การยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดย บริษัท Rating and Investment Information, Inc. (R&I)

          นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยบริษัท Rating and Investment Information, Inc. (R&I) ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 ว่า R&I ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Issuer Rating) และสกุลเงินบาท (Domestic Currency Issuer Rating) ที่ระดับ BBB+ และ A- ตามลำดับ และคงสถานะแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) นอกจากนี้ ยังยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือหนี้รัฐบาลระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศที่ a-2 
          โดย R&I ให้เหตุผลในการยืนยันอันดับและแนวโน้มของอันดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้ว่า ประเทศไทยมีระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประมาณ 5,400 เหรียญสหรัฐ อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางซึ่งมีภาคอุตสาหกรรมการผลิตหลักประกอบด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า บริษัทอิเลกทรอนิกส์และผู้ผลิตยานยนต์ที่เติบโตขึ้นจากการเปิดรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอย่างรวดเร็ว จากการบริหารการคลังอย่างรอบคอบมาโดยตลอด ทำให้หนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่ต่ำโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ระบบการเงินของประเทศมีความแข็งแกร่ง นอกจากนี้ R&I ยังไม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับดุลภาคต่างประเทศเพราะได้รับแรงสนับสนุนจากการไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และระหว่างภูมิภาคอาจก่อให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง R&I มีมุมมองต่อประเด็นดังกล่าวว่าจะมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจมหภาคของรัฐบาลในวงจำกัดเท่านั้น อย่างไรก็ดี R&I ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยสกุลเงินตราต่างประเทศและในประเทศ โดยมีมุมมองที่มีเสถียรภาพ
          หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด เศรษฐกิจไทยเติบโตในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.1 ในปี 2554 ถึงกระนั้นก็ตาม ไม่มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเศรษฐกิจไทยสามารถกลับมามีอัตราการเติบโตที่แท้จริงที่ร้อยละ 6.5 ในปี 2555 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการกระตุ้นการบริโภคของรัฐบาลและการเร่งลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากภัยพิบัติ อย่างไรก็ดี สถานการณ์ในช่วงต้นปี 2556 ได้เปลี่ยนไป การส่งออกไปยังประเทศจีนและกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ชะลอตัวลง ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ของปี 2556 คิดเป็นเพียงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนยังคงอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และเศรษฐกิจของประเทศจีนรวมทั้งสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศจุดหมายปลายทางในการส่งออกรายใหญ่ของไทยกำลังฟื้นตัว R&I จึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2557 เป็นต้นไป และจากการคาดการณ์ของรัฐบาล เศรษฐกิจไทยจะเติบโตในอัตราร้อยละ 3.7 และ 5.1 ในปี 2556 และ 2557 ตามลำดับ
          R&I ยังไม่เห็นโอกาสว่าจะเกิดความเสื่อมถอยของวินัยทางการคลัง เนื่องจากในปีงบประมาณ 2556 (ตุลาคม 2555 – กันยายน 2556) รัฐบาลสามารถบริหารจัดการให้การขาดดุลการคลังอยู่ในระดับร้อยละ 2.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.4 แม้ว่าจะมีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยสาเหตุที่สำคัญคือ การเร่งตัวของการซื้อรถยนต์ก่อนจะหมดเขตตามนโยบายรถคันแรก ซึ่งทำให้รายได้จากภาษีที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในปี 2557 รัฐบาลคาดว่า การขาดดุลการคลังจะลดลงเหลือร้อยละ 1.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของยอดซื้อรถยนต์ในปีที่ผ่านมาทำให้ยอดขายรถยนต์ในปีนี้ลดลงเมื่อเทียบกับยอดขายปีที่แล้ว และอาจทำให้รายได้เติบโตต่ำกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี การจัดการรายจ่ายอย่างระมัดระวังทำให้โอกาสที่การขาดดุลจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีน้อย อีกทั้งยอดหนี้สาธารณะคงค้างยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 40 – 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จึงไม่มีความกังวลว่าอุปสงค์ของนักลงทุนในประเทศต่อพันธบัตรรัฐบาลจะไม่เพียงพอ
ดุลภาคต่างประเทศยังคงมีเสถียรภาพ ถึงแม้ว่าในปี 2555 ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับไปขาดดุลที่ร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เนื่องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเพื่อฟื้นฟูประเทศจากอุทกภัยที่ผ่านมาและการชะลอตัวของการส่งออกเนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา และแม้ว่าในปี 2556 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอาจจะอยู่ที่ร้อยละ 1 – 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน เริ่มฟื้นตัวตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2556 เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ในระดับสูงหรือคิดเป็น 2.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น นอกจากนี้ การคาดการณ์เกี่ยวกับการยุติมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของสหรัฐไม่ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายมากนัก รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนยังคงมีเสถียรภาพ
          แม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และระหว่างภูมิภาคยังคงดำรงอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลปัจจุบัน และแม้ว่าจะไม่สามารถยืนยันได้ว่าการเผชิญหน้าทางการเมืองระดับประเทศจะไม่เกิดขึ้นอีก ดังจะเห็นได้จากการคัดค้านการผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม อย่างไรก็ดี วุฒิสภาได้มีมติไม่เห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัตินี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน และพรรคร่วมรัฐบาลได้เสนอให้มีการถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดความสูญเสียถึงชีวิตจากการใช้กำลังทหารดังเช่นเมื่อเดือนเมษายน 2553 จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นอีก R&I คาดการณ์ว่า การบริหารจัดการนโยบายทางการเงินการคลังของรัฐบาลจะไม่แตกต่างจากแผนที่วางไว้อย่างมีนัยสำคัญ

          ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
          โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505, 5518


ข่าวสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ+จุฬารัตน์ สุธีธรวันนี้

สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2557 ดังนี้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 มีจำนวน 5,662,574.29 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 46.85 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,924,568.40 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,099,740.05 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 620,440.09 ล้านบาท และ หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 17,825.75 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะ

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกรกฎาคม 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกรกฎาคม 2557 ดังนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล 1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล ในเดือนกรกฎาคม 2557 กระทรวงการคลัง...

สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557 ดังนี้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2557 มีจำนวน 5,642,430.04 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 46.60 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3...

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนมิถุนายน 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนมิถุนายน 2557 ดังนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล 1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล ในเดือนมิถุนายน 2557 กระทรวงการคลัง...

สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2557 ดังนี้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2557 มีจำนวน 5,532,514.15 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 45.91 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,907...

การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะดำเนินการออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 แบบไร้ใบตราสาร (Scripless) วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท...

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนพฤษภาคม 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนพฤษภาคม 2557 ดังนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล 1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล ในเดือนพฤษภาคม 2557 กระทรวงการคลัง...

สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอแถลงสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557 ดังนี้ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2557 มีจำนวน 5,583,828.29 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.56 ของ GDP โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,957,385...

ภาพข่าว: ผอ.สบน. แถลงผลการจัดหาเงินกู้แก่ ธ.ก.ส. วงเงิน 50,000 ล้านบาท

ผอ.สบน. แถลงผลการจัดหาเงินกู้แก่ ธ.ก.ส. วงเงิน 50,000 ล้านบาท นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงข่าวผลการจัดหาเงินกู้วงเงิน 50,000 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายในโครงการรับจำนำข้าวแก่ธนาคารเพื่อการเกษตร...

การยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทย และการปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเป็นลบ โดยบริษัท Rating and Investment Information, Inc. (R&I)

นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับ ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยบริษัท Rating and...