ศูนย์วิจัยมะเร็งกระเพาะอาหารฯ รณรงค์คนไทยใส่ใจสุขภาพ กำจัดเชื้อร้าย เอช. ไพโลไร ห่างไกลจากโรคแผลในกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

กรุงเทพฯ--25 ก.ค.--แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส

ศูนย์วิจัยมะเร็งกระเพาะอาหารและการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรแห่งชาติ โดยการสนับสนุนจาก บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด จัดงานเสวนา “เอช. ไพโลไร แบคทีเรียตัวร้าย กับโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง รู้ทัน…รักษาได้” รณรงค์ให้ความรู้ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังจากเชื้อ เอช. ไพโลไร (H. pylori) พร้อมพูดคุยเรื่องการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคแผลในกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งกระเพาะอาหารโดย ศ.พญ.วโรชา มหาชัย ประธาน ร่วมกับ รศ.ดร.นพ.รัฐกร วิไลชนม์ เลขาธิการศูนย์วิจัยมะเร็งกระเพาะอาหารและการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรแห่งชาติที่ ลานอินฟินิซิตี้ ฮอลล์ พารากอนซีนีเพล็กซ์ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อเร็วๆ นี้ ศ.พญ.วโรชา มหาชัย ประธานศูนย์วิจัยมะเร็งกระเพาะอาหารและการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรแห่งชาติ กล่าวถึงสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารว่า “ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารส่วนใหญ่จะมีอาการเกี่ยวกับกระเพาะอาหารส่วนบน มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก จุกเสียด แสบท้อง อาหารไม่ย่อย ซึ่งผู้ป่วยอาจจะยังไม่รู้ตัวว่าเป็นอะไร โดยผู้ป่วยส่วนมากมักจะซื้อยารับประทานเองก่อนไปพบแพทย์หรือตรวจรักษา ซึ่งก็ทำให้อาการบรรเทาลงได้ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา รวมถึงการตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรหรือเรียก เอช. ไพโลไร (H. pylori) ที่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งของโรคแผลในกระเพาะอาหาร” เชื้อ เอช. ไพโลไร นี้มักจะอยู่ในเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งมีการค้นพบเชื้อนี้มานาน เอช. ไพโลไร กว่า 30 ปีแล้วโดยแพทย์ชาวออสเตรเลีย 2 ท่าน คือ ศ.นพ.แบรีย์ มาร์แชล (Barry Marshall) และศ.นพ.เจ โรบิน วาร์เรน (Robin Warren) ว่า เอช. ไพโลไร มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ตลอดจนมะเร็งกระเพาะอาหาร ทำให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาทางการแพทย์ในปี พ.ศ.2548 เชื้อ เอช. ไพโลไร มีรูปร่างเป็นเกลียวและมีหางมีความทนกรดสูงเนื่องจากสามารถสร้างสารที่เป็นด่างออกมาเจือจางกรดที่อยู่รอบๆ ตัวมันจึงสามารถอาศัยอยู่ในชั้นผิวเคลือบภายในกระเพาะอาหารได้และยังสร้างสารพิษไปทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร โดยอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น อาจจะเกี่ยวเนื่องจากทางสายพันธุ์ รวมถึงภูมิต้านทานโรคของแต่ละคน ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยได้จัดตั้งศูนย์วิจัยมะเร็งกระเพาะอาหารและการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรแห่งชาติ ขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร โรคแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร รวมถึงเป็นศูนย์สื่อการเรียนการสอนและการทำงานวิจัย งานวิชาการต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศด้วยค่ะ” ด้าน รศ.ดร.นพ.รัฐกร วิไลชนม์ เลขาธิการศูนย์วิจัยมะเร็งกระเพาะอาหารและการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อ เอช. ไพโลไร ว่า “การติดเชื้อ เอช. ไพโลไร ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกที่สำคัญ มีผู้ติดเชื้อแบคทีเรียนี้มากกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตอเมริกาใต้แอฟริกาและเอเชีย ในปีพ.ศ.2537 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้การติดเชื้อ เอช. ไพโลไร เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารสำหรับในประเทศไทยพบมีการติดเชื้อ เอช. ไพโลไร ถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 20 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งการติดเชื้อชนิดนี้ นอกจากจะเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังแล้ว ยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในกระเพาะอาหาร (MALT lymphoma) อีกด้วย” “การรักษาในปัจจุบัน จะมีการตรวจหาเชื้อ เอช. ไพโลไร ในผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งการตรวจหาเชื้อ เอช. ไพโลไร สามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การส่องกล้องกระเพาะอาหาร การเจาะเลือด การตรวจทางลมหายใจ หรือ Urea Breath Test และการตรวจอุจจาระเมื่อพบว่ามีการติดเชื้อ เอช. ไพไลไร จำเป็นต้องทำการรักษาและกำจัดเชื้อนี้ เพื่อรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารให้หายขาดโดยมีแนวทางในการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อ เอช. ไพโลไร อยู่โดยใช้สูตรยากำจัดเชื้อซึ่งการรักษาที่นิยมใช้กันมากและมีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ การใช้ยาลดการหลั่งกรด 1 ชนิด ร่วมกับยาปฏิชีวนะอีก 2 ชนิด เป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ ซึ่งพบว่าสามารถกำจัดเชื้อได้มากกว่า 90% และภายหลังจากการหยุดรักษาไปแล้ว 4 สัปดาห์ก็จะไม่พบเชื้อ เอช. ไพโลไร นี้อีกโดยหลังจากที่กำจัดเชื้อ เอช. ไพโลไร แล้วโอกาสที่จะกลับมาเป็นแผลในกระเพาะอาหารซ้ำลดลงไปอย่างมาก” “โรคแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการติดเชื้อ เอช. ไพโลไร สามารถรักษาและมีโอกาสหายขาดได้เพียงหมั่นสังเกตพฤติกรรมว่ามีอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือไม่ รวมถึงมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นสัญญาณเตือนภัยถึงการติดเชื้อ เอช. ไพโลไร อาทิ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ ปวดท้องรุนแรง ปวดท้องกระเพาะอาหารเรื้อรังเป็นเวลานานเกิน 1 เดือน หรือเบื่ออาหารน้ำหนักลดลงมาก ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา และรับการรักษาอย่างถูกวิธี นอกจากนั้นการปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร อาทิ รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด รสจัด งดบุหรี่ งดการดื่มสุรา งดการใช้ยาแอสไพริน และยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวลทั้งหลาย รวมถึงการพักผ่อนให้เพียงพอก็จะช่วยป้องกันโรคแผลในกระเพาะอาหารได้” รศ.ดร.นพ.รัฐกร กล่าวในที่สุด อนึ่งโครงการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังจากเชื้อ เอช. ไพโลไร โดยศูนย์วิจัยมะเร็งกระเพาะอาหารและการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรแห่งชาติ และด้วยความห่วงใยจากบริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังจากเชื้อ เอช. ไพโลไร แก่คนไทย -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวแอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส+วโรชา มหาชัยวันนี้

ศูนย์วิจัยมะเร็งกระเพาะอาหารฯ รณรงค์คนไทยใส่ใจสุขภาพ กำจัดเชื้อร้าย เอช. ไพโลไร ห่างไกลจากโรคแผลในกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ศูนย์วิจัยมะเร็งกระเพาะอาหารและการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรแห่งชาติ โดยการสนับสนุนจาก บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด จัดงานเสวนา “เอช. ไพโลไร แบคทีเรียตัวร้าย กับโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง รู้ทัน…รักษาได้” รณรงค์ให้ความรู้ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังจากเชื้อ เอช. ไพโลไร (H. pylori) พร้อมพูดคุยเรื่องการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคแผลในกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งกระเพาะอาหารโดย ศ.พญ.วโรชา มหาชัย ประธาน ร่วมกับ รศ.ดร.นพ.รัฐกร วิไลชนม์ เลขาธิการศูนย์วิจัยมะเร็งกระเพาะอาหาร

Coaching for the Best Performance "การสอน... หลักสูตร Coaching for the Best Performance (อบรม 12 ก.พ. 63) — Coaching for the Best Performance "การสอนงานอย่างทรงพลัง" วิทยากร: อาจารย์สุพจน์ กฤษฎาธาร อ...

Professional Sales Coordinator (Sales Sup... หลักสูตร Professional Sales Coordinator โดยอาจารย์สุพจน์ กฤษฎาธาร — Professional Sales Coordinator (Sales Support / Sales Administration) วิทยากร: อาจารย์...

ภาพข่าว: “แอ๊บบอต” สนับสนุนกิจกรรมการประกาศผล ภารกิจ “Let’s Grow Project by PediaSure ปฏิบัติการหนูน้อยโตสมวัย” พร้อมมอบทุนการศึกษาแก่ผู้ชนะ

นายพิน คี แลม ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพระดับโลก และเป็นผู้นำในด้านการผลิตอาหาร...

แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส แถลงข่าวเปิดตัวกิจกรรม Let’s Grow Project By PediaSure ปฏิบัติการหนูน้อยโตสมวัย กับ แอ๊บบอต

เนื่องด้วยทาง บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพระดับโลก และเป็นผู้นำในด้านการผลิตนมสำหรับเด็ก จะจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้ในเด็กกับแคมเปญ "Let...