Omni Convergence: ความหลากหลายในกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ เทรนด์ใหม่ที่ผู้ให้บริการต่างจับตามองเพื่อการสื่อสารแบบครบวงจรในอนาคต

กรุงเทพฯ--13 ธ.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค

Omni Convergence: ความหลากหลายในกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์เทรนด์ใหม่ที่ผู้ให้บริการต่างจับตามองเพื่อการสื่อสารแบบครบวงจรในอนาคตโดย กาย ฮิลตัน หัวหน้าฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์บริหารจัดการรายได้ บริษัท แอมด็อคส์ คอนเวอร์เจนซ์ (Convergence) เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ถูกกล่าวถึงมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ช่วงสามปีมานี้ ตลาดการสื่อสารเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหลายๆ ด้าน ล่าสุดมีกระแสที่เรียกว่า omni convergence ซึ่งเป็นแนวโน้มใหม่ที่เคลื่อนกระจายไปอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการสื่อสารทั่วโลก กระแสนี้บอกถึงมิติอันหลากหลายของคอนเวอร์เจนซ์แบบเดิมๆ และกำลังเป็นตัวขับเคลื่อนประสบการณ์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นในตลาด over-the-top (OTT) อุปกรณ์ประเภทสมาร์ทดีไวซ์ (smart device) และเทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูลหรือเนื้อหาการสื่อสารด้วยความเร็วสูง (super-fast access) Omni convergence กำลังบีบให้ผู้ให้บริการการสื่อสาร ทบทวนวิธีการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการของพวกเขา วิธีการสร้างรูปแบบการคิดราคาในลักษณะที่ให้ความสะดวกแก่ลูกค้าและจะเป็นผลดีต่อผู้ให้บริการ และช่องทางการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือกับผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาด ยุคของ Omni convergence เกิดขึ้นจากประสบการณ์การใช้บริการสื่อสารของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ผู้ให้บริการต้องพยายามก้าวให้ทันกับความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า นั่นคือ ความคาดหวังที่จะได้รับบริการแบบเรียลไทม์ที่สามารถตอบสนองทุกความต้องการอย่างครบครัน โดยไม่จำกัดประเภทของอุปกรณ์ เทคโนโลยีการเข้าถึงเนื้อหาหรือข้อมูล หรือบริการที่พวกเขาใช้อยู่ ตัวอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น สมมติว่า นาย “ก” เป็นลูกค้าของผู้ให้บริการเครือข่าย “XYZ” นาย “ก” ขับรถและใช้โปรแกรมจีพีเอสในสมาร์ทโฟนเพื่อบอกเส้นทางจากสถานที่ A ไปยังสถานที่ B ขณะขับรถอยู่นั้น นาย “ก” ก็ได้รับการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับราคาน้ำมันของสถานีบริการน้ำมัน บนเส้นทางที่เขากำลังขับขี่ไปถึงจุดหมาย และเมื่อนาย “ก” เติมน้ำมัน ณ สถานีบริการน้ำมันแห่งนั้น เขาก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เป็นจำนวนนาทีที่จะได้โทรฟรี คุณเชื่อว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นได้จริงหรือ? Waze ผู้ซึ่งพัฒนาแอพพลิเคชั่นนำทาง ได้จับมือกับหลายบริษัทเพื่อนำเสนอบริการเหล่านี้แล้ว นี่เป็นตัวอย่างการรวมทรัพยากรโดยผู้เล่นในตลาดสื่อสาร บริษัทผู้พัฒนาแอพลิเคชั่น ธุรกิจค้าปลีก และเครื่องมือนำทาง สิ่งนี้จะกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตเรามากขึ้น หนึ่งในความท้าทายประการแรกของ Omni convergence คือธุรกิจที่ว่องไวปราดเปรียว (Business Agility*) ที่ต้องการให้องค์กรมีลักษณะเป็น “องค์กรที่ตอบสนองได้รวดเร็ว” ด้วยอัตราความเร็วที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของบริการใหม่ แอพพลิเคชั่น และประสบการณ์ต่างๆ ที่พร้อมรองรับการใช้งานของผู้บริโภคมากขึ้น ผู้ให้บริการจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมและการแสวงหาแนวร่วมในอนาคตเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ รวมถึงการกำหนดรูปแบบใหม่ๆ ในการคิดค่าบริการ * Business Agility คือความสามารถของบริษัทในการตอบสนองข้อมูลที่รับเข้ามา รวมทั้งปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขทางการตลาดใหม่ๆ โดยการเพิ่ม ลบ ควบรวม หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในบริการใหม่ๆ รวมถึงอุปกรณ์และรูปแบบธุรกิจ ผู้ให้บริการจำเป็นต้องหลีกหนีจากมุมมองด้านเครือข่ายและไอทีแบบเดิมๆ เพราะจากนี้ไปอุปสรรคไม่ได้มีเพียงแค่ 'ปัญหาด้านเครือข่าย' หรือ 'ปัญหาด้านธุรกิจ' ทั้งเครือข่ายและไอทีต่างเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์เดียวกันที่ต้องนำเสนอสู่ลูกค้า สิ่งที่ต้องการ คือ วิธีการแบบบูรณาการและครบครันมากขึ้น นับตั้งแต่เรื่องเครือข่ายไปจนถึงเรื่องรายได้ โดยต้องนำเรื่องเครือข่ายหลัก การให้บริการ การคิดค่าบริการ และแง่มุมทางธุรกิจมารวมไว้ด้วยกัน การบูรณาการองค์ประกอบทางธุรกิจและเครือข่ายเช่นนี้จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของบริษัทที่ต้องการชนะในสนามแข่งขันในยุค omni convergence ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้ให้บริการยังต้องตัดสินใจว่าจะเข้าถึงบริการประเภทดาต้าได้อย่างไร เพื่อนำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างแก่ทั้งผู้บริโภคและคู่ค้า หากมีความตระหนักว่าผู้บริโภคถูกขับเคลื่อนด้วยอุปกรณ์และบริการใหม่ๆ ผู้ให้บริการต้องพิจารณาว่าจะสามารถนำเสนอคุณค่าสูงสุดสู่ประสบการณ์ผ่านอุปกรณ์และแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง นั่นหมายความว่าการเปิดตัวบริการประเภท ดาต้าที่แตกต่าง ซึ่งมุ่งเน้นที่คุณค่าของประสบการณ์จากการใช้บริการสื่อสารข้อมูลมากกว่าปริมาณของข้อมูลที่นำเสนอ การเปลี่ยนจากการเข้าถึง (access) ไปสู่ประสบการณ์ (experience) เช่นนี้ต้องอาศัยการบูรณาการของข้อมูลเครือข่ายและข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่มากขึ้นอีกขั้น ตัวอย่างเช่น นโยบายของเครือข่ายต้องมีวิวัฒนาการจากการควบคุมการไหลของข้อมูลเพียงอย่างเดียว ไปเป็นการเปิดประสบการณ์การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ๆ เช่น ไดนามิค ดาต้า พาส , แชร์วอลเล็ต และการมอบส่วนลดแบบเรียลไทม์ (real-time discounting) การคิดค่าบริการ (ประเภท วอยซ์, ข้อความเมสเสจจิ้ง และดาต้า) แบบเรียลไทม์ได้กลายเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมโดยปริยาย เช่นเดียวกับการควบคุมนโยบาย ความท้าทายยังคงอยู่ที่การกำหนดว่านโยบายกับวิธีการคิดค่าบริการควรจะบูรณาการกันอย่างไรในลักษณะเรียลไทม์ เนื่องจากเดิมสองส่วนนี้มีการจัดการแบบออฟไลน์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคล่องตัวของผู้ให้บริการในการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเครือข่ายหรือที่ผู้ใช้สร้างขึ้น ความท้าทายอีกด้าน ก็คือ จะมีรูปแบบการจัดการการสมัครใช้แพ็คเกจแบบเรียลไทม์อย่างไรที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนหรืออัพเดทข้อเสนอได้ทันทีที่ต้องการ ขณะเดียวกันก็สามารถกระจายข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปยังอุปกรณ์รับส่งข้อมูลของลูกค้า ตลอดจนระบบคิดค่าบริการและระบบกำหนดนโยบายในแบบเรียลไทม์ อย่างทั่วถึง แนวทางแบบองค์รวมที่เปลี่ยนจากเรื่องเครือข่ายไปสู่เรื่องรายได้เช่นนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำให้การคิดค่าบริการเป็นส่วนหนึ่งของดิจิตอล แวลู เชน รูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ต่อผู้ให้บริการ จากมุมมองด้านการจัดการรายได้ ระบบการคิดค่าบริการและเรียกเก็บเงินจำเป็นต้องสามารถลดค่าใช้จ่าย และอุปสรรคด้านเวลาที่จะทำธุรกิจลงได้อย่างมาก โดยการบูรณาการหลากหลายผลิตภัณฑ์หลักแบบเรียลไทม์ให้เป็นหนึ่งเดียว ไม่เพียงแต่ระบบการคิดค่าบริการในตัวของมันเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการบูรณาการระบบการคิดค่าบริการกับตัวควบคุมนโยบาย และแพลตฟอร์มบริการ ซึ่งต้องช่วยให้การสร้างสรรค์และสร้างรายได้จากบริการใหม่ๆ ง่าย และเร็วขึ้น ผ่านกรอบการให้นิยามความหมายของบริการอันเดียวกัน และเสริมสร้างประสบการณ์ของลูกค้าด้วยข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ และการควบคุมการใช้บริการผ่านอุปกรณ์ใดๆ และเทคโนโลยีการเข้าถึงด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ ฤทัยวรรณ ศิลปาจารย์ เวเบอร์ แชนด์วิค โทรศัพท์ 0-2343-6000 ต่อ 067 อีเมล์ [email protected] -นท- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวแอมด็อคส์ คอนเวอร์เจนซ์+บริหารจัดการวันนี้

บลจ.กสิกรไทย คว้า 5 รางวัลยอดเยี่ยม Best of the Best Awards 2025 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านกองทุนของไทย

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติถึง 5 รางวัล จากงาน Best of the Best Awards 2025 ได้แก่ รางวัล Best Asset Management Company (30 Years), Best Asset Management Firm for Digital Marketing, Best Alternatives Manager, Best ESG Manager และ Best Multi-Asset Manager ทั้งนี้ รางวัลที่ บลจ.กสิกรไทย ได้รับทั้ง 5 สาขา แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ บลจ.กสิกรไทย ในการพัฒนาและนำเสนอบริการด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ รวมถึงการปรับตัว

บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ประกาศแป... TEGH ประกาศแปรสภาพ "TEBP" ขึ้นแท่น บ.มหาชน เดินหน้าเข้าตลาด mai เสริมทัพธุรกิจสร้างการเติบโต — บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ประกาศแปรสภาพบริษัทย่อย คื...

ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบ... ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 — ทีเอ็มบีธนชาต รายงานกำไรสุทธิ 5,096 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2568 หนุนโดยการบริหารจัดการด้าน...

นายไพบูลย์ เปี่ยมเมตตา ผู้ช่วยเลขาธิการ ส... คปภ. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย เสริมความมั่นคงธุรกิจประกันภัยไทย — นายไพบูลย์ เปี่ยมเมตตา ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย เ...

ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินธุรกิ... 5 ข้อควรระวัง! ตรวจดูให้แน่ใจว่า ใบแจ้งหนี้ควรต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง — ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินธุรกิจที่ช่วยให้การบริหารจัดการทางการเงินเป็นไปอย...

Omni Convergence: ความหลากหลายในกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ เทรนด์ใหม่ที่ผู้ให้บริการต่างจับตามองเพื่อการสื่อสารแบบครบวงจรในอนาคต

Omni Convergence: ความหลากหลายในกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์เทรนด์ใหม่ที่ผู้ให้บริการต่างจับตามองเพื่อการสื่อสารแบบครบวงจรในอนาคตโดย กาย ฮิลตัน หัวหน้าฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์บริหารจัดการราย...