ผลกระทบเศรษฐกิจโลกต่อสถานการณ์ยางพาราในประเทศไทย

กรุงเทพฯ--1ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร ต.ค.--ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร

ดร.จารึก สิงหปรีชา ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) เปิดเผยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นภายหลังสหรัฐอเมริกาประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบที่ 3 (QE3) ซึ่งส่งผลดีต่อสภาพคล่องของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยอดจำหน่ายยานพาหนะในสหรัฐอเมริกาเดือนกันยายนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากเดือนเดียวกันในปีก่อน และเพิ่มมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 ในขณะเดียวกันปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจกลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มชะลอตัว ประกอบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลในเชิงบวกต่อทิศทางเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาคการผลิตในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปยังไม่ขยายตัว เนื่องด้วยมาตรการทางการคลังในการปรับลดรายจ่ายของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณซึ่งยังไม่ส่งผลในระยะสั้นต่อเศรษฐกิจ จึงทำให้โดยรวมแล้วเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและเศรษฐกิจโลกยังไม่ขยายตัวเท่าที่ควร สำหรับสถานการณ์การผลิตยางพาราของโลกพบว่ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนการผลิตประมาณ 80% ของการผลิตยางของโลกมาจาก 5 ประเทศหลัก คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย และ เวียดนาม โดยประเทศไทยคิดเป็นประมาณ 30% ของการผลิตทั้งโลก อย่างไรก็ตามพบว่าประเทศที่เริ่มมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาคือประเทศเวียดนาม ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนการผลิตประมาณ 7.0% ในปี 2554 ในส่วนของประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตหลักของการผลิตยางพารา ประมาณได้ว่ามีผู้ปลูกยางกว่า 90%: ซึ่งเป็นผู้ปลูกรายย่อย ขณะเดียวกันจากข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทยพบว่ามีพื้นที่ปลูกรวมกับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยผลิตยางได้ประมาณ 3.52 ล้านตัน ประมาณ 34% ของผลผลิตของโลก แต่จะเห็นว่าผลผลิตต่อไร่ของประเทศไทยในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลงจากช่วงก่อน อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาปริมาณการใช้ยางพาราของโลกอยู่ที่ประมาณ 11.0 ล้านตันต่อปี โดยประมาณ 70% ของปริมาณการใช้ยางพาราของโลกอยู่ในประเทศหลักๆ 5 ประเทศ คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป ปริมาณการใช้ยางพาราประมาณ 35% ซึ่งคิดเป็นจำนวน 3.4 ล้านตัน ของการใช้ยางพาราโลกเป็นการใช้ยางพาราของประเทศจีน สำหรับราคายางพารา ราคาส่งมอบ ณ เดือน พฤศจิกายนที่ตลาด AFET ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 103.50 บาท ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเมื่อย้อนหลังไปถึงเดือนมิถุนายนในปีเดียวกัน สาเหตุเกิดจากการที่ตัวเลขการผลิตในสหรัฐอเมริกาในเดือนกันยายนที่มีการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบสี่เดือน แม้ว่าเศรษฐกิจยังดูเหมือนจะค่อยๆฟื้นตัวอย่างช้าๆ นอกจากนั้นแนวทางการจำกัดปริมาณการส่งออกยาง จำนวน 300,000 ตันที่ถือเป็นการจำกัดการส่งออกครั้งใหญ่ที่สุดนับตัวแต่ปี 2552 ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่สามรายคือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีสัดส่วนการส่งออกรวมกันถึง 70% จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งให้ราคายางในประเทศไทย คือราคายางแผ่นดิบได้ปรับตัวขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 90 บาทต่อ กก. แล้ว จากการคาดการณ์พบว่า แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคายางพาราในประเทศไทย อาจเพิ่มขึ้นแตะระดับ 100 ต่อ กก. ในช่วงปลายปี โดยสรุปแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นภายหลังการปรับเปลี่ยนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของผลิตภัณฑ์ยางพารา ขณะเดียวกันการถดถอยของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเริ่มเข้าสู่การชะลออันเป็นผลมาจากการใช้นโยบายการคลังของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ประกอบกับเศรษฐกิจจีนที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นก็จะส่งผลต่อความต้องการใช้ยางพาราและผลิตภัณฑ์มากขึ้น อย่างไรก็ตามนโยบายจำกัดการส่งออกยางพาราของผู้ผลิตรายใหญ่อาทิ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซียอาจส่งผลต่อการปรับตัวของราคายางให้เพิ่มสูงขึ้นในระยะสั้นแต่จะไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคายางพาราอย่างมากเหมือนในอดีต เนื่องจากปริมาณความต้องการและปริมาณการผลิตยางในตลาดโลกยังไม่แตกต่างกันมากจนทำให้เกิดการขาดแคลนและไปส่งผลต่อราคาให้มีความผันผวนมากเท่าที่ควร -นท-

ข่าวศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร+เศรษฐกิจการเกษตรวันนี้

ผ่าผลกระทบอุกทกภัยต่อภาคเกษตร มองมูลค่าความเสียหาย ถอดแผนฟื้นฟู เยียวยาภาครัฐ

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU OAE Foresight Center : KOFC) โดย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่าอุทกภัย ถือว่าเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยได้ทุก ๆ ปี เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตมรสุมตลอดทั้งปี อุทกภัยในปี 2554 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาลโดย

สศก. จัดงานแถลงข่าว ผลกระทบอุทกภัยต่อภาคการเกษตรไทย

ด้วยศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU OAE Foresight Center : KOFC)ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีกำหนดจัดงานแถลงข่าว "ผลกระทบอุทกภัยต่อภาคการ...

ไขมุมภาคเกษตร กับบัตรคนจน จากนโยบายสู่การปฏิบัติ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU OAE Foresight Center : KOFC) โดย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัย...

ไทยพร้อมศักยภาพ ครัวของโลก เจาะดัชนีความมั่นคงอาหารไทย ยืนแท่นอันดับ 3 ในอาเซียน

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU OAE Foresight Center : KOFC) โดย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัย...

การเตรียมความพร้อมภาคเกษตร Smart Farmer กับการเข้าสู่ “ไทยแลนด์ 4.0”

ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิด...

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จัดแถลงข่าว "ผลการดำเนินโครงการสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการแถลงข่าว ภาคเกษตรไทยกับการเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0”

ด้วยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU OAE Foresight Center : KOFC) มีกำหนดจัดงานแถลงข่าว "แถลงข่าวผลการดำเนิน...

เกาะติดผลกระทบเศรษฐกิจจากโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2559/60

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU OAE Foresight Center : KOFC) โดย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัย...

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร จัดงานแถลงข่าว เกาะติดผลกระทบเศรษฐกิจในโครงการประกันภัยข้าวนาปี

ด้วยศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU OAE Foresight Center : KOFC) ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์...

KOFC เปิดมุมวิเคราะห์รายได้ภาคเกษตร หลังรัฐดันท่องเที่ยวเชิงเกษตรไทยช่วงวันหยุดยาว

ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU OAE Foresight Center : KOFC) โดย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัย...

ความคิดเห็นของเกษตรกรในการแก้ปัญหาภัยแล้งของกระทรวงเกษตรฯ

ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) พร้อมด้วย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยร่วมกันว่า ศูนย์ติดตาม...