สสส. เผยผลสำรวจล่าสุด “ฟันน้ำนมผุ” ภัยมืดส่งผลให้ “เด็กพัฒนาการล่าช้า” สานต่อโครงการ “ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก” เป็นปีที่ 2 สร้างความเข้าใจใหม่แก่พ่อแม่

กรุงเทพฯ--4 ก.พ.--โฟว์ดี คอมมิวนิเคชั่น

สสส. ชี้ เด็กไทย 80% กำลังเผชิญ “โรคฟันน้ำนมผุ” ภัยร้ายที่พ่อแม่มองข้ามแต่กลับส่งผล ต่อพัฒนาการของเด็ก ฟันผุทำให้เด็กมีการบดเคี้ยวที่แย่ลง ส่งผลให้เกิดการขาดสารอาหารเรื้อรัง แคระแกร็น สมองพัฒนาน้อย ความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการช้า ล่าสุดสานต่อแคมเปญ รณรงค์ “ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก ปี 2” เร่งเปลี่ยนความเข้าใจพ่อแม่ทั่วประเทศให้เริ่มดูแลตั้งแต่ ฟันน้ำนมซี่แรก ทพ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการสำรวจโดยกรมอนามัย พบว่า เด็กเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และเมื่ออายุ 3 ขวบ จำนวน 6 ใน 10 คน จะมีฟันน้ำนมผุ โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุคนละประมาณ 3 ซี่ และเมื่อเด็กโตขึ้นจนอายุ 5 ขวบ ฟันน้ำนมก็จะ ผุมากขึ้น โดยเด็ก 8 ใน 10 คนมีฟันผุ ประมาณคนละ 5 ซี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทที่มีอุบัติการณ์ ของฟันผุสูงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว บางพื้นที่พบ 100 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กมีฟันผุในช่องปาก และร้อยละ 90 ของเด็กที่มีฟันผุยังไม่เคยได้รับการรักษาใดๆ ปัจจุบันพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนมากยังมีความเข้าใจที่ผิดว่า ฟันน้ำนมไม่สำคัญไม่จำเป็นต้องดูแล พอหลุดไปฟันแท้ก็ขึ้นมาแทนที่ ปัญหาฟันผุจึงยังเป็นปัญหาสาธารณสุข ของประเทศ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของเด็กและการเจริญเติบโตต่อไปในอนาคตด้วย จากการรวบรวมบทวิจัยเพื่อวิเคราะห์โดย ผศ พบว่า ทรงชัย ฐิตโสมกุล.ดร.ทพ.การบดเคี้ยว มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาด้านการทำงานของสมอง การเคี้ยวอาหารแข็งจะส่งสัญญาณประสาทไปที่สมอง ทำให้มีการเจริญเติบโตทางสมองดีกว่าเมื่อเทียบกับการเคี้ยวอาหารอ่อน นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่มีฟันผุ จนมีอาการปวดเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการและสุขภาพโดยรวมของตัวเด็กเอง หลายการศึกษาพบว่า เด็กที่มีฟันผุจะมีน้ำหนักต่ำกว่าอายุเมื่อเทียบกับเด็กกลุ่มที่ไม่มีฟันผุ และเมื่อได้รับการบูรณะฟันทั้งปาก เด็กจะมีการเจริญเติบโตเท่ากับกลุ่มที่ไม่มีฟันผุ แต่ก็มีบางการศึกษาที่พบว่าเด็กที่มีฟันผุไม่สามารถ รับประทานอาหารได้อย่างสมดุลและเลือกรับประทานอาหารเหลว รสหวาน จะทำให้เกิดภาวะอ้วนได้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือเด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถอธิบายหรือบอกถึงความเจ็บปวดที่เกิดจากฟันผุได้แต่จะแสดงออกถึงการมีความเจ็บปวดเรื้อรังโดยไม่อยากรับประทานอาหาร รู้สึกหงุดหงิด และนอนไม่หลับ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของตัวเด็กเอง โดยผลการวิเคราะห์ข้างต้นสอดคล้องกับผลการศึกษาของ รศ.ทญ. ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล ที่พบว่า โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยจะส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเด็กในกลุ่มที่ฟันแข็งแรง เนื่องจากในภาวะที่เด็กมีความเจ็บปวดและอยู่ในระหว่างการติดเชื้อของฟัน เด็กจะรับประทานอาหารได้น้อยลง ความเจ็บปวด ที่รบกวนการนอนของเด็กจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายลดลง และขณะที่ ร่างกายมีการติดเชื้ออัตราการเผาผลาญพลังงานโดยรวมในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจะรบกวนต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามปกติของเด็ก ในเด็กที่มีการสูญเสียฟันหน้าน้ำนมบนไปตั้งแต่อายุน้อยๆ จะส่งผลต่อพัฒนาการในการพูดและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก และเด็กที่มีฟันน้ำนมผุจะมีโอกาสเกิด ฟันผุในฟันแท้เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ แม้รัฐบาลจะมีพรบ.หลักประกันคุณภาพถ้วนหน้าต่อโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย เพื่อให้เกิดความ เท่าเทียมในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของประชากรไทยแล้วก็ตาม แต่ในกรณีที่โรคลุกลามไปมาก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก การรักษาจะยุ่งยากมากขึ้นถึงแม้การรักษาเนื้อเยื่อในฟันน้ำนมจะระบุไว้ว่า เป็นสิทธิประโยชน์ของการประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่จากการสำรวจพบว่า ร้อยละ 51 ของทันตแพทย์ไม่สามารถให้บริการในระดับที่ยุ่งยากได้ เนื่องจากมีปริมาณผู้ป่วยมากและไม่สามารถ จัดการพฤติกรรมเด็กได้ รวมทั้งหลังการรักษาเนื้อเยื่อในฟันน้ำนมเหล่านี้จำเป็นต้องบูรณะด้วยครอบฟันเหล็ก ไร้สนิม ซึ่งไม่รวมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์และผู้ปกครองก็ไม่สามารถจ่ายค่ารักษาเองได้ ทันตแพทย์จึงมักเลือกถอนฟันน้ำนมเหล่านี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบตามมา คือ มีการสูญเสียพื้นที่ในขากรรไกรซึ่งต้องใส่เครื่องกันที่ โดยงานชนิดนี้ ก็ไม่รวมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์เช่นกัน ทำให้เด็กไทยในครอบครัวที่มีรายได้น้อยยังขาดการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมอย่างสมบูรณ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น เพราะนอกจาก ค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคจะต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาแล้ว การที่เด็กไทยมีสุขภาพช่องปากดี ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรของประเทศในอนาคตอีกด้วย โดยการดูแลเพื่อการป้องกันฟันผุ สามารถทำได้โดยการแปรงฟันให้เด็กด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์วันละ 2 ครั้ง และควบคุมการกินหวานของเด็ก -กภ-

ข่าวจันทนา อึ้งชูศักดิ์+สำนักทันตสาธารณสุขวันนี้

ภาพข่าว: กรมอนามัยเตรียมประสานความร่วมมือเพื่อสังคมไทยไร้ฟันผุ เดินหน้ารณรงค์สนับสนุนคนไทยสุขภาพฟันดีทุกช่วงวัยของชีวิต

ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย (ซ้าย) รองอธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย ทพญ. สุปราณี ดาโลดม (ที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ทพญ. จันทนา อึ้งชูศักดิ์ (ที่ 4 จากขวา) ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย ทพญ. ปิยะดา ประเสริฐสม (ขวา) ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และ ผศ.ทพญ.ดร. วรานุช ปิติพัฒน์ (ที่ 3 จากขวา) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการประชุมปรึกษาหารือเตรียมประสานความร่วมมือเพื่อสังคมไทยไร้ฟันผุ (Alliance for a Cavity-Free Future) ซึ่งมีความเป็นไปได้สำหรับประเทศ

ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามั... ภาพข่าว: รณรงค์ขับเคลื่อนเด็กไทยไม่กินหวาน — ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วยทพญ.สุปราณี ดาโลดม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข ทพญ...

สสส. เผยผลสำรวจล่าสุด “ฟันน้ำนมผุ” ภัยมืดส่งผลให้ “เด็กพัฒนาการล่าช้า” สานต่อโครงการ “ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก” เป็นปีที่ 2 สร้างความเข้าใจใหม่แก่พ่อแม่

สสส. ชี้ เด็กไทย 80% กำลังเผชิญ “โรคฟันน้ำนมผุ” ภัยร้ายที่พ่อแม่มองข้ามแต่กลับส่งผล ต่อพัฒนาการของเด็ก ฟันผุทำให้เด็กมีการบดเคี้ยวที่แย่ลง ส่งผล...

กรมอนามัย โดยสำนักทันตสาธารณสุขจัดการประก... เผยโฉม วัยเก๋า 90 ปี ฟันครบ 32 ซี่ ไม่มีหลุด — กรมอนามัย โดยสำนักทันตสาธารณสุขจัดการประกวดสุดยอดผู้สูงอายุฟันดี ประเทศไทย ปี 2568 เพื่อรณรงค์สร้างกระ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักทันตสา... 'ปลดล็อก' การเข้าถึงบริการทันตกรรม กรมอนามัยจับมือภาคีเครือข่าย นำทีมหมอฟันลุย 'บ้านราชาวดี' — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักทันตสาธารณสุข ร่วมกับ 8 ...

สสส.-เครือข่ายลดบริโภคเค็ม-WHO หนุน 4 มาตรการ "ลดการบริโภคเกลือโซเดียม" ดึง ผู้ประกอบการปรับสูตรอาหาร-กำหนดนโยบายจัดซื้ออาหารอ่อนเค็มในองค์กร

เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2565 ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า...

บุญฤทธิ์ มหามนตรี (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานก... ภาพข่าว: พิธีมอบรางวัล ไลอ้อน เพื่อสุขภาพช่องปาก ประจำปี 2562 — บุญฤทธิ์ มหามนตรี (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด เป็นประธาน...

สป.จัดประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็นของ องค์กรผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 57 : กรณีขนมเด็กกับสุขภาพเด็กไทย ครั้งที่ 2

คณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอเชิญสื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วมประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็นของ องค์กรผู้บริโภคตาม...