สธ.ชี้สถิติคนไทยป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้น 86,000 คนต่อปี เดินหน้ารณรงค์ให้ความรู้ ตั้งเป้า“เมืองไทยปลอดวัณโรค”

กรุงเทพฯ--18 มี.ค.--กรมควบคุมโรค

มูลนิธิรักษ์ไทย ร่วมกับ สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยสถิติคนไทยป่วยเป็นวัณโรคเพิ่มขึ้นสูงถึง 86,000 คน หวั่นคนไทยกินยาไม่ต่อเนื่องทำให้เชื้อดื้อยา เผย 4 แนวทางมาตรการการป้องกันรักษาและควบคุมโรค “ค้นให้พบ จบด้วยหาย ตายน้อยกว่า 5 ขาดยาเป็น 0” เดินหน้ารณรงค์ให้ความรู้จัดกิจกรรมวันวัณโรคสากล ตั้งเป้า เมืองไทยปลอดวัณโรค นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับนานาชาติมาเป็นเวลายาวนาน ปัจจุบันทั่วโลกยังมีผู้ป่วย และเสียชีวิตจากวัณโรคเป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องหยุดยั้งเนื่องจากมีผลกระทบต่อความสูญเสียต่อภาวะสังคมเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยวัณโรคไม่ลดลงเพราะความยากจน แรงงานเคลื่อนย้าย แรงงานต่างชาติ สิ่งแวดล้อมที่แออัด ที่เอื้อต่อการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค และผลกระทบจากการระบาดของโรคเอดส์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคมีมากขึ้น อัตราตายสูง และมีปัญหาเชื้อดื้อยา วัณโรคเพิ่มขึ้น นายแพทย์พรเทพ ระบุว่า องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง (High TB burden countries) และได้คาดว่าสถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย น่าจะมีผู้ป่วยวัณโรคทุกชนิดทั้งรายเก่าและใหม่ (Prevalence) ประมาณ 110,000 ราย หรือ 161/100,000 ประชากร ในขณะเดียวกันมีผู้ป่วยรายใหม่ (Incidence) เกิดขึ้น ประมาณ 86,000 รายต่อปี หรือ 124/100,000 ประชากร และอัตราตาย (Mortality) 14/100,000 ประชากร หรือประมาณ 9,800 ราย ในภาคส่วนของกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายที่จะส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ควบคุมป้องกันวัณโรคให้มีความเข้มแข็ง โดยมีแผนการดำเนินงาน 4 ข้อคือ 1.ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ในประเทศไทยเข้าถึงบริการ การรักษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล 2.ช่วยเหลือสนับสนุนผู้ป่วยและครอบครัว ควบคุมกำกับการกินยาอย่างใกล้ชิด 3.พัฒนาระบบการตรวจวินิจฉัยวัณโรครวมถึงการวิจัยพัฒนา และ 4.ส่งเสริมพัฒนาภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันวัณโรคให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีสุขภาพที่ดี ศ.นพ.ดร.กระแส ชนะวงศ์ ประธาน มูลนิธิรักษ์ไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถิติในการเกิดโรควัณโรคในประเทศไทยที่ผ่านมา สาเหตุที่สำคัญเกิดจากการบริหารจัดการกับคนไข้วัณโรคยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยเฉพาะการควบคุมวัณโรคในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา และเมืองใหญ่อื่นๆ ยังมีความสำเร็จในการรักษาต่ำกว่าเป้าหมาย รวมถึงผลกระทบจากการระบาดของเชื้อ HIV ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคมีมากขึ้น อัตราตายสูง และมีปัญหาเชื้อดื้อยา ปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ผิดกฎหมายที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยซึ่งรัฐยังไม่มีงบประมาณที่ชัดเจนในการดำเนินการควบคุมวัณโรคในกลุ่มแรงงานเหล่านี้ อย่างไรก็ตามเราก็คงไม่สามารถปฏิเสธแรงงานข้ามชาติได้ เนื่องจากเป็นฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในฐานะภาคแรงงาน ในส่วนของมูลนิธิรักษ์ไทยในฐานะที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขจึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานด้านสุขภาพภาคประชาชน โดยเน้นงานด้านการส่งเสริมให้กลุ่มประชากรด้อยโอกาส ประชากรกลุ่มแรงงานข้ามชาติเข้าถึงบริการข้อมูลความรู้ การคัดกรอง และการรักษาวัณโรคให้หายขาด ซึ่งการทำงานดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนงานของกระทรวงสาธารณสุขที่พยายามจะควบคุมวัณโรคและกำจัดให้หมดไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งใกล้สู่ช่วง AEC ที่จะมาถึงเร็ว ๆ นี้ การทำงานร่วมกันดังกล่าวจึงเป็นการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาวัณโรคแบบบูรณาการอย่างแท้จริง ในวันวัณโรคโลกสากล วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 255นี้ ทางมูลนิธิรักษ์ไทย ร่วมกับ สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ กองทุนโลกด้านเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย (The Global Fund) จัดกิจกรรมรณรงค์ “เมืองไทยปลอดภัยวัณโรค” โดยมี บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุนสถานที่จัดงาน นับเป็นการร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์วัณโรคเป็นปีที่ 4 โดยเน้นการจัดกิจกรรมให้ข้อมูลและความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณะชน เกี่ยวกับโรควัณโรคอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นในวงกว้าง ผ่านทางโซเชี่ยลเนทเวิร์ก (Social network) ซึ่งถือเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลและมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในสังคมคนไทยโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน การเผยแพร่ข้อมูลผ่านทาง Social network เน้นการเข้าถึงกลุ่มประชากรทุกๆ กลุ่ม เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสังเกตอาการเบื้องต้นของโรค และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันที ตลอดจนร่วมกันลดการรังเกียจผู้ป่วยวัณโรค โดยเฉพาะในการจัดกิจกรรม “เมืองไทยปลอดวัณโรค” เนื่องในโอกาสวันวัณโรคโลกสากล 24 มีนาคม 2556 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการช่วยขจัดวัณโรค เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค ตามคำขวัญของประเทศประจำปีนี้คือ “วัณโรค กินยาให้ครบ จบด้วยหาย” ซึ่งหมายถึงวัณโรคหากตรวจพบก่อนหรือเร็ว (Early Detection) ก็จะเป็นผลดีกับผู้ป่วยทำให้เข้าถึงการรักษาได้เร็วขึ้น เพราะการเจ็บป่วยไม่รุนแรงมีโอกาสแพร่เชื้อให้ชุมชนในช่วงเวลาสั้น ดังนั้นจึงต้องเน้นย้ำให้ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง เพราะการรักษาวัณโรคให้หายขาดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตัดวงจรการแพร่เชื้อ และลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคไปยังผู้อื่นและชุมชน ศ.นพ.ดร.กระแส กล่าวปิดท้าย สำหรับกิจกรรม “เมืองไทยปลอดวัณโรค” เนื่องในโอกาสวันวัณโรคโลกสากล 24 มีนาคม 2556 นี้จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมฟรีตลอดงาน ณ บริเวณลานกิจกรรม MBK Avenue Zone AB ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยจะมีนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับวัณโรค จากหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขและเครือข่ายองค์กรภาคีที่ร่วมจัดงานในครั้งนี้ รวมทั้งมีบริการตรวจเช็คสุขภาพ ตรวจวัดเบาหวาน ไต และให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ ฟรีตลอดงาน การจำหน่ายสินค้าเพื่อการกุศล ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับวัณโรคโดยแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิและหมอก้อง (Mr.TB) รับของรางวัลมากมายจากกิจกรรมเกมในงาน และห้ามพลาดกับการแสดงของศิลปินที่มีชื่อเสียง ชิน ชินวุฒิ และการแสดงอื่นๆ อีกมากมาย -กผ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวนายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์+พรเทพ ศิริวนารังสรรค์วันนี้

สธ. ใช้ 6 เสาหลัก LM สร้างคนไทยอายุยืน ลดเสี่ยง NCDS

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิตและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครั้งที่ 2 พ.ศ.2568 "เวชศาสตร์วิถีชีวิต: จังหวะชีวิตเพื่ออายุที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี" โดยมี แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย นายกสมาคมเวชศาสตร์วิถีชีวิตไทย และประธานมูลนิธิศาสตราจารย์นาย

กรมควบคุมโรคเดินเคาะประตูบ้าน ร่วมกับ กทม. แนะหลัก 3 เก็บ เป็นแนวทางป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาด 2. เก็บน้ำและปิดฝาให้มิดชิด ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่ และ 3.เก็บขยะเศษภาชนะรอบบ้านและในชุมชน เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง พร้อมชูคันนายาวเป็นชุมชนต้น...

ภาพข่าว: รวมพลังรณรงค์ต้านภัยไข้เลือดออกในชุมชน

นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อม ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ประธานคณะกรรมการการสาธารณสุข สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร นางอุดมพร พัฒนโกวิท ผู้อำนวยการเขตคันนายาว และร้อยเอกสมภพ พงษ์คีรี ร.12 พัน 3 รอ. โรงเรียน อสส. ข้าราชการและประชาชนในพื้นที่...

กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กทม.ลงพื้นที่ชุมชนรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก

กรมควบคุมโรคเดินเคาะประตูบ้าน ร่วมกับ กทม. แนะหลัก 3 เก็บ เป็นแนวทางป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ได้แก่ 1.เก็บบ้านให้สะอาด 2. เก็บน้ำและปิดฝาให้มิดชิด ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่ และ 3.เก็บขยะเศษภาชนะรอบบ้านและในชุมชน เพื่อกำจัดแหล่ง...

นายวุฒิชัย มะสี รองนายกเทศมนตรี เป็นตัวแท... ภาพข่าว: ปราศจากโฟม 100% — นายวุฒิชัย มะสี รองนายกเทศมนตรี เป็นตัวแทนเทศบาลนครนนทบุรีเข้ารับมอบประะกาศเกียรติคุณและยกย่องเชิดชูเกียรติ "องค์กรปลอดโฟม 100...

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ประกาศเกียรติคุณองค์กรปลอดโฟม 100% และเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายด้านสุขาภิบาลอาหาร” ปีงบประมาณ 2558

บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจำกัด (มหาชน) หรือ GRACZ ขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนร่วมงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ประกาศเกียรติคุณองค์กรปลอดโฟม 100% และเสริมสร้างความ...

กรมอนามัย จับมือ ภาคเอกชน ร่วมต้านโฟม ชี้ พบสารอันตราย 3 ชนิด แนะ หันมาใช้วัสดุธรรมชาติ

กรมอนามัย จับมือ องค์กรภาคเอกชน ร่วมรณรงค์เลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ชี้ พบ 3 สารอันตราย ก่อมะเร็ง และเป็นพาต่อระบบสืบพันธุ์ จากกล่องโฟม แนะใช้วัสดุธรรมชาติแทนโฟม ปลอดภัยต่อชีวิต และสิ่งแวดล้อม ดร.นายแพทย์พรเทพ...