คานส์, ฝรั่งเศส--4 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/ อินโฟเควสท์
- รายงานเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของนวัตกรรมในการขยายทรัพยากรการพัฒนาเพื่ออนาคต
ในรายงานเกี่ยวกับการเงินเพื่อการพัฒนา ซึ่งส่งมอบให้แก่ผู้นำกลุ่มประเทศจี 20 ในการประชุมสุดยอด จี20 วันนี้ บิลล์ เกตส์ ประธานร่วมของมูลนิธิบิลล์ แอนด์ เมลินดา เกตส์ กระตุ้นให้ผู้นำประเทศต่างๆ บริจาคทรัพยากรจำนวนมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาหรือลดความเสี่ยงที่นำอาจไปสู่ความเสียหายที่ไม่อาจเยียวยาได้ในหมู่ประชาชนที่ยากจนที่สุดในโลกจำนวนหลายล้านคน ประเด็นสำคัญในการเสนอข้อแนะนำดังกล่าวคือ ความคิดที่ว่านวัตกรรมสามารถเพิ่มประสิทธิผลของทรัพยากรที่ทำมาใช้ในการพัฒนาได้มากขึ้นเป็นทวีคูณ
รายการของเกตส์ในหัวข้อ "นวัตกรรมและผลลัพธ์: การเงินเพื่อการพัฒนาในคริสต์ศตวรรษที่ 21 (Innovation with Impact: Financing 21st Century Development)" นำเสนอแก่ผู้นำรัฐและรัฐบาลในเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส จากการร้องขอของนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและประธานกลุ่ม จี20
"การนำของกลุ่มจี G20 เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ เราจะต้องสร้างความก้าวหน้าทั้งในด้านสุขภาพและการพัฒนา ซึ่งไม่เคยประสบผลสำเร็จเลยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา" บิลล์กล่าว “ทศวรรษถัดไปต่อจากนี้ เราจะต้องกระตุ้นการพัฒนาให้มากขึ้น เพื่อให้กลุ่มคนที่ยากจนที่สุดของโลกมีชีวิตที่ดีขึ้น"
ในรายงาน บิลล์ เกตส์ เน้นย้ำว่าประเทศที่ร่ำรวยจำเป็นต้องรักษาความมีน้ำใจของตนเอาไว้และทำตามพันธสัญญาที่เคยให้ไว้ว่า จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศยากจน ซึ่งโดยทั่วไปคิดเป็นเงิน 1-2 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณรัฐ ในขณะเดียวกันก็ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการนำงบประมาณดังกล่าวไปใช้พัฒนาด้านสุขภาพและเกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
"หากประเทศต่างๆ ที่เคยให้คำมั่นรักษาสัญญาแล้ว จะมีเงินทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นไป" บิลล์ เกตส์ แสดงความเห็น "เงินทุนที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีนี้ จะช่วยลดความยากจนและเร่งการเติบโตของประเทศยากจนจนกระทั่งพวกเขาไม่จำเป็นต้องใช้ทุนช่วยเหลือนี้อีกต่อไป"
นอกเหนือจากความรับผิดชอบของประเทศร่ำรวยแล้ว บิลล์ เกตส์ยังกล่าวอีกว่า เศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในประเทศกลุ่มจี20 ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างความก้าวหน้าด้านการพัฒนา ในรายงานฉบับดังกล่าว เขาได้เสนอความคิดให้ประเทศต่างๆ ถ่ายโอนนวัตกรรมที่ตนเป็นผู้บุกเบิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นวัตกรรมเพื่อสุขภาพและการเกษตร เช่น วัคซีนและเมล็ดพันธุ์ ให้แก่ประเทศยากจนเร็วขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ เพื่อเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของคนยากจนในแอฟริกาและภูมิภาคอื่นๆ ให้ดีขึ้น
"ในทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อย่าง จีน บราซิล เม็กซิโก อินโดนีเซีย และตุรกี เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราความยากจนลดลงอย่างรวดเร็ว นี่คือตัวอย่างที่ดีของสิ่งที่เราสามารถทำได้และประสบผลสำเร็จ" บิลล์กล่าว
บิลล์ตั้งข้อสังเกตว่าประเทศต่างๆ เหล่านี้มีประสบการณ์ในลดความยากจนที่ทันสมัย และมีความสามารถทางเทคนิคล้นเหลือ พวกเขาจึงมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสร้างเครื่องมือเพื่อการพัฒนาใหม่ ๆ เป็นอย่างดี
"ผมรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษเมื่อคิดถึงความเป็นไปได้ของแผน "ความร่วมมือแบบไตรภาคี" ระหว่างประเทศที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ประเทศผู้บริจาคเดิม และประเทศยากจน เพราะพวกเขาจะได้รับประโยชน์เทียบเท่ากันจากประเทศต่างๆ" นี่คือข้อความที่บิลล์ เกตส์ กล่าวไว้ในรายงาน
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มูลนิธิเกตส์ฯ ประกาศแผนความร่วมมือสองแผนงานได้แก่ ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิและประเทศบราซิลเพื่อแบ่งปันความเชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม สุขภาพอนามัยในครอบครัว และวัคซีนต่างๆ กับประเทศในทวีปแอฟริกา และความร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนในการสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาทางนวัตกรรม รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสุขภาพและเกษตรกรรม
รายงานของบิลล์ เกตส์ ยังชี้ให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างบราซิล ญี่ปุ่น และโมซัมบิก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้โมซัมบิกสามารถปลูกถั่วเหลือง ข้าว และพืชไร่อื่นๆ ในแถบทุ่งหญ้าสะวันนาซึ่งมีสภาพอากาศและดินคล้ายคลึงกับ "ทุ่งหญ้าเซอร์ราโด" ของบราซิล ในขณะที่ญี่ปุ่นช่วยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศโมซัมบิก
บิลล์ ย้ำว่า ประเทศยากจนหลายประเทศ รวมถึง ประเทศในแอฟริกาที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
เขากล่าวว่า "ทรัพยากรท้องถิ่นของประเทศกำลังพัฒนาคือแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด" และแนะนำมาตรการที่ประเทศในกลุ่มจี 20 สามารถนำไปช่วยให้ประเทศยากจนเหล่านี้สามารถนำทรัพยากรของตนมาขจัดความยากจนออกไปจากประเทศได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
มาตรการดังกล่าวได้แก่ การให้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศแก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยตรง เพื่อให้ประเทศเหล่านี้สามารถเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีนี้สามารถเพิ่มเงินภาษีได้ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยประมาณเมื่อคำนวณจากจีดีพีในปัจจุบัน และการเพิ่มข้อบังคับด้านความโปร่งใสการทำเหมืองแร่และบริษัทผลิตน้ำมัน บิลล์เรียกร้องให้ประเทศยากจนให้ความสำคัญกับทรัพยากรที่ประชาชนที่ยากจนจะได้รับประโยชน์โดยตรง เช่น ทรัพยากรด้านสุขภาพและเกษตรกรรม และสนับสนุนให้ผู้นำประเทศในแถบแอฟริกาทำตามเป้าหมายที่วางไว้ในปฏิญญาอาบูจาว่า จะนำเงินอย่างน้อย 15 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณทั้งหมดไปปรับปรุงสุขอนามัยของประชาชน และเป้าหมายในปฏิญญามาปูโตที่กำหนดให้รัฐบาลนำเงินงบประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ไปใช้เพื่อการเกษตรกรรม
รายงานถึงผู้นำประเทศกลุ่มจี 20 ฉบับนี้ ยังเรียกร้องให้มีการนำวิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการขับเคลื่อนการเงินของภาคเอกชนและกระตุ้นการเติบโตของภาคเอกชนเพื่อเพิ่มเงินทุนสำหรับการพัฒนา ข้อแนะนำในรายงานได้แก่ การสร้างกองทุนความมั่งคั่งของรัฐเพื่อลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในประเทศยากจน การลดต้นทุนในการธุรกรรมการโอนเงินของกลุ่มคนพลัดถิ่น และการส่งเสริมกลไกตลาดในอุตสากรรมการเกษตรเพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างนวัตกรรมด้านเกษตรกรรม
นอกจากนี้ บิลล์ เกตส์ ยังใช้รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงกระแสเงินทุนใหม่ๆ ที่ส่วนหนึ่งได้มาจากภาษีธุรกรรมทางการเงิน ภาษียาสูบ ภาษีการบินและน้ำมันเตา สำหรับนำมาใช้เป็นเงินทุนสำหรับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
"ด้วยความหลากหลายและความไม่หยุดนิ่ง จี 20 จึงเป็นหน่วยงานหลักที่สามารถนำเอาทรัพยากร ความคิดที่สร้างสรรค์ และความเป็นผู้นำของตนมาใช้ในการพัฒนารูปแบบใหม่ที่ให้ผลลัพธ์ดีกว่าเดิม" บิลล์กล่าว “หากกลุ่มจี20 ยอมรับความท้าทายนี้ ผมเชื่อว่าเราจะสามารถผ่านวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ไปได้ สามารถช่วยชีวิตคนได้หลายล้านคน และขจัดความยากจนออกไปจากชีวิตของคนจำนวนมหาศาล"
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่: www.thegatesnotes.com/G20
ดูข่าวมัลติมีเดีย รวมทั้งคลิปวิดีโอของบิลล์ เกตส์ ได้ที่ มูลนิธิเกตส์ บนนิวส์มาร์เก็ต [http://www.gatesfoundation.org/press-room/Pages/news-market.aspx ]
มูลนิธิบิลล์ แอนด์ เมลินดา เกตส์
จากความเชื่อที่ว่าทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน มูลนิธิบิลล์ แอนด์ เมลินดา เกตส์ดำเนินงานโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ในประเทศกำลังพัฒนา มูลนิธิจะเข้าไปปรับปรุงสุขอนามัยของประชาชนและมอบโอกาสให้พวกเขาหลุดพ้นจากความหิวโหยและความแร้นแค้น ในสหรัฐอเมริกา มูลนิธิดำเนินงานโดยมุ่งหวังให้ทุกคนในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ยากจนที่สุด สามารถเข้าถึงโอกาสที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในโรงเรียนและในชีวิตได้ มูลนิธิมีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองซีแอตเทิล กรุงวอชิงตัน และบริหารงานโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารเจฟฟ์ เรคส์ และประธานมูลนิธิร่วม เซอร์วิลเลี่ยม เอช. เกตส์ ภายใต้คำแนะนำของบิลล์ และเมลินดา เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์
ที่มา มูลนิธิบิลล์ แอนด์ เมลินดา เกตส์
ติดต่อ: มูลนิธิบิลล์ แอนด์ เมลินดา เกตส์
โทร+1-206-709-3400
อีเมล [email protected]
AsiaNet 47102
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนถึง 2 ธันวาคมที่ผ่านมา มีการประชุมสุดยอดบริกส์พลัสแฟชั่น (BRICS+ Fashion Summit) ที่กรุงมอสโก ซึ่งเปิดฉากด้วยโปรแกรมเจรจาธุรกิจของเจ้าหน้าที่คนสำคัญในวงการแฟชั่นจากกลุ่มประเทศบริกส์พลัส (BRICS+) โดยมีเจ้าหน้าที่จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) เข้าร่วมด้วย พร้อมกันนี้แขกรับเชิญยังได้รับชมแฟชั่นโชว์บนแคตวอล์กจากแบรนด์ซาดาเอลส์ (Sadaels) ของอาร์เจนตินา ในช่วงวันแรกมีการเสวนากับคุณเจย์ ไอแช็ก (Jay Ishak) ประธานสมาคมนักออกแบบอย่างเป็นทางการของมาเลเซีย (Malaysian
กสิกรไทยชวนอาเซียนสร้างมาตรฐานการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกันผลักดันการเกิด ASEAN Taxonomy
—
กสิกรไทยเป็นตัวแทนสถาบันการเงินภาคเอกชนไทย ร่วมการประชุมสุดยอ...
จัดการประชุมสุดยอด One NTT DATA Summit เปิดเวทีชูพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของ AI และนวัตกรรมดิจิทัล
—
จัดการประชุมสุดยอด One NTT DATA Summitเปิดเวทีชูพลังแห่...
โจ ไช่ ประธานของอาลีบาบา กับ มุมมองด้านการพัฒนา AI
—
นายโจ ไช่ ประธานของอาลีบาบา กรุ๊ป แลกเปลี่ยนมุมมองของอาลีบาบาเกี่ยวกับอนาคตของ AI ในระหว่างการประชุ...