“สศค. ได้จัดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยทางด้านการคลัง”

25 Mar 2011

กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า สศค. ได้จัดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยทางด้านการคลัง (Fiscal Early Warning System: FEWS) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงด้านการคลัง (< /SPAN>Fiscal Risk) และวัดระดับความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอของสถานะด้านการคลัง (Fiscal Health) โดยติดตามตัวชี้วัดที่มีความสามารถในการเตือนภัยวิกฤตการคลังที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้ 14 ตัวชี้วัด ดังนี้ (๑) ตัวชี้วัดสถานะด้านการคลัง ๖ ตัว ได้แก่ ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลรวม ผลการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ดุลเงินสดตามระบบบัญชีการคลัง (ไม่รวมรายจ่ายชำระต้นเงินกู้) ระดับเงินคงคลังปลายงวด สัดส่วนเงินคงคลังต่อตั๋วเงินคลังคงค้าง และการให้สินเชื่อสุทธิของ ภาคธนาคารแก่ภาคสาธารณะที่มิใช่สถาบันการเงิน (๒) ตัวชี้วัดสถานะด้านเศรษฐกิจมหภาคและการเงิน ๘ ตัว ได้แก่ มูลค่าการส่งออก อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง อัตราส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่อเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ดุลการชำระเงิน ดุลบัญชีเดินสะพัด และอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ สศค. ได้นำตัวชี้วัดข้างต้นมาจัดทำเป็นดัชนีรวมเตือนภัยทางด้านการคลัง (Fiscal Early Warning Composite Index) โดยมีผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ วิกฤตในอดีต ดัชนีรวมฯ สามารถพยากรณ์ถึงวิกฤตการคลังที่จะเกิดขึ้นในอดีต 3 เหตุการณ์ ได้ค่อนข้างแม่นยำ ได้แก่ 1) วิกฤติการณ์ราคาน้ำมัน ครั้งที่ ๑ (ช่วงปี 2519-2523) 2) วิกฤติการณ์ราคาน้ำมัน ครั้งที่ ๒ (ช่วงปี 2528-2530) และ 3) วิกฤตค่าเงิน วิกฤตสถาบันการเงิน และการรับภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) (ช่วงปี 2540-2545) ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฎว่าทั้ง 3 เหตุการณ์นำไปสู่การเกิดวิกฤตการคลังที่มีการขาดดุลงบประมาณ และการก่อหนี้ของรัฐบาลในระดับที่สูง เพื่อก รฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ เดือนกุมภาพันธ์ 2554 ดัชนีรวมฯ มีค่าอยู่ที่ 6.74 ซึ่งถือว่าสถานะด้านการคลังอยู่ในระดับแข็งแกร่งมาก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ ซึ่งค่าดัชนีรวมฯ มีค่าเท่ากับ 100 โดยมีตัวชี้วัดส่งสัญญาณผิดปกติ 1 ตัว คือ ดุลเงินสดตามระบบบัญชีการคลัง (ไม่รวมรายจ่ายชำระต้นเงินกู้) ซึ่งขาดดุลเกินระดับที่กำหนด (Threshold) แต่การขาดดุลดังกล่าวสอดคล้องกับความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการส่งสัญญาณเพียงตัวชี้วัดเดียว จึงไม่เป็นที่น่าวิตกแต่อย่างใด เนื่ งจากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ตัวชี้วัดส่งสัญญาณผิดปกติพร้อมกัน 5-9 ตัว และส่งสัญญาณผิดปกติติดต่อกันเป็นระยะเวลามากกว่า 10 เดือน ในช่วง 24 เดือนข้างหน้า (มีนาคม 2554 – กุมภาพันธ์ 2556) ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐบาลไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ ค ามน่าจะเป็นในการเกิดวิกฤตการคลังมีค่าเท่ากับ ๐.๐๕ ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ ซึ่งความน่าจะเป็นในการเกิดวิกฤตการคลังในระยะ ๒๔ เดือนถัดมามีค่าอยู่ระหว่าง ๐.๗๐-๐.๙๖ นายนริศสรุปว่า “สศค. อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบสัญญาณเตือนภัยทางด้านการคลัง เพื่อให้สามารถพยากรณ์วิกฤตการคลังที่ซับซ้อน และมีสาเหตุของการเกิดวิกฤตแตกต่างจากเหตุการณ์ในอดีตได้ ซึ่งจะส งผลให้การเตือนภัยทางด้านการคลังมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น” สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ 3352 และ 3570