กรุงเทพฯ--29 พ.ค.--สก็อตเอเชีย คอมมิวนิเคชั่นส์
มร. วิลเลี่ยม นีเอ็มไมเออร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คีรี ทราเวล กรุ๊ป:การอภิปรายย่อยในหัวข้อการท่องเที่ยวของการประชุมเศรษกิจโลก หรือ World Economic Forum ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม นี้นั้น จะนำเสนอให้เราทราบถึง ความเป็นมืออาชีพและการบูรณาการ เพื่อนำไปสู่แนวทางการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในลุ่มแม่น้ำโขงและอาเซียน
การอภิปรายผ่านการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ในหัวข้อ “ผลักดันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการเจริญเติบโต” จะจัดขึ้นช่วง 10.45-12.00 น. วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม นี้ โดยมีหัวข้อย่อยของการอภิปราย คือ “อะไรคือบทบาทของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการบูรณาการด้านการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียน”
ภาพรวมที่ดีที่สุดที่จะถูกอภิปรายในครั้งนี้ คือ การรับมือกับความท้าทาย เช่น การสร้างงาน โอกาสในการเจริญเติบโต นวัตกรรมและเทคโนโลยีการท่องเที่ยว โดยนำประสบการณ์จากความสำเร็จในภูมิภาคมาถ่ายทอดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และส่งเสริมการแข่งขัน ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ดีและมีคุณค่า ในฐานะผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในประเทศไทยและลุ่มแม่น้ำโขงมากว่า 18 ปี ผมอยากจะบอกว่า มันคือเวลาสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะเติบโตขึ้น
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของอาเซียนเปรียบได้กับวัยรุ่นที่เริ่มต้นได้ดีในระดับชั้นประถม (นักท่องเที่ยวรวมของ 10 ประเทศในอาเซียน ในปี 2554 มากกว่า 80.5 ล้านคน ถือว่าไม่แย่นัก) แต่ขณะนี้เรามีวิสัยทัศน์อย่างไร จะเน้นหนักการสร้างแรงงานให้มีทักษะ ความสามารถ สร้างนวัตกรรม ความมีระเบียบวินัยและมาตรฐานสากล ให้เพิ่มขึ้นหรือไม่
ทั้งหมดนี้คือวิสัยทัศน์ที่ถูกโน้มน้าวให้เป็น ในขณะที่ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องของความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนยังมีน้อยมาก
ดังนั้น ผมจึงอยากจะฝากข้อความถึงผู้นำด้านการท่องเที่ยวของอาเซียนที่กำลังจะเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ว่า “อย่างปล่อยเวลาให้เสียเปล่า” ในมุมมองของผมอยากให้ผู้นำทางการเมืองของภูมิภาคเร่งดำเนินการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงในห้าประเด็น เพื่อสร้างโอกาสการเจริญเติบโตในด้านการสร้างงาน และสังคม ดังนี้
1. การยกเลิกระบบการขอวีซ่า โดยใช้วีซ่า on arrival 30 วัน อัตโนมัติ สำหรับสมาชิกอาเซียนและรวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวในตลาดอื่น นี่คือไพ่ใบหลักที่จะทำให้อาเซียนแข่งขันได้ ดังเช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์และไทย ซึ่งประสบความสำเร็จมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่สามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวโดยกำจัดความยุ่งยากในการบริหารที่ซ้ำซ้อนของงานด้านการผ่านเข้าออก ซึ่งหมายถึงการสร้างงานที่จะมีมากขึ้น
2. สร้างแรงจูงใจให้เกิดการสร้างและขยายการเติบโตด้านการท่องเที่ยวไปสู่ภาคท้องถิ่น โดยอาศัยคู่ค้า เช่น เอ็นทีโอ บริษัทผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสายการบินต้นทุนต่ำ ที่มีช่องการตลาดที่มีประสิทธิภาพสามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กับภูมิภาคได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสามารถส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการท่องเที่ยวให้กับท้องถิ่นของตน
3. ส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามพรมแดนทั้งในรูปแบบของการขับรถยนต์ส่วนตัวและรถทัวร์ ควรผลักดันให้เกิดการยอมรับการใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในกลุ่มประเทศอาเซียน ยอมรับและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการขับรถยนต์ข้ามพรมแดนเพื่อการท่องเที่ยวให้ได้รับการประกันภัย ในด้านกลุ่มทัวร์ เราควรส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวข้ามพรมแดนแบบของฝรั่งเศส เยอรมนีและอิตาลี ให้เกิดขึ้น เช่น ชาวกรุงเทพฯต้อนรับรถบัสและกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศกัมพูชา และกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปยังประเทศลาวและเวียดนามโดยรถบัสเช่นกัน
4. สร้างหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการท่องเที่ยวให้ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ทันสมัยขึ้น ซึ่งปัจจุบันวิชาที่สอนในวิทยาลัยการท่องเที่ยวกว้างเกินไป การฝึกอบรมภาคปฎิบัติยังน้อยอยู่มาก เช่น การฝึกอบรมด้านภาษารวมถึงการควบคุมสถาบันการเรียนการสอนด้านการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานและใบรับรอง ซึ่งประเทศไทยและเวียดนามถือว่ายังอ่อนมากเมื่อเทียบกับสิงคโปร์
5. ย้อนกลับมาจุดของการบูรณาการการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ตัวอย่างเช่น แม้ว่าในปี 2558 จะเกิดการรวมตัวของชาติอาเซียน 10 ประเทศและก่อให้เกิดความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะจำกัดการเข้าถึงความเป็นเจ้าของในธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาวขึ้นไป รวมถึงจำกัดพื้นที่ที่ทุนต่างชาติสามารถครอบครองได้ 100 เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่น่าเศร้าคือเงื่อนไขข้อจำกัดของใบอนุญาตทำงานยังคงอยู่หลังปี 2558 แล้วก็ตาม เช่น พนักงานต้อนรับสัญชาติฟิลิปปินส์หรือผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมชาวมาเลเซีย จะยังไม่สามารถย้ายถิ่นฐานมาประเทศไทยหรือสิงคโปร์ กล่าวคือยังคงต้องยื่นขอใบอนุญาตทำงานและปฎิบัติตามเงื่อนไขเดิม
ดังนั้นกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวควรจะเล็งเห็นถึงโอกาสในการส่งออกการให้บริการและคุณภาพด้านการท่องเที่ยว ตัวอย่างเช่น ชาวสิงคโปร์ควรจะเน้นเรื่องนโยบายและขั้นตอนการฝึกอบรม คนไทยควรเน้นเรื่องจริยธรรมการให้บริการ เป็นต้น นี่คือโอกาสมากกว่าที่จะคิดว่ามันคือภัยคุกคาม
ด้วยการฝึกอบรมทักษะด้านกลยุทธ์และเทคนิครวมถึงความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ชำนาญและมีมาตรฐานของศักยภาพในการให้บริการ นักเรียนอาเซียนด้านการท่องเที่ยวจะเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติครบถ้วนในการให้บริการภาคการท่องเที่ยวที่ดูดีมีเสน่ห์และรอบคอบ ความร่วมมือในด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียนจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอุ้มชู อย่างที่เราได้เห็นแล้วถึงโอกาสที่มีอยู่สูงในประเทศพม่า บริษัทฯด้านการท่องเที่ยว คีรี ทราเวล ยืนยันที่จะอยู่แถวหน้าเพื่อสร้างและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการสร้างงานในระดับท้องถิ่นด้วยความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับบริษัทคีรี แทรเวล จำกัด
บริษัทคีรี ทราเวลก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2537 โดยเป็นบริษัทตัวแทนด้านการจัดการท่องเที่ยวที่มีเครือข่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีสำนักงานทั้งสิ้นแปดแห่งในประเทศไทย, ลาว, เวียดนาม, และกัมพูชา บริษัทคีรี ทราเวลเป็นบริษัทที่มีความรู้ในการจัดการท่องเที่ยวและรับผิดชอบดูแลการท่องเที่ยวในแถบอินโดจีน สามารถดูรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมของบริษัทได้ที่ www.khiri.com
ข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ
บริษัท คีรี แทรเวล กรุ๊ป จำกัด
252/13 ถนนงามวงศ์วานซอย 3
นนทบุรี 11000
โทร: (+66) [0] 2953 5398
แฟกซ์: (+66) [0] 2957 5717
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : www.khiri.com
สำหรับสื่อมวลชนโปรดติดต่อ
คุณเคน สก็อต
สก็อตเอเชีย คอมมิวนิเคชั่นส์
อีเมล์ : [email protected]
มือถือ : (+66) 81 931 2753
-กผ-
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit