต์ ARTAS ยังมีระบบเซนเซอร์วัดแรงกดของเข็ม โดยจะไม่เจาะเกินบริเวณที่เป็นตำแหน่งปลอดภัยของศีรษะ นอกจากนี้ยังมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของคนไข้ระหว่างทำการผ่าตัด ซึ่งไม่ว่าคนไข้จะขยับตัวไปทางไหน เข็มเจาะที่ปลายแขนหุ่นยนต์จะสามารถปรับตำแหน่งให้ถูกต้องกับทิศทางของรากผมได้ ข้อดีของหุ่นยนต์ปลูกผม ARTAS คือ ใช้หลักการการสุ่มเจาะแบบอัตโนมัติจึงช่วยลดระยะเวลาในการรักษาได้มากกว่าเดิมถึง 3 เท่า และช่วยให้คนไข้ฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้นอีกด้วย อัตราการเจริญเติบโตของรากผมที่ทำการย้ายมาปลูกใหม่มีมากถึง 80-90% ลักษณะทางกายภาพของเส้นผมหลังการรักษาจะดูเป็นธรรมชาติ เส้นผมจะมีความทนทานและแข็งแรงมากกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
อ้างอิง งานวิจัย:
1. งานวิจัยในสายเวชศาสตร์ชะลอวัย โดยได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารรายปีของ Aesthetictrends.com เมื่อปี คศ.2011 ในหัวข้อเรื่อง“เทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนอุตสาหกรรมการปลูกผมได้อย่างไรบ้าง” – How Technology is changing the Hair Restoration Industry โดย Cindy L. Vandruff
-กผ-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit