“โอม” วีระ นากระโทก : นักศึกษาพันธุ์ใหม่ เรียนรู้จากชุมชน ... เพื่อเติบโตสู่ภายใน

กรุงเทพฯ--29 ก.ค.--มูลนิธิสยามกัมมาจล

การเรียนรู้ที่แท้จริงคืออะไร?... การศึกษาจากในชั้นเรียนแค่นั้นเพียงพอแล้วหรือเปล่า? คำตอบที่ได้เห็นจะ "ไม่" แล้วการศึกษาจากโจทย์ปัญหา การเรียนรู้จากชุมชน สังคม และชีวิตจริงล่ะจะช่วยเติมเต็มช่องว่างการเรียนรู้นี้ของเยาวชนได้หรือไม่? เรื่องราวของ “โอม” วีระ นากระโทก นักศึกษาพันธุ์ใหม่ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง หนึ่งในแกนนำอาสาสมัครของศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจช่วยให้คำตอบ ... โอมเล่าว่า ปัจจุบัน เขารับผิดชอบดูแลแหล่งเรียนรู้บ้านดินและวิถีพึ่งตนเองที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย ก่อนหน้านี้โอมเคยทำงานอาสาสมัครทำกิจกรรมสันทนาการโครงการสร้างสุขภาวะให้เด็กชาวเขาในภาคเหนือ และอีกโครงการที่ทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี คือ โครงการ "กล้าใหม่...ใฝ่รู้" สนับสนุนโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเขาและเพื่อนๆ ได้เข้าไปทำเตาเผาขยะให้กับชุมชนในจังหวัดลำปางเพื่อแก้ปัญหาการจัดการขยะที่พัวพันบั่นทอนคุณภาพชีวิตชาวบ้าน จนวันนี้โอมได้ก้าวมาเป็นกำลังสำคัญในกลุ่มแกนนำอาสาสมัครที่วิทยาเขตลำปาง ทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมที่นักศึกษาสนใจ ช่วยจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ชุมชน ตลอดจนเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในมหาวิทยาลัย เช่น การถอดบทเรียนจากการทำงาน หรือรวบรวมอาสาสมัครในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนโดยรอบ ข้อดีจากการเข้าร่วมโครงการ "กล้าใหม่...ใฝ่รู้" หนุ่มน้อยรายนี้เผยว่า ทำให้เขาได้มีโอกาสทำงานกับชุมชนในชนบทเป็นครั้งแรกของชีวิต และถือเป็น “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญในชีวิตของเขาที่ได้ลงพื้นที่สำรวจชุมชน พูดคุยกับคนในท้องที่ และได้ทำงานร่วมกัน การทำงานในลักษณะเช่นนี้เองทำให้โอมได้รับความรู้ใหม่ๆ จากชุมชนเติมเต็มสิ่งที่ได้ศึกษามาแล้วจากในห้องเรียนก่อนหน้านี้ สิ่งที่โอมคิดว่าเป็นความสำเร็จของการทำงาน หาใช่รางวัลการันตี หากแต่คือ “ความรักกันฉันท์ครอบครัว” ที่เกิดขึ้นในหมู่เพื่อนๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพราะมิตรภาพถือเป็นความสุขอย่างยิ่ง คนรุ่นใหม่ อย่าง "โอม" เชื่อว่าต้องใช้ “ใจ” ในการทำงานมากกว่าการออกคำสั่ง เพราะทุกคนต่างต้องการทำสิ่งที่สร้างสรรค์ ขณะเดียวกันการทำงานร่วมกับคนหมู่มากก็ทำให้เขารู้จักเรียนรู้เพื่อเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น หากไม่มีการทำงานเป็นหมู่คณะที่ดี โอมคิดว่าจะไม่สามารถขับเคลื่อนงานได้มากเช่นนี้ อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จที่เกิดขึ้นคือ ความ “ศรัทธา” ที่มีต่อการทำงาน เพราะทำให้เขาพร้อมจะทุ่มเทให้กับงานอย่างเต็มที่ และแก้ไขปัญหาทุกอย่างผ่านความศรัทธา เกิดจากศรัทธาที่มีต่อสิ่งที่ทำ สิ่งที่จะทุ่มเทให้ โดยใช้ความศรัทธาแก้ปัญหาทุกอย่าง รวมถึง “ทีมเวิร์ค” ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการขวยขวายรักษ์เรียนรู้อยู่เสมอก็ช่วยพัฒนาศักยภาพและทำให้เข้าใจตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ โอมสะท้อนว่า ผลจากการเรียนรู้นอกห้องเรียนนี้ทำให้เขามีโอกาสได้ทำงานในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เขาเรียนรู้ว่าชุมชนส่วนใหญ่นั้นมี “ทุนทางสังคม”อยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นทุนทางปัญญา ทุนวัฒนธรรม หรือทุนมนุษย์ ซึ่งช่วยให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งหน่วยงานรัฐแต่เพียงอย่างเดียว หากมี “กระบวนการ” สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างคนในชุมชนก็จะสามารถมองเห็นแนวทางในการจัดการปัญหาในชุมชนของตนเองได้ รวมทั้งจะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ล้วนแต่ปฏิวัติความคิดและความเชื่อที่เขาเคยมีมาก่อนหน้านี้ "ก่อนหน้านี้ที่ ผมเคยคิดว่าชุมชนต้องเป็นฝ่ายรับอย่างเดียว เช่น การบริจาคสิ่งของต่างๆ เป็นผลมาจากความคิดที่ว่าคนเมืองมีศักยภาพมากกว่าชนบท แต่ในความเป็นจริงแล้วคนในพื้นที่เองก็มีความคิดที่ดี มีศักยภาพไม่ด้อยไปกว่ากัน การให้ความเชื่อเหลือโดยที่ผู้รับไม่ต้องการอาจเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ก็เป็นได้ จากจุดนี้เอง ถ้าจะมองว่าคนชนบทด้อยกว่าคนในเมืองก็คงหนีไม่พ้นความจริงที่ว่าคนชนบทระยะหลังมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้น้อยกว่า" อีกบทเรียนและประสบการณ์สำคัญที่ตอกย้ำความจริงเรื่องที่โอมพูดมานี้ ยังเป็นตอนที่ทำเตาเผาขยะในชุมชน โอมพบว่าภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นมีดีกว่าที่เขาเองและเพื่อนๆ ช่วยกันสืบค้น คิดวิเคราะห์ และวางแผนกันไว้มาก เตาเผาที่เกิดขึ้นนี้จึงไม่ได้มาจากความคิดของนักศึกษาอย่างพวกเขาเพียงอย่างเดียว แต่มีความคิดของคนในพื้นที่เป็นหลัก เป็นวิธีการที่ชาวบ้านผสมภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเกิดจากการสั่งสมมานานและมีความเหมาะสมมากกว่าลำพังทฤษฎีต่างๆ ที่เขาเคยร่ำเรียนในตำราเป็นไหนๆ นอกจากนั้น กระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าวยังช่วยให้คนในพื้นที่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของมากขึ้นด้วย "แรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของผม ส่วนหนึ่งมาจากครอบครัวที่ให้อิสระในการทำสิ่งต่างๆ โดยมีเงื่อนไขอย่างเดียวคือต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ครอบครัวมีส่วนอย่างมากในการให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชน แล้วอีกส่วนที่มีความสำคัญคือ เพื่อนอาสาสมัครซึ่งร่วมด้วยช่วยกันทำงาน รวมถึงคนในพื้นที่ชุมชนที่เขาได้เข้าไปทำงานด้วย ก็เป็นแรงใจสำคัญที่ทำให้เรารู้สึกว่าต้องทำให้พวกเขาเข้มแข็งขึ้นได้อย่างแท้จริง" โอมกล่าว ทั้งนี้ เรื่องราวของ “โอม” ถือเป็นหนึ่งตัวอย่างคนหนุ่มสำนึกใหม่ ที่ไม่เพียงแต่รอคอยการเรียนรู้จากในห้องเรียน แต่ยังเสาะแสวงหาการเรียนรู้ชีวิตจาก งานรับใช้สังคม ที่พาให้เขาไปพบกับโจทย์ปัญหาของชุมชน ที่ผลสะท้อนของมันยังทำให้เขา "ได้รับ" การเติมเต็มทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนโลกทัศน์ใหม่ๆ ต่อชีวิต และต่อสังคม ซึ่งไม่อาจหาซื้อได้จากที่ไหน และเป็นกระแสใหม่มาแรงสำหรับการเรียนรู้ของเยาวชนไทย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบัณฑิตเพื่อเป็นพละกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศในศตวรรษใหม่อย่างแท้จริง. สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง

นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แว่นท็อปเจริญ บริษัท ร่วมเจริญพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต ผลักดันการศึกษาด้านธุรกิจ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง โดยยินดีให้การต้อนรับนักศึกษาฝึกงาน เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...

กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ นำโดย ดร.จารุรัตน์ ช... เบเยอร์ร่วมแสดงเจตนารมณ์สู่ Net Zero มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน — กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ นำโดย ดร.จารุรัตน์ ชัยยศบูรณะ ผู้บริหารกลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ เป็นตัวแทนอ...