นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจไทย ณ เดือนธันวาคม 2555 ว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2555
คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5.7 โดยอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ อาทิ การเพิ่มรายได้
แรงงานรายวันและเงินเดือนข้าราชการ การรับจำนำข้าวเปลือก โครงการรถยนต์คันแรก โครงการบ้านหลังแรก และการทยอยปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมี
ส่วนสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาครัฐยังมีบทบาทในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ภาคการส่งออกมีการ
ชะลอตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกในบางสาขา
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงจากปีที่แล้ว ตามราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ใน
ตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง อันเป็นผลมาจากอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนแอลง ประกอบกับผลจากแนวทางการดูแลราคาน้ำมันขายปลีกของภาครัฐ
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2556 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 5.0 (โดยมีช่วง
คาดการณ์ร้อยละ 4.5 – 5.5) โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐที่เร่งตัวสูงขึ้น และการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ
ขณะที่อุปสงค์ภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอลง หลังจากที่มีการเร่งการบริโภคและการลงทุนเพื่อฟื้นฟูจากวิกฤตอุทกภัยไปมากแล้วในปีก่อน อย่างไรก็ตาม รายได้
ภาคครัวเรือนที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะการเพิ่มค่าแรงรายวันเป็น 300 บาททั่วทั้งประเทศ และโครงการรับ
จำนำข้าว จะช่วยส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนไม่ชะลอลงมากนัก ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2556 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่
ร้อยละ 2.5 – 3.5) โดยอุปทานน้ำมันในตลาดโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจส่งผลให้ราคาธัญพืชโลกปรับตัวสูง
ขึ้น”
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า “การประมาณการเศรษฐกิจในปีหน้าจำเป็นต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผล
กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เช่น ระดับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะปัญหาหน้าผาทางการคลังของสหรัฐฯ และความคืบหน้าในการ
แก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ของไทย รวมถึงความสามารถในการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐให้เป็นไปตาม
เป้าหมายด้วย”
ตารางสรุปสมมติฐานและผลการประมาณการเศรษฐกิจปี 2555 และ 2556 (ณ เดือนธันวาคม 2555)
2554 2555 f 2556 f
(ณ ธันวาคม 2555) (ณ ธันวาคม 2555)
เฉลี่ย เฉลี่ย ช่วง
สมมติฐานหลัก
สมมติฐานภายนอก
1) อัตราการขยายตัวเฉลี่ย 14 ประเทศคู่ค้าหลัก (ร้อยละต่อปี) 4.0 3.5 3.7 3.2-4.2
2) ราคาน้ำมันดิบดูไบ (ดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรล) 105.6 109.4 113.0 108.0-118.0
3) ราคาสินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 5.6 0.7 3.3 2.3-4.3
4) ราคาสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 10.1 1.8 3.5 2.5-4.5
สมมติฐานด้านนโยบาย
5) อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) 30.50 31.10 30.7 29.70-31.70
6) อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ณ สิ้นปี (ร้อยละต่อปี) 3.25 2.8 2.8 2.25-3.25
7) รายจ่ายภาคสาธารณะตามปีงบประมาณ (ล้านล้านบาท) 2.77 2.89 3.17 3.12-3.22
ผลการประมาณการ
1) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ร้อยละต่อปี) 0.1 5.7 5.0 4.5-5.5
2) อัตราการขยายตัวของการบริโภครวม (ร้อยละต่อปี) 1.3 5.8 3.8 3.3-4.3
- การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.3 5.6 3.9 3.4-4.4
- การบริโภคภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 1.1 6.7 3.5 3.0-4.0
3) อัตราการขยายตัวของการลงทุนรวม (ร้อยละต่อปี) 3.3 14.5 10.2 9.2-11.2
- การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) 7.2 16.1 9.2 8.2-10.2
- การลงทุนภาครัฐ (ณ ราคาคงที่) (ร้อยละต่อปี) -8.7 8.5 14.0 13.0-15.0
4) อัตราการขยายตัวปริมาณส่งออกสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 9.5 3.0 6.6 5.6-7.6
5) อัตราการขยายตัวปริมาณนำเข้าสินค้าและบริการ (ร้อยละต่อปี) 13.7 6.1 5.6 4.6-6.6
6) ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 17.0 9.5 9.4 8.4-10.4
- สินค้าส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 14.3 3.9 10.0 9.0-11.0
- สินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละต่อปี) 24.9 8.0 10.5 9.5-11.5
7) ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 5.8 3.0 2.1 0.1-4.0
- ร้อยละของGDP 3.8 0.8 0.5 0.0-1.0
8) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (ร้อยละต่อปี) 3.8 3.0 3.0 2.5-3.5
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ร้อยละต่อปี) 2.4 2.1 1.9 1.4-2.4
9) อัตราการว่างงาน (ร้อยละของกำลังแรงงานรวม) 0.7 0.6 0.6 0.5-0.7
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3273
-กผ-