สพฉ. ห่วงคนไทยป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น เหตุใช้ชีวิตสังคมเมือง ไม่ออกกำลังกาย-เครียด เผยปี 2556 มีผู้ป่วยขอความช่วยเหลือแล้วกว่า 16,476 ครั้ง

กรุงเทพฯ--15 ก.ค.--สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

สพฉ. ห่วงคนไทยป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น เหตุใช้ชีวิตสังคมเมือง ไม่ออกกำลังกาย เครียด แนะวิธีสังเกตุอาการ หากเหนื่อยหอบจุกเสียดที่หน้าอก คลื่นไส้ รีบโทรแจ้ง 1669 ย้ำหากรักษาภายใน 3 ชั่วโมงโอกาสรอดชีวิตสูง เผยปี 2556 มีผู้ป่วยขอความช่วยเหลือแล้วกว่า 16,476 ครั้ง หนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของคนไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ก็คือโรคหัวใจ ที่เกิดจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งถือเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมาเป็นอันดับ 2 และเป็นหนึ่งใน 6 โรคฉุกเฉิน ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำลังหาแนวทางป้องกันและลดอัตราการเสียชีวิต นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ขณะนี้ สพฉ.ได้เร่งจัดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินให้ครอบคลุมและทันกาลมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน 6 โรคฉุกเฉิน ที่ปัจจุบันมีอัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้น อาทิ การบาดเจ็บ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อุบัติเหตุจราจร ภาวะวิกฤติในทารกแรกเกิด ทั้งนี้สำหรับสาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นผลจากวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในสังคมเมือง ที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่นการรับประทานอาหารที่ไม่สมดุลกับการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร รสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้น้อย มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง การทำงานนั่งโต๊ะ มีความเครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ ประกอบกับการสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ส่งผลให้คนเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดกันมากขึ้นและทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร นพ.อนุชา กล่าวต่อว่า ภาวะหัวใจวายแบบเฉียบพลัน เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ทำหน้าที่นำเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการแข็งตัว มีไขมัน หรือแคลเซียมไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ส่งผลให้ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย ซึ่งหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมาก หรือมีลิ่มเลือดไปอุดตัน 100% ในทันทีตรงตำแหน่งที่มีไขมันเกาะเส้นเลือด จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ โดยอาการของผู้ป่วยนั้น จะมีอาการเจ็บแน่น จุกเสียดที่หน้าอกหรือท้องส่วนบน หรือมีอาการแน่นเหนื่อยขึ้นมาทันที ร่วมกับอาการหายไจไม่สะดวก หอบเหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หรือบางรายอาจมีอาการปวดไหล่ซ้ายมากกว่าไหล่ขวา จุกแน่นที่ท้อง จนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคกระเพาะ นอกจากนี้อาจเจ็บ หลังจากออกกำลังกายหรือเครียด แต่เมื่อหยุดพักจะหาย ซึ่งเมื่อมีอาการดังกล่าว ให้รีบนั่งลง พักกายและใจทันที อย่าตื่นเต้นโวยวาย เพราะการใช้แรงจะทำให้เจ็บมากยิ่งขึ้น จากนั้นโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่รู้ว่าเป็นโรคดังกล่าวจะต้องรีบอมยาใต้ลิ้นเพื่อบรรเทาอาการ “ปัจจุบันการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจได้ก้าวหน้ามาก และสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและพิการลงได้ หากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้รับการรักษาที่ทันเวลาคือภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ “สวนเส้นหัวใจ” ดังนั้นการรณรงค์ให้ประชาชนและผู้ป่วยตระหนักรู้ถึงวิธีการช่วยเหลือจึงเป็นสิ่งสำคัญและจะเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้มากขึ้น” ทั้งนี้สำหรับสถิติการปฏิบัติการฉุกเฉินของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินในปี 2556 พบว่ามีผู้ป่วยขอความช่วยเหลือจากบริการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกจากปัญหาด้านหัวใจ 16,476 ครั้ง และมีการขอความช่วยเหลือเนื่องจากผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น 637 ครั้ง -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ+หัวใจเต้นผิดจังหวะวันนี้

"Cryoablation จี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น 3 มิติ รักษา "หัวใจเต้นผิดจังหวะ"

Cryoablation เป็นเทคนิคการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ทันสมัยและปลอดภัย โดยเฉพาะภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ AF) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการใช้พลังงานความเย็นระหว่าง -40 ถึง -60 องศาเซลเซียส ทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่ทำให้เกิดการส่งสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติ แพทย์จะใช้สายสวนพิเศษในการนำความเย็นไปทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ทำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ ช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติ ข้อดีของการจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น ผลการรักษาดี Cryoablation

สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน

เมื่อวันที่ 2-3 มิถุนายน 2565 สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด (Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) at St. David's Medical Center) ...

สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด เตรียมจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน

การประชุมอีพีไลฟ์ ประจำปี 2565 ระยะเวลาสองวัน จะดึงดูดผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจระดับแนวหน้าจากทั่วโลก ในวันที่ 2-3 มิถุนายน 2565 สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ...

Q : อัตราการเต้นของหัวใจปกติเป็นอย่างไร? ... Q & A เรื่องควรรู้... เมื่อหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ — Q : อัตราการเต้นของหัวใจปกติเป็นอย่างไร? A : ในขณะนั่งพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60-80 ครั้งต่อนาที ในขณ...

ผู้นำสถาบัน Texas Cardiac Arrhythmia Institute ร่วมการทดลองใช้เทคโนโลยี AI รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ซับซ้อนเป็นครั้งแรกของโลก

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้นำสถาบัน Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) ณ St. David's Medical Center ได้ทำการทดลองทางคลินิกเพื่อประเมินประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม AI ที่ขับ...

ผู้นำสถาบัน Texas Cardiac Arrhythmia Institute เข้าร่วมการทดลองสายสวน ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะจี้ไฟฟ้าหัวใจ

ผู้นำสถาบัน Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) ณ St. David's Medical Center ได้เข้าร่วมการวิจัยทางคลินิก เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสายสวนทรงกลม...

เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน ถ... เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน — เมื่อหัวใจสั่นพลิ้ว ชีวิตไม่ชิลล์แน่นอน ถ้าคุณมีอาการหัวใจสั่นพลิ้ว คุณจะไม่สนุกเหมือนได้เต้นพลิ้วไปตาม...

นาฬิกาเกรดการแพทย์ของ CardiacSense ได้รับการรับรอง CE Mark จากการตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้อย่างต่อเนื่อง

เตรียมจัดส่งนาฬิการุ่นนี้ในสหภาพยุโรป เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจวัดอัตราหัวใจเต้นและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยความแม่นยำระดับ ECG CardiacSense บริษัทด้านสุขภาพดิจิทัลที่ได้พัฒนา...

แพทย์จากสถาบัน TCAI เข้าร่วมการทดลองทางคลินิกอุปกรณ์ช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

แพทย์จากสถาบัน Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) ณ St. David's Medical Center เป็นหนึ่งในแพทย์กลุ่มแรกของโลกที่ได้เข้าร่วมการทดลองทางคลินิก เพื่อประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ปกป้องหลอดอาหารที่ออก...