ไอบีเอ็มยกทัพโซลูชั่นเสริมแกร่งข้อมูลการเงิน ช่วยผู้บริหารการเงินตอบโจทย์ความสำเร็จธุรกิจ เหนือชั้นด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาด

กรุงเทพฯ--18 ก.ค.--ไอบีเอ็ม

ไอบีเอ็มยกขบวน Business Analytics Softwareเสริมศักยภาพข้อมูลด้านการเงิน เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายในการวัดประสิทธิภาพทางธุรกิจ การเตรียมข้อมูลเพื่อวางกลยุทธ์ขององค์กร การผลักดันองค์กรเพื่อลดค่าใช้จ่าย และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการเงิน นำเสนอโซลูชันล่าสุด IBM Cognos 10 ที่สามารถเสริมศักยภาพองค์กรด้านการวางแผน การวิเคราะห์และกระบวนการสร้างโมเดลจำลองการทำกำไร ตลอดจนฟีเจอร์ขั้นสูงล่าสุดในซอฟต์แวร์ IBM Business Analytics ที่แสดงให้เห็นว่า ทำอย่างไรบริษัทถึงสามารถสร้างแบบจำลองได้อย่างไดนามิก สร้างแผนงานที่เชื่อถือได้ การวิเคราะห์และโมเดลการทำกำไรที่เหมาะสม ซึ่งเชื่อมโยงทั้งกระบวนการทำงานและด้านการเงิน เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถวางแผน คาดการณ์และตอบสนองต่อโอกาสทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยง นางเจษฎา ไกรสิงขร กรรมการ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็มประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ไอบีเอ็มมีแพลตฟอร์มด้านการเงินที่ครบวงจร ทำได้อย่างอัตโนมัติ ภายในแอพพลิเคชันเดียว ที่สามารถรองรับกระบวนการทางด้านการเงินอย่างครบถ้วน เชื่อมโยงรายงานภายนอก จัดการตรวจสอบบริหารและควบคุมได้อย่างต่อเนื่อง แพลตฟอร์มนี้ยังช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถวางกรอบการดำเนินงานเพื่อตอบโจทย์การบริหารจัดการความเสี่ยงและข้อกำหนดกฎหมายต่างๆ รวมถึงการเรียงลำดับความสำคัญของความเสี่ยงและประสิทธิภาพการบริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้น ประหยัดงบประมาณและช่วยให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจดีขึ้นกว่าเดิม” ไอบีเอ็มยังมีซอฟต์แวร์โซลูชั่นของ IBM Cognos BI, IBM Cognos BI – Scorecarding, IBM Cognos TM1 และ SPSS Modeler ซึ่งเป็นโซลูชันที่ช่วยให้ผู้บริหารฝ่ายการเงินสามารถคาดการณ์ช่องว่างของเป้ายอดขาย รายได้ เป้าหมายการขายและผลลัพธ์รายได้หรือยอดขายจริง ด้านการเงินที่สำคัญๆ สำหรับการบริหารจัดการด้านการเงิน การบริหารยอดขาย บริหารรายจ่ายและดัชนีชี้วัดการลงทุนที่จะปรากฎในข้อมูลสรุปสำหรับผู้บริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดัชนีชี้วัดสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งานในตัวจะช่วยแจ้งเตือนช่องโหว่ต่างๆ ในแต่ละมุมมองทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินต่างเผชิญแรงกดดัน ที่ต้องการวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนขึ้น มีข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น ควบคุมด้านการเงินขององค์กรให้มีเสถียรภาพมากขึ้นนั้น องค์กรจึงจำเป็นต้องเน้นการใช้รายงานที่สามารถมองเห็นข้อมูลได้อย่างครบถ้วน รองรับการสร้างโมเดลจำลอง การปรับแต่งและการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงความสามารถในการคาดคะเนอนาคต องค์กรธุรกิจด้านการเงินจึงต้องปรับตัวสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะด้วยการเพิ่มศักยภาพด้านการวิเคราะห์และการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เตรียมพร้อมปรับตัวสู่ความก้าวหน้าในยุคเศรษฐกิจที่ผันผวน หมายถึงต้องพร้อมคาดการณ์ล่วงหน้า ต้องพร้อมปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจ และต้องสร้างความโปร่งใสเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงและเสริมศักยภาพการตัดสินใจ -กภ- สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวจัดการความเสี่ยง+การบริหารจัดการวันนี้

คปภ. ออกแนวปฏิบัติใหม่ ! คุมเข้มความเสี่ยงประกันภัยต่อ ยกระดับการบริหารจัดการสร้างเสถียรภาพให้บริษัทประกันวินาศภัย

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ออกประกาศแนวปฏิบัติที่ดี ในการควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2568 เพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ที่บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำเนินการในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการประกันภัยต่อให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ที่บริษัทประกันวินาศภัยต้องดำเนินการในการทำกิจกรรมด้านการประกันภัยต่อ เพื่อให้บริษัทประกันวินาศภัย มีการบริหารการประกันภัยต่อและการควบคุมความเสี่ยงที่

Ta Infinity นำเสนอโซลูชัน Managed Detecti... Ta Infinity ประกาศเปิดตัว 'Real MDR Solution by Infopercept' — Ta Infinity นำเสนอโซลูชัน Managed Detection and Response ที่ครอบคลุมที่สุดในประเทศไทย- ครอบ...

ไทยเครดิตเผยแผนธุรกิจปี 2568 มุ่งเน้นการเ... ไทยเครดิตเผยแผนธุรกิจปี 2568 — ไทยเครดิตเผยแผนธุรกิจปี 2568 มุ่งเน้นการเติบโตของสินเชื่อในระดับสองหลัก ตอกย้ำความแข็งแกร่ง เป็นเลิศด้านการดำเนินงาน พร้อม...

นายไพบูลย์ เปี่ยมเมตตา ผู้ช่วยเลขาธิการ ส... คปภ. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย เสริมความมั่นคงธุรกิจประกันภัยไทย — นายไพบูลย์ เปี่ยมเมตตา ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย เ...

การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยเทรนด์ความปลอดภัยทางไ... การ์ทเนอร์เปิด 6 เทรนด์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ต้องจับตาในปี 2568 — การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยเทรนด์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สำคัญในปี 2568 โดยเทรนด์เหล่านี้เป็น...