ขอเชิญเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ Molecular Medicine Conference 2012 (MMC2012) “Alternative Strategies against Cancer and Inflammation

กรุงเทพฯ--29 พ.ย.--ม.มหิดล

การนำความรู้ทางพันธุศาสตร์และชีววิทยานี้มาเป็นพื้นฐานในการค้นคว้าวิจัยในด้านการแพทย์ ทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงสาเหตุกลไก พยาธิกำเนิดและพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรค และนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีด้านการตรวจวินิจฉัยการรักษา การพัฒนายา และวิธีการรักษาแบบใหม่ๆ ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยโรคมีความถูกต้องแม่นยำ และการรักษามีความจำเพาะและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้หน่วยอณูเวชศาสตร์ สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ร่วมกับ สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ขอเชิญแพทย์บุคลากรทางการแพทย์ และนักศึกษาร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติอณูเวชศาสตร์ (Molecular Medicine Conference 2012) หัวข้อ “ทางเลือกอย่างมีกลยุทธ์ในการรักษาโรคมะเร็งและการอักเสบ” ระหว่างวันที่ 19 - 22 ธันวาคม 2555 ณ อาคารศรีสวรินทิรา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ศ.ดร.เพทาย เย็นจิตโสมนัส หัวหน้าหน่วยอณูชีววิทยาการแพทย์ สถานส่งเสริมการวิจัย กล่าวว่า “เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ ที่มีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติในเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมความก้าวทันต่อวิทยาการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับ “โรคมะเร็งและการอักเสบ” ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ จะเป็นการเปิดเวทีให้นักวิจัยที่มีชื่อเสียงทางด้านชีวการแพทย์และการแพทย์คลินิกจากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและองค์กรภาคเอกชนจากทั่วโลก ได้นำเสนอแลกเปลี่ยน และอภิปรายข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเรื่องนี้ที่เป็นปัจจุบันและทันสมัย ข้อมูลทางผลงานวิจัยและวิชาการเกี่ยวกับโรคมะเร็งและการอักเสบที่จะนำเสนอและแลกเปลี่ยนในการประชุมครั้งนี้ จะลงลึกในระดับเซลล์และอณูชีววิทยารวมถึงการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโมเลกุลที่เกี่ยวข้องโรคมะเร็งและการอักเสบโดยที่จะมุ่งเน้นในด้านการป้องกันและรักษาด้วยยาและวิธีการใหม่ สารชีวโมเลกุลหรือสารสกัดจากธรรมชาติและพืช โอกาสนี้ จะทำให้นักวิจัยสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรทางการแพทย์จากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย องค์กร และภาคเอกชนจากทั่วโลก ได้มีโอกาสพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือในด้านการวิจัย วิชาการ และด้านอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้ นักวิจัยและนักศึกษาจากต่างประเทศต่างๆ จะมีโอกาสนำเสนอผลงานของตนในรูปแบบโปสเตอร์และการบรรยาย และที่สำคัญยังทำให้มีโอกาสได้พบกับนักวิจัยที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลก ซึ่งให้เกียรติมาเป็นผู้บรรยายรับเชิญในหัวข้อต่างๆ มากมาย อาทิ - โรคมะเร็ง การอักเสบ และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องการอักเสบ - การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อภาวะที่ทำให้เกิดการอักเสบ - การกระตุ้นการอักเสบในระดับเซลล์และวิถีสัญญาณภายในเซลล์ - การควบคุมยีนเป้าหมายผ่านวิถีสัญญาณของการกระตุ้นโปรตีนเอ็นเอฟ-แค็บปาบี (NF-kb activation payhway) และวิถีสัญญาณอื่นๆ - การกระตุ้นและยับยั้งยีนของสารซัยโตคายน์ (cytokine) และคีโมคายน์ (chemokine) - กลยุทธ์ใหม่ในการควบคุมการอักเสบ - วิธีการใหม่ในการรักษาโรคมะเร็งและการอักเสบ - สารประกอบ สารชีวโมเลกุล และสารสกัดจากธรรมชาติและพืช สำหรับรักษาโรคมะเร็งและการอักเสบ - การวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งและการอักเสบในอนาคต ฯลฯ ในการประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้ความรู้และทราบความก้าวหน้าทางวิชาการ ผลการวิจัย และนวัตกรรมการรักษาใหม่ๆ ที่ก้าวหน้าและทันสมัยสำรับโรคมะเร็งและการอักเสบ รวมทั้งด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้เกิดความตื่นตัวทางวิชาการและการวิจัยด้านอณูเวชศาสตร์ของโรคมะเร็งและการอักเสบ และด้านอื่นๆ ของนักวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของคณะฯ ให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับสากลอีกด้วย” นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมหกรรมทางวิชาการนานาชาติ Molecular Medicine Conference 2012 (MMC2012) ที่ท่านจะได้สัมผัส สมัครได้ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติมที่ หน่วยอณูเวชศาสตร์ สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล โทร. 0 2419 2754-7 ติดต่อ: หน่วยอณูเวชศาสตร์ สถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล โทร. 0 2419 2754-7 -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย+คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลวันนี้

งาน "20 ปี บนเส้นทางแห่งความหวัง…เสริมพลังโกเช่ร์"

วันโกเช่ร์สากลประจำปีนี้ ซาโนฟี่ ประเทศไทย สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมเวชพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ทางการแพทย์ (สวพจ.) พร้อมพันธมิตรสำคัญ จัดงาน "20 ปี บนเส้นทางแห่งความหวัง…เสริมพลังโกเช่ร์" ยืนหยัดเคียงข้างกลุ่มผู้ป่วยโรคหายาก โรคโกเช่ร์ (Gaucher) เป็นหนึ่งในโรคพันธุกรรมแอลเอสดี ซึ่งอยู่ในกลุ่มของ "โรคหายาก" มีอุบัติการณ์ผู้ป่วยโรคโกเช่ร์ ประมาณ 1 คนต่อ 100,000 คน โดยโรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากการขาดหรือการทำงานของเอนไซม์กลูโคซีรีโบรซิเดส (Glucocerebrosides) บกพร่อง เป็นการถ่ายทอด

ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิท... สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย — ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติในหัวข้อ...

ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ (ขวา) อดีตประธานที่ปร... ภาพข่าว: สมาคมพันธุศาสตร์ฯ เชิดชูซีพีเอฟทำคุณประโยชน์แก่วงวิชาการพันธุศาสตร์ — ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ (ขวา) อดีตประธานที่ปรึกษาสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ...

ภาพข่าว: การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 18

สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดการประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 ในหัวข้อ “พันธุศาสตร์ก้าวหน้าสู่อาเซียน (Genetics Towards ASEAN) ” วันที่ 17-19 กรกฎาคม 2556 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท กรุง...

ภาพข่าว: ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 18 ที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ

ดนัย วันสม ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ และ ศ. ดร. เพทาย เย็นจิตโสมนัส นายกสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี...

ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 18

เนื่องด้วยสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดการประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 18 (National Genetics Conference 2013) ในหัวข้อ ‘พันธุศาสตร์ก้าวหน้าสู่อาเซียน (Genetics Towards ASEAN)’ ในวันที่ 17-19...