เตือนเอกชน-พันธมิตรปรับตัวให้สอดรับกับกฎหมาย UCA ของมะกัน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธุรกิจ ทำส่งออกสะดุด ชี้เร่งขยายตลาดเพิ่ม เล็งจีน ยุโรปตะวันออก รัสเซีย

กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีบริษัท ณรงค์ซีฟูด จำกัด ตกลงกับอัยการรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐฯ เพื่อจ่ายค่าปรับจำนวน 10,000 เหรียญสหรัฐฯ ในข้อหาฐานที่ได้เคยใช้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายในการประกอบกิจการผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งจากไทยไปยังสหรัฐฯ ภาย ใต้การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Competition Act – UCA) ว่า ถือเป็นการใช้มาตการทางกฎหมายที่เข้มแข็งขึ้นของ ประเทศผู้ซื้อ-ผู้นำเข้า และกรณีนี้จะเป็นกรณีตัวอย่างที่ผู้ประกอบการของไทยต้องตระหนักถึงการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯและประเทศผู้นำเข้าอื่นๆ จะ ใช้เป็นตัวอย่างให้สามารถทำธุรกิจต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด ทั้งนี้กรมฯหวังว่า กรณีดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบการไทยและพันธมิตรทางธุรกิจตื่นตัว เพื่อตรวจสอบกิจการของตนเองและเครือข่ายใช้ระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กร เพื่อให้แน่ใจได้ว่าสามารถประกอบธุรกิจภายใต้พระราชบัญญัติสิขสิทธิ์ของไทย และเร่งดำเนินการในการปรับปรุงระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธุรกิจ รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุด นางศรีรัตน์ กล่าวถึงการส่งออกกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูปในปี 2555ว่า คาดว่าจะมีมูลค่า 3,256.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงประมาณ 8 % คิดเป็นปริมาณ 361,226 ตัน หรือลดลง 5% โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2555 (ม.ค.-ส.ค.)ส่งออกไปทั่วโลกแล้วมีปริมาณ 210,498 ตัน ลดลง 11% เมื่อเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นกุ้งสดแช่เย็น- แช่แข็ง ปริมาณ 118,280 ตัน หรือ ลดลง 6 % และกุ้งแปรรูป ปริมาณ 92,218 ตัน หรือ ลดลง16 % ทั้งนี้ สาเหตุที่การส่งออกกุ้งมีมูลค่าการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกลดลง เป็นผลจากการที่คู่แข่งสำคัญของไทย คือ อินโดนีเซีย สามารถผลิต กุ้งออกสู่ตลาดมากขึ้นจากที่เคยประสบปัญหาโรค IMNV ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับอินเดียหันมาเลี้ยงกุ้งขาว ทำให้มีปริมาณวัตถุดิบกุ้งในตลาดโลก มากส่งผลให้ราคาสินค้ากุ้งในตลาดโลกปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก (สัดส่วน 37 % ) มีมูลค่าการส่งออกลดลง 31 % เนื่องจากผู้นำเข้ามีการชะลอการสั่งซื้อ สินค้าจากไทย เพราะราคาสินค้าของไทยสูงกว่าคู่แข่ง โดยส่วนหนึ่งหันไปนำเข้าสินค้ากุ้งจากอินโดนีเซีย อินเดีย และประเทศในกลุ่มอเมริกาใต้เพิ่มขึ้น คาดว่าการส่งออกในปี 2555 จะมีปริมาณการส่งออกและมูลค่าการส่งออกลดลงจากปี 2554 อย่างไรก็ตามการผลิตและส่งออกกุ้งของไทย มีจุดแข็งหลายด้าน เชื่อว่าจะยังรักษาตลาดและสถานภาพความเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการเป็น ผู้ผลิตอาหาร เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นฐานด้านการผลิตทางการเกษตร อีกทั้งคุณภาพสินค้า และกระบวนการผลิตสินค้ากุ้งของไทย มีคุณภาพตามมาตรฐาน สากลและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ สำหรับกลยุทธ์การเพิ่มการค้าสินค้ากุ้ง กรมฯได้สนับสนุนให้ตรวจสอบสุขอนามัยทั้งในเรื่องการจัดระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการแพกุ้ง การยกระดับมาตรฐานด้านสถานที่แปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น เป็นต้น การส่งเสริมความหลากหลายของสินค้าและขยายตลาดให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดจีน ยุโรป ตะวันออก รัสเซีย สนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการแปรรูปสินค้ากุ้งในภูมิภาคอาเซียน เป็นต้น ประเทศ มูลค่า:ล้านUSD อัตราขยายตัว:ร้อยละ สัดส่วน:ร้อยละ 2554 2555 2554 2555 2554 2555 (ม.ค-ส.ค) (ม.ค-ส.ค) (ม.ค-ส.ค) 1.สหรัฐอเมริกา 1,645.48 693.79 13.33 -31.15 46.49 37.06 2.ญี่ปุ่น 791.32 492.85 25.89 -0.92 22.35 26.67 3.สหราชอาณาจักร 184.40 128.90 34.49 10.42 5.21 6.77 4.แคนาดา 208.75 121.88 26.32 -0.78 5.90 6.38 5.เยอรมนี 98.66 69.18 5.36 10.44 2.79 3.67 6.เกาหลีใต้ 76.47 53.15 34.57 6.53 2.16 2.86 7.ออสเตรเลีย 85.92 52.56 11.70 20.02 2.43 2.82 8.เวียดนาม 42.81 45.96 38.14 202.90 1.21 2.64 9.ฝรั่งเศส 61.71 24.55 9.17 -40.45 1.74 1.34 10.ไต้หวัน 33.68 22.38 4.00 19.76 0.95 1.21 รวม10ประเทศ 3,229.54 1,705.19 18.28 -13.71 91.23 91.38 อื่นๆ 310.54 160.82 -5.95 -15.93 8.77 8.62 มูลค่ารวม 3,540.08 1,866.01 15.66 -13.91 100.00 100.00 สำนักประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โทร.(02) 507-7932-34 -ณอ-

ข่าวผู้ประกอบการ+ส่งออกอาหารวันนี้

EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ

นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการ และรักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยภายหลังประชุมหารือแนวทางการดำเนินการของไทยต่อกรณีนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและภาคเอกชน ณ กระทรวงการคลัง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า EXIM BANK พร้อมดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลกระทบจากนโยบายภาษีแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ของสหรัฐฯ ที่มีต่อผู้ประกอบการไทย ภายใต้ 5 แนวทางหลัก ดังนี้ จัดตั้งคลินิกผู้ประกอบการ (Export

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระ... DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที "THAIFEX - ANUGA ASIA 2025" — กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับหอการค้าไทย แ...

กรมการท่องเที่ยว ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอ... กรมการท่องเที่ยว ชวนผู้ประกอบการไทยอบรมออนไลน์ รู้ลึก "เกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง Home Lodge" — กรมการท่องเที่ยว ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที...

PwC ประเทศไทย คาด 'AI agent' จะถูกนำมาใช้... PwC คาด AI agent จะพลิกโฉมธุรกิจและการจ้างงานในอีก 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า — PwC ประเทศไทย คาด 'AI agent' จะถูกนำมาใช้งานในธุรกิจไทยมากขึ้น หลังช่วยเพิ่มผ...

ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ชี้มาตรการภาษีทรัมป... ผอ.ใหญ่ ดีป้า แนะไทยเดินหน้าหาตลาดใหม่ เตรียมการรับมือมาตรการภาษีทรัมป์ — ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า ชี้มาตรการภาษีทรัมป์เป็นการโยนหินถามทางเพื่อสังเกตท่าทีของ...